วันนี้ (18 มิ.ย.67) วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญ โดยมีวาระสำคัญคือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
โดย วุฒิสภา ใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ลงมติท่วมท้นด้วยคะแนน เห็นชอบ 130 ไม่เห็นด้วย 4 และ งดออกเสียง 18 ผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม) และมีมติให้ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกครั้ง เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้สามารถใช้บังคับได้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน
ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ 38 ของโลกที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม รวมถึงเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่มีกฎหมายรองรับ การสมรสของทุกเพศ โดยจะมีผลบังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยประโยชน์ที่จะได้จากกฎหมายดังกล่าว มีดังนี้
- บุคคลสองคน ไม่ว่าเพศใด หมั้นหรือสมรสกันได้
- การหมั้นหรือสมรส ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
- สถานะหลังจดทะเบียนสมรส ใช้คำว่า “คู่สมรส”
- ได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการตามกฎหมายต่างๆ เช่นเดียวกันกับคู่สมรสชาย-หญิง