ประวัติ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 1 ใน 5 แคนดิเดตนายก จากพรรครวมไทยสร้างชาติ

Home » ประวัติ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 1 ใน 5 แคนดิเดตนายก จากพรรครวมไทยสร้างชาติ
ประวัติ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 1 ใน 5 แคนดิเดตนายก จากพรรครวมไทยสร้างชาติ

ทำความรู้จัก พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อีกหนึ่งแคนดิเดต 1 ใน 5 ความเป็นไปได้ของ นายกคนที่ 31

จากกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัย คดียื่นถอดถอน นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ปมแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ศาลมีมติ 5:4 ให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ พร้อมให้คณะรัฐมนตรีพ้นตำแหน่งทั้งคณะ โดยคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน จะกลายเป็น คณะรัฐมนตรีรักษาการ จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีอำนาจ ยุบสภา ส่วนแคนดิเดตที่เหลืออยู่ในตอนนี้จำนวน 5 คน ประกอบด้วย

  1. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย
  2. นายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย
  3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคภูมิใจไทย
  4. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคพลังประชารัฐ
  5. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค แคนดิเดตนายกฯ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ

วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค แคนดิเดตนายก จากพรรครวมไทยสร้างชาติ

ประวัติ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา​ 2019

ประวัติส่วนตัว พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

พีระพันธุ์ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของพลโทณรงค์ สาลีรัฐวิภาค อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์และเจ้ากรมการพลังงานทหาร ผู้ริเริ่มการขุดเจาะน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ก่อตั้งปั๊มน้ำมันสามทหาร (ปัจจุบันคือ ปตท.) เป็นหลานปู่ของพระยาสาลีรัฐวิภาค (สงวน ไนคีตะเสน) กับ คุณหญิงขนิษฐา สาลีรัฐวิภาค ส่วนมารดา โสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค อดีตดาวจุฬาฯ คนแรก ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้สุนทราภรณ์แต่งเพลงดาวจุฬาฯและขวัญใจจุฬาฯ เป็นบุตรีพระมนูเวทย์วิมลนาท (มนูเวทย์ สุมาวงศ์) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักร และประธานศาลฎีกา กับคุณหญิงแฉล้ม มนูเวทย์วิมลนาท

ชีวิตครอบครัว พีระพันธุ์สมรสกับ สุนงค์ สาลีรัฐวิภาค (นามสกุลเดิม: โทณวณิก) มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 4 คน ได้แก่ ชลิตา, ภัทร และฝาแฝด ภัทรพร-ภัทรพรรณ สาลีรัฐวิภาค

การศึกษา พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

มัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ปริญญาโท กฎหมายอเมริกันทั่วไป (LLM) มหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา
ปริญญาโท กฎหมายเปรียบเทียบ (MCL) มหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา
สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล มอบรางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น” ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ประจำปี พ.ศ. 2565 (รางวัล John Mary Award) แก่พีระพันธุ์ (เลขประจำตัว ซ.ค.10527 รุ่น SG 46) โดยมีการประกาศผลเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

ประวัติการทำงาน พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

การทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษา

พ.ศ. 2529 – 2530 ผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 26
พ.ศ. 2530 – 2531 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
พ.ศ. 2531 – 2532 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตาก
พ.ศ. 2532 – 2533 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดธัญบุรี ปทุมธานี
พ.ศ. 2533 – 2535 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2535 – กันยายน 2535 ผู้พิพากษาศาลประจำกระทรวง ทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลแพ่ง

การทำงานการเมือง

พ.ศ. 2539 – 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง ห้วยขวาง วัฒนา
พ.ศ. 2544 – 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง
พ.ศ. 2548 – 2549 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พ.ศ. 2550 – 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตลาดพร้าว ห้วยขวาง วังทองหลาง
พ.ศ. 2554 – 2556 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พ.ศ. 2562 – 2562 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พ.ศ. 2566 – 2566 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ

ตำแหน่งทางการเมือง

พ.ศ. 2540 – 2544 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
พ.ศ. 2544 – 2548 ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปราม การทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2548 – 2549 รองประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2551 – 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2562 – 2565 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
พ.ศ. 2565 – 2566 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ