
โรคหัด กำลังระบาดอีกครั้ง แต่รู้หรือไม่? โรคหัด สามารถเป็นได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ วันนี้ไบร์ททีวีขอเสนอ วิธีป้องกันโรคหัด เพื่อรู้เท่าทันโรคนี้!
รู้หรือไม่? ตอนนี้โรคหัดกำลังระบาดอยู่ ทำเอาผู้ปกครองหลายคนเป็นห่วงลูกหลานกันกันเลยทีเดียว แต่หลายคนอาจคิดว่าโรคหัดจะเป็นโรคที่พบได้เฉพาะเด็กเท่านั้น! แต่ความจริงแล้วโรคหัดสามารถเป็นได้ทุกคน ทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ทางที่ดีหาวิธีป้องกันต้องแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า
โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Rubeola Virus เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่อากาศจากการไอจามของผู้ป่วยหรือจากการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง เชื้อไวรัสหัดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงสองชั่วโมงในอากาศหรือบนพื้นผิวสิ่งของที่มือของผู้ป่วยที่มีเชื้อติดอยู่สัมผัส
- สาธารณสุข เชิญชวนพาบุตรหลาน 1-12 ปี ฉีดวัคซีนโรคหัด ฟรี จนถึง มี.ค. 63
- เกาหลีใต้เตือนเดินทางมาไทยระวัง โรคหัด ระบาด

- อาการโรคหัด
อาการของโรคหัดมักมีไข้สูงและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก, ไอ, ตาแดง และพบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โดยจะขึ้นในช่วง 2-3 วัน ที่เป็นโรคหลังจากนั้นจะหายไป นอกจากนี้จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัดขึ้น หลังจากเป็นไข้แล้ว 3-4 วัน โดยผื่นจะขึ้นจากบริเวณไรผม มาที่หน้า, ลำตัว, แขน และลงมาที่ขา แต่เมื่อใดที่ผื่นเหล่านี้ลงมาถึงบริเวณเท้าแล้วไข้ก็จะหายไป
- ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในโรคหัด คืออะไร?
แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายจากโรคได้เองและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย แต่ก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น โรคปอดอักเสบติดเชื้อ, โรคอุจจาระร่วง, หูชั้นกลาง ซึ่งจะพบได้ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคขาดสารอาหาร โดยมักพบในระยะหลังของโรค ซึ่งไข้เริ่มทุเลาลงแล้ว
- ติดต่อได้อย่างไร ?
เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และติดต่อเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้
- วิธีป้องกัดโรคหัด
การป้องกันโรคหัดสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน สำหรับเด็กโดยทั่วไปจะได้รับวัคซีน 2 เข็ม เป็นวัคซีนรวมโรคหัด หัดเยอรมัน, คางทูม เข็มแรกจะฉีดตอนอายุ 9-12 เดือน เข็มที่สองจะฉีดตอนอายุ 2 ขวบ – 2 ขวบครึ่ง สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันสามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน อย่างไรก็ตาม วัคซีนป้องกันโรคหัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มีไข้ หรือมีอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดและหายไปเอง
