“ฝีดาษลิง Clade 1B” สายพันธุ์ใหม่ เชื้อแพร่ง่าย อันตราย ป้องกันอย่างไร?

Home » “ฝีดาษลิง Clade 1B” สายพันธุ์ใหม่ เชื้อแพร่ง่าย อันตราย ป้องกันอย่างไร?
“ฝีดาษลิง Clade 1B” สายพันธุ์ใหม่ เชื้อแพร่ง่าย อันตราย ป้องกันอย่างไร?

สืบเนื่องจากวันนี้ (21 สิงหาคม) กรมควบคุมโรค แถลงพบผู้ป่วยฝีดาษลิง คาดว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ Clade 1B รายแรกของไทย ซึ่งอาจทำให้หลายคนอาจไม่ทราบว่าสายพันธุ์ดังกล่าวแตกต่างกับสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไร รวมถึงอาจมีความกังวลว่าจะสามารถติดได้ไหม

  • กรมควบคุมโรค เปิดไทม์ไลน์ผู้ป่วย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1 รายแรกในไทย

วันนี้ Sanook จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จัก “ฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B” คืออะไร มีอาการและมีวิธีป้องกันตัวเองอย่างไร 

ฝีดาษลิง

ฝีดาษลิง คืออะไร?

ฝีดาษลิง คือโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส  orthopoxvirus เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ตระกูลลิง หรือสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น ทั่วไปแล้วมักพบในฝั่งแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 

  • สายพันธุ์ Clade 1 (สายพันธุ์แอฟริกากลาง) 
  • สายพันธุ์ Clade 2 (สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก)

ทั้ง 2 สายพันธุ์อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ Clade 1 จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า

ฝีดาษลิง Clade 1B คืออะไร 

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ฝีดาษลิง Clade 1B มีอัตราการเสียชีวิต 1% น้อยกว่า สายพันธุ์ Clade 1 อย่างไรก็ตาม หากเทียบกันฝีดาษลิง Clade 1B มีโอกาสติดได้ง่ายกว่า  

โดยมีรายงานว่า ในแอฟริกา การอยู่ในบ้านเดียวกับผู้ติดเชื้อแค่ 4 ชั่วโมงก็เสี่ยงติดเชื้อ ฝีดาษลิง Clade 1B ได้ ทั้งจากการสัมผัสเชื้อจากสารคัดหลั่ง การใช้มือที่สัมผัสเชื้อขยี้ตา การไอหรือจาม โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ ย่อมติดเชื้อได้ แต่ต้องย้ำว่า ไม่ใช่การติดเชื้อจากแอร์บอร์น

ฝีดาษลิง Clade 1B แพร่กระจายอย่างไร? 

  • เพศสัมพันธ์ 
  • สัมผัสโดยตรงกับ ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนองของผู้ป่วย
  • สัมผัสสิ่งของปนเปื้อนของผู้ป่วย 
  • ละอองฝอยทางการหายใจ เช่น ไอ จาม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร
  • การสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิง หนู และกระรอก

 ฝีดาษลิง

อาการของฝีดาษลิง Clade 1B

ตามรายงานของโรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ สามารถสังเกตอาการของฝีดาษลิง Clade 1B ได้ดังนี้

  •  มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  •  มีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนอง บนผิวหนัง
  • บางรายอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน ไอ เจ็บคอ

หากมีอาการที่น่าสงสัยเหล่านี้ ควรพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกันจากโรคฝีดาษลิง Clade 1B

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หรือผู้มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์

สำหรับสถานการณ์ฝีดาษลิงล่าสุดในไทย ตามรายงานของกรมควบคุมโรค ระบุว่าตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบันพบผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย จำนวน 829 ราย โดยมีผู้ติดเชื้อที่เป็นคนไทย 744 ราย คนต่างประเทศสัญชาติเอเชีย 51 ราย และสัญชาติอื่น ๆ อีก 30 ราย

อ่านเพิ่มเติม:

  • โรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร ติดต่อ แพร่เชื้อได้อย่างไร

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ