เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2567 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีหนังสือคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 436/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ใจความว่า ด้วยข้าราชการตำรวจดังต่อไปนี้
1.พล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาล
2.พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย รองผู้บังผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4
3.พ.ต.อ.เขมรินทร์ พิศมัย ผู้กำกับการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดจันทบุรี
4.พ.ต.อ.อาริศ คูประสิทธิ์รัตน์ ผู้กำกับการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดฉะเชิงเชิงเทรา
5.พ.ต.ท.คริษฐ์ ปริยะเกตุ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม สภ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ (ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 177 /2567 ลงวันที่ 18 เมษายน 2567)
6.พ.ต.ต.ชานนท์ อ่วมทร สารวัตรป้องกันปราบปราม สภ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
7.ส.ต.อ.ณัฐวุฒิ หวัดแวว ผู้บังคับหมู่ (ทำหน้าที่จราจร) งานปฏิบัติการจราจร ตามโครงการพระราชดำริ 1 กองกำกับการ 6 กองบังบังคับการตำรวจจจราจร (ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178 /2567 ลงวันที่ 18 เมษายน 2567)
8.ส.ต.อ.อภิสิทธิ์ คนยงค์ ผู้บังคับหมู่ (ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม) สภ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
สืบเนื่องจาก พล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ กับพวกรวม 8 นาย ถูกสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 93/2567 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยปรากฎผลการสืบสวนข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 4 ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคลเครือข่าย หุ้นส่วน นายทุน เจ้าของเว็บไซต์และผู้ที่เกี่ยวข้องเว็บไซต์พนันออนไลน์ ซึ่งตรวจสอบพบการกระทำความผิด มีการเปิดบริการให้เล่นพนันออนไลน์ สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ เกมส์พนันออนไลน์อื่นๆ จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนในข้อหาร่วมกันจัดให้มีการเล่นหรือทำอุบาย ล่อ ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่น หรือเข้าพนันในการเล่นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงาน สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน โดยพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์ไว้แล้วตามคดีอาญาที่ 468/2566 ของสน.ทุ่งมหาเมฆ
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ออกหมายจับผู้ต้องหาที่เป็นข้าราชการตำรวจทั้ง 8 นาย ดังกล่าว จากการตรวจสอบข้อมูลที่ตรวจยึดได้พบบันทึกสรุปยอดบันทึกว่า “จ่ายตำรวจ” พร้อมระบุ จำนวนเงินและข้อมูลของ น.ส.ธันยนันท์ สุจริตชินศรี หรือสุชานันท์ กุลวัฒนโยธิน หรือมินนี่ ผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน ออนไลน์ พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย โดยมีหลักฐานที่ พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย ให้น.ส.ธันยนันท์ สุจริตชินศรี โอนเงินค่าตำรวจ โดยวิธีการนำเงินสดไปฝากเข้าตู้รับฝากของธนาคารต่างๆ เพื่อปกปิดอำพรางการได้มา โดย พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย ส่งเลขบัญชีธนาคารและภาพหน้าสมุดธนาคารไปยัง น.ส.ธันยนันท์ สุจริตชินศรี เพื่อให้ดำเนินการนำเงินสดไปฝากเข้าตู้เอทีเอ็ม เข้าบัญชีของนายกิตติชัช ปภัสโรบล และนายพุฒิพงษ์ พูนศรี
จากการสืบสวนสอบสวนพบว่า เงินค่าตำรวจซึ่งเข้าไปในบัญชี นายกิตติชัช ปภัสโรบล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงมีการทำธุรกรรมรับโอนเงินและโอนเงินเข้าไป ในบัญชีธนาคาร นายพุฒิพงษ์ พูนศรี, นายครรชิต สองสมาน, นายวราวุฒิ บางพระ, และน.ส.พิมพิลาศ แก่นมั่น ซึ่งเป็นบัญชีที่ พ.ต.ท.คริษฐ์ ปริยะเกตุ เป็นผู้ถือและใช้บัญชี และได้มีการโอนเงินและรับโอนเงินผ่านบัญชีดังกล่าวไปยัง พล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์, พ.ต.อ.เขมรินทร์ พิศมัย, พ.ต.อ.อาริศ คูประสิทธิ์รัตน์, พ.ต.ต. ชานนท์ อ่วมทร, ส.ต.อ. ณัฐวุฒิ หวัดแวว และ ส.ต.อ.อภิสิทธิ์ คนยงค์ ซึ่งเป็นการโอนเงินและรับโอนเงินจากบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดการพนันออนไลน์ และน่าเชื่อว่ามีพฤติการณ์เรียกรับเงินค่าตำรวจดังกล่าว เหตุเกิดในห้วงปี พ.ศ. 2565 ถึงปี พ.ศ.2566 กรณีจึงมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า พล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ กับพวกรวม 8 นาย กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 105 มาตรา 119 และมาตรา 179 ประกอบกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2567 จึงแต่งตั้งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องดังกล่าว
ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1.พล.ต.ท.สันติ ชัยนิรามัย จเรตำรวจ เป็นประธานกรรมการ
2.พล.ต.ต. อรรถพล อนุสิทธิ์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2 เป็นกรรมการ
3.พ.ต.อ.รณชัย เมฆชัย รองผู้บังคับการกองตรวจราชการ 3 เป็นกรรมการ
4.พ ต.อ.ธีรศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ
5.พ.ต.อ. ธรรมนิตย์ บุญเพ็ญผู้กำกับการฝ่ายสืบสวนและตรวจราชการ 1 กองตรวจราชการ 3 เป็นกรรมการและเลขานุการ
6.พ.ต.ท.วรปรัชญ์ วุฑฒิรักษ์ รองผู้กำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ
และ7.พ.ต.ท. พฤฒ ศุภจิตตากร สารวัตร (สอบสวน) สน.ปากคลองสาน เป็นกรรมการ
- สลด! ปู่คลั่งยา ฆ่าหลานวัย 6 ขวบ จับโยนลงน้ำ เสียชีวิต
- ชาวบ้านผวา! 2 พี่น้องถูกยิงสาหัส เหตุ คนร้ายบุกปล้น ร้านชำ 2 ร้านติด
- อัปเดต! น้ำท่วมอยุธยา คืนเดียว น้ำทะลักท่วมบ้านเรือน เดือดร้อนหนัก
ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ยังได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 437/2567 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ให้ตำรวจทั้ง 8 นาย ประกอบด้วย
1.พล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาาล
2.พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4
3.พ.ต.อ.เขมรินทร์ พิศมัย ผู้กำกับการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดจันทบุรี
4.พ.ต.อ.อาริศ คูประสิทธิ์รัตน์ ผู้กำกับการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา
5.พ.ต.ท.คริษฐ์ ปริยะเกตุ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม สภ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ (ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178 /2567 ลงวันที่ 18 เมษายน 2567)
6.พ.ต.ต.ชานนท์ อ่วมทร สารวัตรป้องกันปราบปราม สภ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
7.ส.ต.อ.ณัฐวุฒิ หวัดแวว ผู้บังคับหมู่ (ทำหน้าที่จราจร) งานปฏิบัติการจราจร ตามโครงการพระราชดำริ 1 กองกำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจจราจร (ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 178 /2567 ลงวันที่ 18 เมษายน 2567)
8.ส.ต.อ.อภิสิทธิ์ คนยงค์ ผู้บังคับหมู่ (ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม) สภ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
โดยมีพฤติการณ์ เกี่ยวข้องกับเครือข่ายหุ้นส่วน นายทุน เจ้าของเว็บไซต์และผู้ที่เกี่ยวข้องเว็บไซต์พนันออนไลน์ สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ เกมพนันออนไลน์อื่นๆ และต้องหาคดีอาญาที่ 468 /2566 ของ สน.ทุ่งมหาเมฆ ในข้อหาสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน ซึ่งเป็นกรณีต้องหาคดีอาญาร้ายแรง จนถูกศาลอาญาออกหมายจับ ตามหมายจับที่ จ.879-901/2566 ลงวันที่ 22 กันยายน 2566 ในกรณีดังกล่าว และมีเหตุผลให้พักราชการได้ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.2547 ข้อ 3 (1 ) คือ ถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา โดยผู้กระทำความผิดเป็นข้าราชการตำรวจ มีหน้าที่และอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา แต่กลับต้องหาว่ากระทำผิดทางอาญาเสียเอง ซึ่งเป็นคดีสำคัญอยู่ในความสนใจของประชาชน ประกอบกับปรากฏข้อเท็จจริงตามเอกสารข่าว
สำนักงานอัยการสูงสุด ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ว่ามีพฤติการณ์การกระทำในเชิงคุกคามข่มขู่พนักงานอัยการที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้คำแนะนำปรึกษาการสืบสวนสอบสวนคดีนี้ และขัดขวางกระบวนการสืบสวนสอบสวน ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนและภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งจแห่งชาติ
อย่างร้ายแรง ถ้าให้คงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ ประกอบกับการสอบสวนพิจารณาในเรื่องนี้มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเป็นเครือข่ายจำนวนมากพิจารณาแล้วเห็นว่าการสอบสวนพิจารณาที่เป็นเหตุให้สั่งพักราชการนั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 105 มาตรา 131 และมาตรา 179 แห่ง พ.ร.บ.ตํารวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ประกอบกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจาก ราชการไว้ก่อน พ.ศ.2567ข้อ5 จึงให้ พล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ กับพวกรวม 8 นาย ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
อนึ่ง ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งนี้ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค.ตร. ได้ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 141ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง และหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือรับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือภายใน 90 วัน นับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอทราบผลการวินิจฉัย อุทธรณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนี้จะต้องแจ้งให้ประธานคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยทราบเพื่อให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนกรณีพล.ต.ต.นำเกียรติ เนื่องจากเป็นตำรวจระดับผบก. นายกรัฐมนตรีต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ ตามพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ปี 2565 มาตรา 140 วรรค 2
ทั้งนี้ สำหรับตำรวจทั้ง 8 นายถูกพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ในขณะนั้น สั่งให้มาปฏิบัติราชการที่ศปก.ตร.ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2567 ต่อมาพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ลงนามคำสั่ง ตร.106/2567 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ให้ตำรวจทั้ง 8 นาย ปฏิบัติราชการที่ศปก.ตร.เช่นเดิม