ผวาฝีดาษลิง พบตุ่มขึ้นที่ลับ ยังไม่พบในไทย แต่ระบาดหนักในยุโรป

Home » ผวาฝีดาษลิง พบตุ่มขึ้นที่ลับ ยังไม่พบในไทย แต่ระบาดหนักในยุโรป



ฝีดาษลิง ทำผวา แม้ไม่พบในไทย แต่ในยุโรประบาดหนัก พบตุ่มขึ้นที่ลับ ติดเชื้อที่กระจกตา เสี่ยงบอดได้ สั่งเจ้าหน้าที่ คุมเข้มเฝ้าระวังแล้ว

วันที่ 25 พ.ค.2565 นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคผีดาษวานรหรือฝีดาษลิง (Monkeypox) ว่า ฝีดาษลิงมีการระบาดมาหลายปีในประเทศแถบแอฟริกา แต่ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มพบผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศแถบยุโรป พบว่ามีความเชื่อมโยงกับการเดินทางไปในแถบแอฟริกาและนำเชื้อกลับมา โดยมีการพบตุ่มขึ้นในที่ลับด้วย

สำหรับการแพร่ระบาดนั้น ในบางประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อยังอยู่ระดับหลักร้อยราย โรคนี้ที่ผ่านมาเป็นโรคจากสัตว์สู่คนเป็นหลัก แต่เมื่อเริ่มแพร่จากคนสู่คนได้แล้ว ทำให้เกิดการระบาดเกิดมากขึ้น โดยพบว่ามี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ West African clade ซึ่งอัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 1 ต่ำกว่า

ด้านสายพันธุ์ Central African clade ซึ่งมีอัตราป่วยตายร้อยละ 10 หรือน้ยอกว่าประมาณ 6-10 เท่า สำหรับสัตว์รังโรค คือ สัตว์ฟันแทะ เช่น หนู เป็นต้น และลิง การติดต่อจากสัตว์สู่คนผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย ซึ่งในสัตว์อาจไม่มีตุ่มแบบคน ส่วนติดจากคนสู่คน คือ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่ยมากๆ สัมผัสแผลคนไข้ สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยโดยตรง เสื้อผ้าของใช้ผู้ป่วยที่มีสารคัดหลั่ง

บางประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด ไม่ใส่หน้ากาก และมีการรวมกลุ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการระบาดขึ้นช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับระยะฟักตัวอยู่ที่ 5-21 วัน อาการป่วยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรุนแรง อาการมี 2 ช่วง คือ ช่วง 5 วันแรก อาการนำ คือ ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และหมดแรง ระยะนี้เริ่มแพร่เชื้อได้บ้างแล้ว และช่วงออกผื่นในอีก 2-3 วันหลังมีไข้ จะมีผื่นขึ้นเป็นไปตามระยะผื่น เริ่มจากใบหน้า ลำตัว แขนขา

โดยสามารถพบบริเวณเนื้อย่อยออ่นของร่างกายได้ คือ ช่องปาก และอวัยวะเพศ ทั้งนี้ ผื่นตุ่มทั้งร่างกายจะอยู่ในระยะเดียวกัน ต่างจากโรคสุกใสที่มีตุ่มเก่าและใหม่พร้อมกันในเวลาเดียวกัน

ลักษณะของผื่ม ตุ่มของโรคฝีดาษลิง จะเริ่มจากตุ่มนูนแดงเล็กๆ เป็นตุ่มใส ตุ่มหนอง เมื่อแตกหนองไหลออกก็จะเป็นแผล เป็นหลุมและหายไป บางรายอาจมีผลข้างเคียงเป็นแผลเป็นตามมา แต่ส่วนใหญ่หายเองได้ บางรายอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาสุขภาพเดิม อาการรุนแรงสำคัญคือ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

สำหรับการระบาดในแถบยุโรป ขณะนี้มีรายงาน 257 ราย ใน 18 ประเทศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือผู้ป่วยที่มีผลตรวจเชื้อยืนยันแล้ว 169 ราย และผู้ป่วยสงสัย 88 รายที่ต้องตรวจสอบต่อ โดยประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่คือ เดนมาร์ก โมรอกโก และอาร์เจนตินา ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังโดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโรคฝีดาษลิง กรมควบคุมโรค ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีผู้ป่วยหรือผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิง และยังไม่เคยมีรายงาน จึงต้องเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศเป็นหลัก

ทั้งนี้ ข้อมูลทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยฝีดาษลิง มีรายงานเพศ 123 คน เป็นเพศชาย 122 คน เพศหญิง 1 คน รายงานอายุ 61 คน เป็นวัยทำงานทั้งหมดอายุ 20-59 ปี รายงานอาการป่วย 57 คน พบเป็นผื่น/ตุ่มนูน 98% , ไข้ 39% , ต่อมนำเหลืองโต 26% และไอ 2% โดยลักษณะของผื่นเป็น ตุ่มแผลก้นลึก 75% , ตุ่มน้ำใส 9% ผื่นนูน/ตุ่มหนอง 2% บริเวณที่พบส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน เช่น อวัยวะเพศ 39% ปาก 30% และรอบทวารหนัก 2% ตรวจพบสายพันธุ์ West African 9 ราย

ประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้ป่วย แต่ไม่นิ่งนอนใจ เราเตรียมพร้อมทุกด้าน ทั้งการเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ คือ มีไข้เกิน 38 องศาเซลเวียส ร่วมกับอาการป่วยอย่างน้อยหนึ่งอย่าง คือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีผื่นตุ่มนูน ร่วมกับประวัติเดินทางหรืออาศัยในประเทศที่มีรายงานการระบาด มีประวัติร่วมกิจกรรมที่มีรายงานพบผู้ป่วยเข้าข่ายหรือยืนยัน และประวัติสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนำเข้าจากแอฟริกา

นอกจากนี้ ยังเฝ้าระวังผู้ป่วยที่รักษาใน รพ. คลินิกโรคผิวหนัง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ เตรียมพร้อมทีมสอบสวนโรค เตรียมพร้อมด้านเวชภัณฑ์ ทั้งยา วัคซีน และอุปกรณ์การแพทย์

เมื่อถามถึงผลการประชุมคณะกรรมการวิชาการ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ถึงโรคฝีดาษลิง นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า คณะกรรมการวิชาการมีมติเห็นชอบให้จัดโรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และเป็นโรคระบาดนอกราชอาณาจักรและในบางประเทศที่มีการระบาดภายในประเทศแล้ว ยังไม่จัดเป็นโรคติดต่ออันตราย เนื่องจากเบื้องต้นยังไม่มีผู้ป่วยในประเทศไทย

ลักษณะการแพร่กระจายของโรคเป็นลักษณะของคนใกล้ชิดกันมากๆ เฉพาะกลุ่ม ยังไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างไปหลายๆ ทวีป และอัตราป่วยตายยังเป็นสายพันธุ์ที่ป่วยรุนแรงน้อย โดยประเทศไทยมีการคัดกรองผู้เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.2565 ยังไม่พบผู้ป่วยสงสัยและขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีผู้ป่วยโรคนี้มาก่อน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ