ประวัติ เศรษฐา ทวีสิน จากผู้บริหารใหญ่แสนสิริ สู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย

Home » ประวัติ เศรษฐา ทวีสิน จากผู้บริหารใหญ่แสนสิริ สู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย จากพรรคเพื่อไทย มีประวัติ อย่างไร มีบุตรกี่คน

ประวัติ เศรษฐา ทวีสิน

เศรษฐา ทวีสิน เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เป็นบุตรคนเดียวของ ร.อ.อำนวย ทวีสิน กับ คุณชดช้อย จูตระกูล การศึกษาในระดับประถม เศรษฐาศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นไปศึกษาต่อที่สหรัฐในระดับไฮสกูล และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมสสาชูเซ็ตส์ (University of Massachusetts) ปริญญาโทในสาขาบริหารธุรกิจด้านการเงินจาก บัณฑิตวิทยาลัยแคลมอนต์ (Claremont Graduate School) ของสหรัฐ 

หลังเรียนจบในปี พ.ศ. 2529 เศรษฐากลับมาทำงานที่ประเทศไทยในบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (Procter & Gamble) บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนไหวเร็ว (FMCG) ในเวลานั้น P&G เพิ่งย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเขาเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดคนแรก ก่อนที่จะไปทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับอภิชาติ จูตระกูล ผู้เป็นญาติในชื่อ บริษัท แสนสำราญ จำกัด (ชื่อเดิมของแสนสิริ) ในปี พ.ศ. 2533

เศรษฐาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง แสนสิริได้เติบโตขึ้นเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เศรษฐายังเป็นผู้ผลักดันให้แสนสิริพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม

เศรษฐาเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เศรษฐายังเป็นบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองสูง มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างประเทศไทยที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน

เมื่อต้นเดือนเมษายน 2566 เขาได้ประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งของแสนสิริ พร้อมโอนหุ้นทั้งหมดกว่า 661,002,734 หุ้น ให้แก่ นางสาวชนัญดา ทวีสิน ผู้เป็นบุตรสาว โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจเตรียมพร้อมทำงานการเมืองในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย

ประวัติด้านชีวิตครอบครัว

ภรรยาของนายเศรษฐา คือ พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน แพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และลูกๆ โดยสรุปว่า แม้พ่อแม่ลูกอยู่คนละเมือง แต่ไม่รู้สึกห่างกัน เพราะเดินทางไปพบบ่อยๆ

ส่วนบุตรของนายเศรษฐา ประกอบด้วย

  • ณภัทร (น้อบ) จบการศึกษาด้าน ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (Philosophy-Politics-Economics หรือ PPE) University of Oxford และปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) Harvard Business school
  • วรัตม์ (แน้บ) จบการศึกษาปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ (Economics) และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) จาก Stanford University
  • ชนัญดา (นุ้บ) จบปริญญาตรีด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ที่ Barnard college Columbia University นิวยอร์ก และปริญญาโท สังคมสงเคราะห์ (Social work) ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน

การเข้าสู่การเมือง

เศรษฐาเปิดเผยว่าเขาไม่ได้มีความฝันที่จะก้าวเข้าสู่การเมืองมาก่อน แต่สิ่งที่เริ่มจุดประกายให้เขาสนใจการเมืองมากขึ้นคือนับตั้งแต่การรัฐประหาร 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเศรษฐาเห็นว่าการยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและรับไม่ได้ บวกกับปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วง 8-9 ปีหลังมานี้ รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สะท้อนให้เห็นว่าและความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย เศรษฐาเห็นว่ารัฐบาลปัจจุบันไม่สามารถทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเสมอภาค มีความเท่าเทียม และมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกได้ ตนจึงตัดสินใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพรรคเพื่อไทยเพราะเชื่อว่าเพื่อไทยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เศรษฐาสมัครเป็นสมาชิกครอบครัวเพื่อไทย และในเดือนมีนาคม 2566 นั่งตำแหน่งประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยให้กับแพทองธาร ชินวัตร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อคุณเศรษฐาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพร้อมกับอีกสองท่าน ได้แก่ แพทองธาร ชินวัตร และชัยเกษม นิติสิริ

เศรษฐาพูดเสมอว่า “ผมไม่ได้อยากเป็นนายกรัฐมนตรีเพราะอยากมีตำแหน่งว่าเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย แต่ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง”

เศรษฐา ทวีสิน ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เขาได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 และได้รับการประกาศให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย

  • เสียง สว.ทะลุเป้า! “เศรษฐา” เตรียมเป็นนายกคนที่ 30 อย่างไม่เป็นทางการ
  • เศรษฐา ทวีสิน กับพอร์ตหุ้น-ทรัพย์สินที่รวยมโหฬาร ก่อนเข้าสู่สนามการเมืองเต็มตัว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ