ผปค.วีนฉ่ำ ครูอนุบาลจัดที่นอนแปลก "เท้าโดนหัวลูก" แต่รู้เหตุผลทึ่ง พ่อแม่ยังคิดไม่ถึง

Home » ผปค.วีนฉ่ำ ครูอนุบาลจัดที่นอนแปลก "เท้าโดนหัวลูก" แต่รู้เหตุผลทึ่ง พ่อแม่ยังคิดไม่ถึง
ผปค.วีนฉ่ำ ครูอนุบาลจัดที่นอนแปลก "เท้าโดนหัวลูก" แต่รู้เหตุผลทึ่ง พ่อแม่ยังคิดไม่ถึง

ภาพเด็กอนุบาลนอนกลางวัน ผปค.เห็นแล้วความดันพุ่ง ครูรีบอธิบายละเอียดยิบ ฟังจบอึ้ง คิดไม่ถึงจริงๆ

เราทุกคนรู้ดีว่าเด็กๆ ต้องการการนอนหลับที่เพียงพอ ดังนั้นพวกเขาจะมีเวลางีบหลับหลังมื้ออาหารในโรงเรียนอนุบาล โดยปกติแล้วโรงเรียนจะจัดเตียงหรือที่นอนแยกให้กับเด็กแต่ละคน เพื่อความเป็นส่วนตัว เพื่อช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีรูปถ่ายเด็กอนุบาลที่กลายเป็นประเด็นในเวียดนาม หลังจากคุณครูส่งรูปเข้ากลุ่มแชทสำหรับผู้ปกครอง และทำให้หลายคนออกมาประท้วง โดยบอกว่าเห็นภาพนี้แล้วรู้สึกอึดอัดมาก และคิดว่านี่ไม่ถูกสุขลักษณะมาก พร้อมทั้งเรียกร้องให้ครูอธิบาย

เหตุผลที่ผู้ปกครองรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ เพราะในรูปแทนที่เด็กๆ จะนอนเรียงไปในทิศทางเดียวกันตามปกติ ครูกลับให้เด็กนอนสลับหัว-เท้ากันไปเรื่อยๆ ส่งผลให้เท้าของเด็กวางอยู่ใกล้กับศรีษะของเพื่อนข้างๆ

ผู้ปกครองคนหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า “เท้าเด็กคนนี้อาจไปโดนหน้าเด็กอีกคนได้ ใครกันล่ะจัดที่งีบหลับที่ไม่สมเหตุสมผลให้นักเรียนแบบนี้ได้?”

เมื่อเผชิญกับดราม่าอุ่นๆ เช่นนี้ ครูอนุบาลจึงต้องรีบออกมาชี้แจงเหตุผลที่ต้องจัดให้นักเรียนนอนแบบนั้น ประการแรก เด็กเล็กมักจะนอนกระซิบพูดคุยกัน ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของตนเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อนักเรียนคนอื่นๆ ด้วย การจัดที่นอนในลักษณะนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวได้

ประการที่สอง สภาพแวดล้อมในปัจจุบันอยู่ในช่วงเวลาพิเศษ เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง เด็กๆ มีความเสี่ยงต่อไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายมาก ซึ่งแน่อนนว่าหากนอนหันหน้าเข้าหากัน ย่อมแพร่เชื้อผ่านลมหายใจได้ง่าย การจัดเตรียมที่นอนหลับกลางวันในลักษณะดังกล่าว ก็เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของเหล่านักเรียน

หลังจากฟังคำอธิบายของคุณครูแล้ว ผู้ปกครองหลายคนก็รู้สึกกระจ่างขึ้นมาทันที ทั้งเอ่ยขอโทษและชื่นชมในความเอาใจใส่ของคุณครูต่อลูกๆ ของพวกเขา บางคนถึงกับบอกอนุญาตให้ดูแลลูกของพวกเขาได้ ทั้งการอาบน้ำ, ล้างมือและเท้า, ดูแลเรื่องอาหารการกินและเสื้อผ้า ส่วนพวกเขาเองก็สัญญาว่าจะดูแลลูกๆ อย่างดีเมื่ออยู่บ้านเช่นกัน

เชื่อว่า ทั้งพ่อแม่และคุณครูต่างไม่อยากเห็นเด็กๆ เจ็บป่วย ซึ่งต้องใช้ความพยายามร่วมกัน ดังนั้น อย่าปล่อยให้อารมณ์เชิงลบมากระทบความสัมพันธ์ ในการสื่อสารระหว่างกันควรวางตัวเองในตำแหน่งครูและผู้ปกครอง พยายามหลีกเลี่ยงคำพูดดูหมิ่นที่ทำร้ายกันและกัน เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจสาเหตุอย่างชัดเจนก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์

นอกจากนี้ เมื่อเกิดปัญหาหรือความข้องใจใดๆ ควรถามคุณครูโดยตรงเพื่อรับฟังคำชี้แจง แทนที่จะทำให้เกิด “ข่าวลือ” ในกลุ่มชั้นเรียน หรือโซเชียลมีเดียร์ สิ่งต่างๆ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ