ป่าฮาลา-บาลา แอมะซอนแห่งอาเซียน

Home » ป่าฮาลา-บาลา แอมะซอนแห่งอาเซียน
ป่าฮาลา-บาลา แอมะซอนแห่งอาเซียน

ชวนทุกคนมาเรียนรู้เรื่องราวของ “นกเงือกในไทย” และเยี่ยมเยือน “บ้าน” หลังสำคัญของนกเงือกในไทย อย่างป่าฮาลา-บาลา

image1

โดย “นกเงือกในไทย” ได้รับฉายา “นักปลูกป่า” ในระบบนิเวศทางธรรมชาติของบ้านเรา จากพฤติกรรมการกินผลไม้ที่หลากหลาย ซึ่งบางครั้ง “เมล็ดพันธุ์” ที่นกเงือกกักตุนไว้เป็นอาหารในปาก ก็มีการหลุดรอดลงสู่ผืนป่า ระหว่างการบินกลับมายังรังของตัวเอง ทำให้เป็นการกระจายเมล็ดพันธุ์ใหม่ ๆ จนเกิดการรักษาความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในผืนป่าไปในตัว

image2

ซึ่ง “บ้านหลังใหญ่” ของบรรดานกเงือกในไทย จะเป็น “ป่าฮาลา-บาลา” เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ใต้สุดของไทย อันเป็นป่าที่พบนกเงือกได้เยอะที่สุดในประเทศ โดยเราสามารถพบเห็นนกเงือกในป่าแห่งนี้ได้ถึง 10 ชนิด จากทั้งหมด 13 ชนิด ที่ปรากฎอยู่ในไทย จนเป็นการชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนี้ได้อย่างดี

image3

โดยป่าฮาลา-บาลา มีพื้นที่ทั้งหมด 391,689 ไร่ ประกอบด้วยป่า 2 ผืน ได้แก่

ป่าฮาลา

– ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

ป่าบาลา

– ในพื้นที่ อ.แว้ง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ครอบคลุมพื้นที่ทิวเขาสันกาลาคีรี

image4

และได้รับการจัดตั้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของไทย เมื่อปี 2539 ซึ่งแม้ว่าป่าทั้ง 2 ผืน จะมีอาณาเขตไม่ต่อเนื่องกัน แต่ก็ได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน

image5

ด้านสถานการณ์ของ “นกเงือกในไทย” อ้างอิงข้อมูลจากเจ้าหน้าที่โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งติดตามการลักลอบซื้อขายชิ้นส่วน และเครื่องประดับจากโหนกนกชนหิน และนกเงือกชนิดอื่น ๆ ในแพลตฟอร์มออนไลน์ของไทย

image6

ระหว่างเดือนต.ค. 61- เม.ย. 62 พบว่ามีการโพสต์ซื้อขายสินค้าจากนกเงือก 236 โพสต์ มีผลิตภัณฑ์จากนกเงือกมากกว่า 546 ชิ้น โดย 173 โพสต์ หรือ 73% เป็นการซื้อขายผลิตภัณฑ์จากนกชนหิน สายพันธุ์นกเงือกเก่าแก่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย

สอบถามเกี่ยวกับทริปชมป่าฮาลา-บาลา ได้ที่สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร 0-2561-0777 ต่อ 1615

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ