วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อลักษณะของผู้ที่จะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร พบว่า
-ร้อยละ 76.72 ระบุว่า สามารถทำงานให้กับทุกพรรคการเมืองด้วยความเป็นกลางได้
-ร้อยละ 28.63 ระบุว่า มีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ส.ส. หลายสมัย
-ร้อยละ 26.34 ระบุว่า ต้องจบกฎหมาย
-ร้อยละ 24.89 ระบุว่า ต้องเป็นที่ยอมรับของ ส.ส.
-ร้อยละ 16.41 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคที่จะเป็นรัฐบาลเท่านั้น
- ส.ว.วันชัย เย้ยหยัน พิธา! ก็เป็นแค่นายกทิพย์ ก้าวไกล ก้าวไปไม่ถึง
- ชูวิทย์ ขยี้ซ้ำ! แผนลวงนี่ร้ายลึกผลัก ก้าวไกล ไปเป็นฝ่ายค้าน
- ไม่จบ? ประธานสภา ก้าวไกล – เพื่อไทย ยังไม่ได้ข้อสรุป แม้ใกล้เปิดประชุมสภา
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของ ส.ส. ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร พบว่า
-ร้อยละ 52.44 ระบุว่า ส.ส. ควรมีการตกลงกันภายในพรรคของตนเองก่อนลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร
-ร้อยละ 47.10 ระบุว่า ควรปล่อยให้ ส.ส. ใช้อิสระในการลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร
-ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมือง ประชาชนต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอีกเพียงไม่กี่วันข้างหน้าก็จะถึงวาระเปิดประชุมสภานัดแรก และเข้าสู่การเลือก “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” แต่ปัจจุบันกลับพบว่า พรรคก้าวไกล ที่ได้อันดับ 1 กับ พรรคเพื่อไทย ที่ได้อันดับ 2 ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวตำแหน่งประธานสภา ซึ่งความล่าช้าในการตกลงอาจส่งผลกระทบต่อการโหวตเลือก “นายกรัฐมนตรี” ที่เป็นขั้นตอนถัดไป
ขอบคุณข้อมูล นิด้าโพล
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY