แม้ว่าผักผลไม้จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ที่ใครหลายคนแนะนำให้ทานให้มากๆ แต่หากเป็นผู้ป่วยในบางโรค มีผักผลไม้บางชนิดที่ไม่ควรทานมากเกินไป เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้
โรคไต
ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้ที่มีสารของกรดออกซาลิกปริมาณสูง อาทิเช่น
- มันสำปะหลัง
- ดอกกะหล่ำ
- ผักโขม
- ปวยเล้ง
เป็นต้น
เนื่องจากกรดออกซาลิกสามารถจับกับแคลเซียมตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต
นอกจากนี้ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น
- หน่อไม้
- ใบขี้เหล็ก
- ทุเรียน
- มะละกอ
เป็นต้น
โรคธาลัสซีเมีย
ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม มีปริมาณธาตุเหล็กสูง แต่ไม่สามารถนำมาสร้างเม็ดเลือดแดงเองได้ ทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กสูงในเลือดซึ่งเป็นอันตราย ฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น
- ตับสัตว์
- เครื่องในสัตว์
รวมไปถึงผักผลไม้ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น
- ผักกูด
- ถั่วฝักยาว
- ผักแว่น
- เห็ดฟาง
- ใบตำลึง
- ใบแมงลัก
- ส้ม
เป็นต้น
โรคไทรอยด์
ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ สิ่งที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้พึงระวังคือ พืชวงศ์ Cruciferae ได้แก่
- กะหล่ำปลี
- ทูนิป
- ฮอร์สแรดิช
- เมล็ดพรรณผักกาดชนิดต่างๆ
หากทานผักเหล่านี้ ผลที่เกิดขึ้นคือ จะทำให้เกิดเป็นโรคคอหอยพอก แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายโดยการต้ม จึงควรรับประทานกะหล่ำปลีสุกดีกว่ากะหล่ำปลีดิบ
โรคกระเพาะ และลำไส้
ผู้ป่วยโรคกระเพาะและลำไส้ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคพริก เพราะจะทำให้กระเพาะอักเสบได้ และยิ่งผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะ หากกินพริกในปริมาณมากจะทำให้อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมากขึ้น เนื่องจากพริกมีสารที่เรียกว่า แคปไซซิน ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน พบมากในส่วนของรกพริกและเมล็ดพริก ดังนั้นความเผ็ดของพริกจึงทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้