“หมอเมธี” เปิดผลทดลอง สมัครใจฉีดบูสเตอร์โดส แอสตร้าฯ เข้าชั้นผิวหนัง พบภูมิต้านทานเพิ่มเป็น 99% จากก่อนฉีด 47% อาการข้างเคียงน้อย ชี้โอกาสไทยมีวัคซีนเพิ่มอีก 5 เท่าทันที
หลังจากมีข้อเสนอแนะจากแพทย์ เรื่องการเปลี่ยนวิธีฉีดวัคซีน จากการฉีดเข้ากล้าม เป็นเข้าชั้นผิวหนัง ซึ่งจะลดปริมาณการใช้วัคซีนลง ทำให้คนไทยมีโอกาสได้รับวัคซีนมากขึ้นนั้น
ล่าสุด รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “Methee Wong” ถึงผลการทดลองฉีดแอสตร้าเซนเนก้า เป็นบูสเตอร์โดส กับตัวเอง ด้วยการใช้วิธีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ผลพบอาการข้างเคียงน้อยลง เนื่องจากใช้วัคซีนน้อยกว่าฉีดเข้ากล้ามถึง 5 เท่า แต่ภูมิต้านทานเพิ่มสูงขึ้นเป็น 99% จากก่อนฉีดอยู่ที่ 47% ชี้เป็นโอกาสที่รัฐบาล จะมีวัคซีนสำหรับบูสเตอร์ เพิ่มขึ้น 5 เท่าทันที โดยระบุว่า
“SV+SV + “AZ 0.1 ID”
PROBLEM (ปัญหา)
m-RNA ใหม่มาก แถมยังไม่รู้ว่าในระยะยาวจะมีผลอะไรหรือไม่
Astra แม้จะไม่ใหม่มาก แต่ก็ไม่นานพอแบบ วัคซีนเชื้อตายที่ทราบว่าปลอดภัยมาก ที่สำคัญเห็นหลายคนต้องลาป่วย 2-3 วันล่วงหน้าก่อนฉีด เพราะบางคนไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยหนาวสั่น ต้องหยุดงานหลังฉีด
Sinovac ปลอดภัยที่สุด แต่ evidence based ปัจจุบัน คือรองรับ delta ไม่ได้
Evidence based จากการทำงานจริงล่าสุดคือ ฉีดวัคซีนไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตาม อาจติดเชื้อได้ แต่ยังไม่เห็นใครที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์แล้วปวยหนัก เสียอย่างเดียวคือ ต้องหยุดงานรักษาตัวและกักตัว และอาจส่งผ่านเชื้อให้คนอื่นได้
ANSWER (คำตอบ)
ทางออกแบบครึ่งทาง ฉีด astra บูสเข็มสาม
แต่ แทนที่จะฉีด astra 0.5 ml IM ก็เปลี่ยนเป็น 0.1 ml ID อย่างน้อยก็ลดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าร่างกายลงได้ 5 เท่า
ทำใจไว้ล่วงหน้าว่า หากภูมิไม่ขึ้น ก็ค่อยไปฉีดแบบเข้ากล้าม หรือไปฉีดพวก m-RNA เลย
หมายเหตุ
IM (ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ)
ปลายเข็มฝังลึกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ
ID (ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง)
ปลายเข็มฝังตื้น ๆ ที่ผิวหนังชั้นนอก ลึกไม่เกิน2-3 มม.(คล้าย ๆ เข็มสะกิด) วิธีนี้มีใช้กันมานานแล้ว แต่ฉีดยากกว่าการฉีดเข้ากล้าม เพราะต้องปักเข็มตื้นมาก ๆ แต่ข้อดีคือ แทบไม่มีความรู้สึกเจ็บเลย มักใช้กับการทดสอบภูมิแพ้ หรือวัณโรค เหตุที่แทบไม่รู้สึกเจ็บเลย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้าม เพราะ
- เข็มที่ใช้จะขนาดเล็กกว่ามาก ปลายเข็มจะมีขนาดประมาณ 0.1 มม.
- ปักเข็มตื้นมากไม่เกิน 1-2 มม.
- ความที่เข็มเล็กและปักตื้น ทำให้ปริมาณที่ใช้จะน้อยกว่ามาก ผลคือ ยิ่งแทบไม่รู้สึกเจ็บ ขณะเดินยา
ส่วนเหตุที่ผลข้างเคียงหลังฉีดน้อยกว่ามาก เพราะ
- ยาจะดูดซึมช้ามากที่สุด เมื่อเทียบกับการฉีดวิธีอื่น (ฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดใต้ผิวหน้ง ฉีดในกล้ามเนื้อ) จึงทำให้ยาค่อย ๆ ซึมเข้าร่างกายอย่างช้า ๆ
- ปริมาณยาใช้น้อยกว่าวิธีอื่นมาก
- ด้วยเหตุดังกล่าว หากเกิดการแพ้วัคซีน คนไข้จะค่อย ๆ มีอาการ เพราะยาดูดซึมช้ามาก แพทย์มีเวลาเหลือเฟือในการรับมือ
RESULT (ผลที่ได้)
วันแรกหลังฉีด ปกติดี ไม่นับมีปุ่มนูนแดงที่ไหล่ อันเป็นผลจากการฉีด ID
วันรุ่งขึ้นเช้า ปวดเมื่อยคล้ายนอนหลับไม่สนิท บ่ายตัวรุม ๆ ตกเย็นปกติ
ผล neutralizing Ab (NTAb ภูมิต้านทานในเชิงคุณภาพ) ก่อนฉีด 47% (โอกาสที่ร่างกายจะกำจัดโควิดเมื่อหลุดรอดเข้าไปในตัวเรา อยู่ที่ 47%)
หลังได้ 3rd Boosterเป็น AZ 0.1 ID 2 สัปดาห์ 99% (ร่างกายมีความสามารถกำจัดไวรัสได้ 99% พูดง่าย ๆ คือ โอกาสติดเชื้อและป่วย แสดงอาการน้อยกว่า 1% ซึ่งรวมถึงโอกาสการเป็นพาหะก็ลดลงด้วย)
ปล. ส่วนการตรวจแบบเชิงปริมาณ ที่รพ.ส่วนใหญ่ทำกันอยู่นั้น (ซึ่งบอกแต่ปริมาณ แต่อาจไม่ได้ผลจริงในการป้องกันตามตัวเลขที่สูง) คงไม่ต้องไปทำอีก เพราะ NTAb มีความน่าเชื่อถือกว่าอยู่แล้ว
เท่าที่ทราบหลายคนที่ฉีดวิธีนี้ ภูมิปกป้อง (Neurtralizing)สูงมากกกกทุกคน
อาการข้างเคียงหลังฉีดน้อยมากกกกกก
ถ้าผลวิจัยเป็นทางการออกมา Thiravat Hemachudha Kate Sripratak (also special thanks to research team ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha Kate Sripratak )
รัฐจะมีวัคซีนสำหรับบูสเตอร์เพิ่มขึ้น 5 เท่าทันที แถมไม่ต้องง้อ m-RNA อีกต่างหาก เพราะ AZ ผลิตได้ในบ้านเราแล้ว และน่าจะยืดระยะเวลาความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน m-RNA vaccine ได้อีกระยะ จนกว่าจะมั่นใจเรื่อง long term sequelae ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี
การฉีดนี้เป็นการฉีดโดยสมัครใจ