ผัวเมียวัยเกษียณ ช็อก! เป็น "มะเร็งตับ" ทั้งที่กินอาหารเพื่อสุขภาพ ดื่มนมวันละ 1 แก้ว

Home » ผัวเมียวัยเกษียณ ช็อก! เป็น "มะเร็งตับ" ทั้งที่กินอาหารเพื่อสุขภาพ ดื่มนมวันละ 1 แก้ว
ผัวเมียวัยเกษียณ ช็อก! เป็น "มะเร็งตับ" ทั้งที่กินอาหารเพื่อสุขภาพ ดื่มนมวันละ 1 แก้ว

คู่สามีภรรยาวัยเกษียณ เป็น “มะเร็งตับ” ทั้งคู่ ทั้งที่กินอาหารเพื่อสุขภาพ และดื่มนมวันละ 1 แก้ว หมอชี้จุดพลาด หลายคนทำแล้วคิดว่าจะรอด

ความจริงแล้ว การดื่มนมช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและรักษาสุขภาพ แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธี

คุณอู่และภรรยา ชาวมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากหลังเกษียณ ทั้งคู่ดื่มนมวันละ 1 แก้ว และรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นประจำ แต่สุขภาพของพวกเขาไม่ได้ดีขึ้นตามแผนการดูแลสุขภาพนี้ เมื่อไม่นานมานี้ ทั้งคู่เริ่มรู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้น นอนไม่ค่อยหลับ และไม่รู้สึกอยากอาหาร

สองสามีภรรยารู้สึกกังวลอย่างมาก เมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลก็พบว่าทั้งคู่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขารับไม่ได้ เพราะพวกเขาใส่ใจดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี แต่ทำไมยังป่วยเป็นมะเร็งได้?

ความจริงแล้ว ทั้งคู่เป็นคนประหยัด มักจะไปซื้ออาหารใกล้หมดอายุจากซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งรวมถึงนมด้วย พวกเขาซื้อมามากจนไม่สามารถกินหรือดื่มได้หมดในเวลาอันสั้น เมื่อนมหมดอายุแล้ว พวกเขาจะเลือกวิธีอุ่นนมก่อนดื่ม เพราะคิดว่าจะปลอดภัย

ดร.จ้าว ฮ่าว แพทย์ประจำแผนก ICU โรงพยาบาลจูเจียง มณฑลกวางตุ้ง อธิบายว่า นมมีโปรตีนสูงและเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและเชื้อราง่าย เมื่อดื่มนมที่เสียแล้ว ผู้สูงอายุจำนวนมากจะมีสุขภาพไม่แข็งแรงเท่าคนหนุ่มสาว และจะมีอาการผิดปกติของระบบย่อยอาหารได้ง่าย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

นอกจากการดื่มนมหมดอายุบ่อย ๆ แล้ว ครอบครัวของพวกเขายังมีประวัติเป็นมะเร็งตับอีกด้วย

ดร.หวัง ไจ่กัว จากสมาคมต่อต้านมะเร็งมณฑลกวางตุ้ง อธิบายว่า แม้มะเร็งตับจะไม่ใช่โรคทางพันธุกรรมโดยตรง แต่หากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ ความเสี่ยงที่สมาชิกคนอื่น ๆ จะเป็นโรคนี้ก็สูงขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ที่มีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคนี้จึงมีอัตราการเป็นมะเร็งตับสูงกว่า ดังนั้นการวินิจฉัยมะเร็งตับของสามีภรรยาคู่นี้ อาจเกิดจากพฤติกรรมการกินที่ผิดพลาดและประวัติสุขภาพของครอบครัว

นมเป็นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับหรือไม่?

หลายคนอาจรู้สึกกลัวเมื่อเห็นข้อมูลว่านมอาจทำให้เกิดมะเร็งตับ อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปนี้ไม่มีหลักฐานรองรับ

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สถาบันวิทยาศาสตร์จีน และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดได้ร่วมกันทำการศึกษากับผู้เข้าร่วมมากกว่า 510,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามปริมาณการบริโภคนม ได้แก่ กลุ่มที่ดื่มบ่อยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กลุ่มที่ดื่มเป็นรายเดือน และกลุ่มที่ไม่เคยหรือแทบไม่ดื่มเลย

จากการเปรียบเทียบพบว่าผู้ที่บริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมบ่อย ๆ มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยการบริโภคเพิ่ม 50 กรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยง 12% และ 17% ตามลำดับ

สำหรับงานวิจัยนี้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นการศึกษาครั้งแรกที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์นมและความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในประชากรจีน อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์นี้ไม่สามารถพิสูจน์สาเหตุและผลลัพธ์ได้ ดังนั้น การปฏิเสธการบริโภคนมเพียงเพราะความกลัวมะเร็ง จึงถือว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะนมยังเป็นแหล่งโปรตีน วิตามิน และสารอาหารอื่น ๆ ที่สำคัญ

ใครไม่ควรดื่มนม?

ดร.หยู โหย่วหมิง หัวหน้าแผนกทางเดินอาหารของโรงพยาบาลแพทย์แผนจีน เปิดเผยว่า มีบางคนที่ไม่ควรดื่มนม ได้แก่

  1. ผู้ที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น และมีปัญหาในระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ ไม่ควรดื่มนม เพราะนมจะไปกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้อาการป่วยแย่ลง
  2. ผู้ที่แพ้แลคโตส ผู้ที่แพ้แลคโตสไม่สามารถเผาผลาญและย่อยแลคโตสในนมได้ทันท่วงที อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ท้องอืดและท้องเสีย
  3. เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องท้อง ระบบย่อยอาหารของคนกลุ่มนี้ยังไม่ฟื้นตัวหลังการผ่าตัด โปรตีนในนม เป็นโปรตีนโมเลกุลสูงที่สร้างก๊าซได้ง่ายในระหว่างการย่อยอาหาร จะทำให้อาการท้องอืดรุนแรงขึ้น

ข้อควรระวังเมื่อดื่มนม?

  1. เวลาดื่มนมขณะท้องว่าง ควรดื่มร่วมกับการรับประทานอาหารที่ไม่ใช่ของเหลวด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องเสีย และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ
  2. ควรดื่มนมที่อุณหภูมิห้อง หากต้องการดื่มนมร้อน ให้ใช้วิธีนำแก้วนมไปแช่ในน้ำร้อนก่อนดื่ม เพราะนมที่ถูกความร้อนสูงกว่า 70 องศาฯ โปรตีนและวิตามินในนมอาจถูกทำลาย ทำให้สูญเสียสารอาหาร ขณะที่นมแช่แข็งจะสูญเสียโปรตีน และการแบ่งชั้นไขมัน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการดูดซึมสารอาหาร
  3. อย่าดื่มนมที่ไม่ใช่นมจริง ๆ นมธัญพืช นมวอลนัท แม้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีคำว่า “นม” แต่โดยพื้นฐานแล้ว มีนมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คุณค่าทางโภชนาการต่ำกว่านมจริง ๆ เยอะมาก และมีสารปรุงแต่งมากมาย
  4. อย่าดื่มนมมากเกินไป ผู้ใหญ่สามารถดื่มนมได้ 300-500 ลิตรต่อวัน การดื่มมากเกินไปอาจส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการดูดซึมแร่ธาตุอื่น ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  5. อย่าดื่มนมสด ๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ หลายคนเชื่อว่านมจากเต้าดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม นมชนิดนี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อที่เข้มงวด อาจมีแบคทีเรียที่เป็นโทษต่อร่างกายได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ