วันที่ 25 ธันวาคม 2566 มีรายงานข่าวเกี่ยวกับกระแส ปิดผับตี4 นโยบายรัฐบาลที่หวั่งใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ โดย นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยหนักและผู้สูงอายุ ให้ความเห็นผ่านเฟซบุ๊กว่า “นโยบายเปิดผับสถานบันเทิงถึงตี 4 ใน 5 พื้นที่ กรุงเทพ ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย จว.สุราษฎร์ธานี ของกระทรวงมหาดไทย มีผลพวงตามมา ข่าวอุบัติเหตุคนออกจากผับ ขับรถชนคนเสียชีวิต คนส่วนใหญ่โทษแต่เมาจากดื่มเบียร์เหล้าในผับที่เปิดถึงตี 4 ทำให้เกิดอุบัติเหตุ มองข้ามปัจจัยร่วมที่สำคัญคือการอดนอน และอุบัติเหตุที่เกิดจากง่วงหลับใน”
“ช่วงเวลาที่คนง่วงนอนมากกว่าเวลาอื่น มี 2 ช่วง ช่วงบ่าย 2 ถึงบ่าย 4 และหลังเที่ยงคืนถึงเช้ามืด เป็นไปตามนาฬิกาชีวิตในสมองเป็นตัวกำหนด” ความง่วงนอนในเวลาตื่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนชั่วโมงที่อดนอน สมองจะบังคับคนอดนอน เหมือนเจ้าหนี้บังคับลูกหนี้คืนจำนวนชั่วโมงที่อดนอน ให้ใช้หนี้ด้วยการบังคับให้นอนหลับ โดยไม่สนใจว่าคนนั้นกำลังขับรถหรือทำอะไรอยู่
- สุริยะ ชี้ สาเหตุรางจ่ายกระแสไฟหลุด ของ รถไฟฟ้าสายสีชมพู มาจากสิ่งนี้
- ดับ 1 เหตุแผ่นเหล็กเครน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีม่วง – รฟม. พร้อมเยียวยา
- พรานหนุ่ม งานเข้า โดนกล้องดักถ่ายสัตว์ ถูกถ่ายภาพตอนลอบล่าสัตว์ป่า
คนที่ตื่นแต่ 6 โมงเช้าแล้วขับรถกลับบ้านหลังเที่ยงคืน มีความสามารถในการขับรถลดลงเท่ากับคนดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แอลกอฮอล์เป็นอันตรายสำหรับคนอดนอน คนอดนอนดื่มแอลกอฮอล์ยิ่งทำให้หลับในง่ายขึ้น คนอดนอน นอนไม่พอ ดื่มเบียร์เพียงขวดเดียว มีความสามารถในการขับรถลดลงเท่ากับคนที่นอนเต็มอิ่มดื่มเบียร์ 6 ขวด
หมอมนูญ ระบุอีกว่า “เวลาตี 4 เป็นเวลาที่สมองของคนส่วนใหญ่กำลังหลับ ถ้ายังไม่นอนแล้วดื่มแอลกอฮอล์ด้วย มีโอกาสหลับในขณะขับรถสูงมาก” ถ้าเราต้องการลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร ถึงเวลาแล้วเราต้องรณรงค์ทั้ง 2 เรื่องพร้อมกัน เช่น “ง่วงเมาเราไม่ขับ ไปกลับแท็กซี่” (ดูรูป) “เมาไม่ขับ ง่วงจัดต้องรีบจอด” ไม่ใช่พูดแต่เรื่องเมาอย่างเดียว ถึงไม่ดื่มหรือดื่มแอลกอฮอล์เพียงแก้วเดียว ขับรถตอนตี 4 ก็อาจเกิดอุบัติเหตุจากง่วงหลับในได้