สำหรับละครเรื่อง พรหมลิขิต ในตอนนี้ ดำเนินมาถึง EP.7 หรือตอนที่ 7 กันแล้ว เรื่องโดยย่อของ EP.7 นี้ เป็นเรื่องของการเสด็จประพาสของพระเจ้าท้ายสระ ปลอมตัวเป็นคนธรรมดาสามัญชน เพื่อหลอกล่อผู้คนที่ต้องการทรยศ รอเลื่อยขาบันลังก์ให้ปรากฎตัว ซึ่งพระเจ้าท้ายสระได้สงสัยเจ้าพระองค์ดำ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของพระเจ้าท้ายสระ จึงได้วางแผนให้หลวงชิดภูบาล (ยอร์ช ฟอลคอน) มหาดเล็กคนสนิทไปปล่อยข่าวให้ถึงหูเจ้าพระองค์ดำ ว่าพระเจ้าท้ายสระจะเสด็จประพาส พร้อมมหาดเล็กคนสนิททั้ง 5 คน ได้แก่ หมื่นมหาฤทธิ์ (พ่อริด) , พระยาราชนุกูล (ทองคำ), หลวงชิดภูบาล (ยอร์ช ฟอลคอน), จมื่นศรีสรรักษ์ (พ่อมิ่ง), จมื่นภูเบศร์ (พ่ออิน)
- ประวัติ ‘หมื่นสุนทรเทวา’ ราชทูตไทยคนสำคัญ ในแผ่นดินอยุธยา
- ประวัติ ‘พันท้ายนรสิงห์’ คือใคร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับ ‘พระเจ้าเสือ’
- ประวัติ “พระเจ้าท้ายสระ” โอรสพระเจ้าเสือ อีกหนึ่งตัวละครลับที่สำคัญใน ‘พรหมลิขิต’
วันนี้ ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก เปิดประวัติ พระยาราชนุกูล หรือทองคำ รับบทโดย “เพ็ชร-ฐกฤต ตวันพงค์” ตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยอีกด้วย รวมถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 1
ประวัติ พระยาราชนุกูล
พระยาราชนุกูล หรือ ทองคำ เป็นบุตรชายของเจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) ซึ่งขุนทอง เป็นบุตรชายออกญาโกษาธิบดี(ปาน) หรือ ที่เรารู้จักคือโกษาปาน ซึ่งทองคำ มีศักดิ์เป็น หลานของปู่โกษาปาน
เมื่อทองคำโตขึ้น บิดาของท่าน ได้นำท่านเข้าถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โปรดให้ จมื่นมหาสนิท(ทองคำ) ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เพื่อคอยกะเกณฑ์สิ่งของและทำราชการ ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการเสด็จประพาสล้อมช้างป่า และเมืองอุทัยธานีเป็นหัวเมืองด่านที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ข้าว ช้างป่า มูลค้างคาว ไม้ ผลกระวาน เป็นต้น สำหรับใช้ในกองทัพ และเป็นยุทธปัจจัยในภายหน้า
ต่อมา พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โปรดฯให้เลื่อนยศ จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) เป็น พระยาราชนกูล บางแห่งเขียน พระยาราชนิกูล และจึงได้ย้ายครอบครัวจากอุทัยธานี มาตั้งอยู่กรุงศรีอยุธยา แถวๆวัดสุวรรณดาราราม
พระยาราชนิกูล (ทองคำ) มีบุตรชาย ชื่อ ทองดี รับราชการในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เลื่อนเป็น หลวงพินิจอักษร ซึ่งหลวงพินิจอักษรได้แต่งงานกับหลานสาวเจ้าพระยาอภัยราชา (เจ้าคุณประตูจีน) สมุหนายก นามว่า “ดาวเรือง” หรือ บางแห่งก็ เรียกว่าหยก
ต่อมา หลวงพินิจอักษรได้เลื่อนเป็น พระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตราต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ และรักษาพระราชลัญจกรอันเป็นตราประจำแผ่นดิน
พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) กับ คุณหยก มีบุตรชาย ชื่อ ทองด้วง เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้ไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง “หลวงยกกระบัตร” ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ และได้สมรสกับคุณนาค
ซึ่งต่อมาหลวงยกกระบัตรราชบุรี ก็คือ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ดังนั้น พระยาราชนิกูล (ทองคำ) ท่านเป็นพระบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ท่านจึงมีศักดิ์เป็นพระอัยกา(ปู่)ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ นั่นเอง
ที่มา Wikipedia , ปัณณพัทธิ์ คำนึง
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY