วันที่ 6 ก.ค. 66 นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเกี่ยวกับการเลือกโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ในวันที่ 13 ก.ค. 66 ที่จะถึงนี้ ว่า โดยจากการที่ได้คุยกับสมาชิก สว. สรุปข้อสรุปที่เกิดขึ้นมีแนวโน้ว ทิศทางที่จะไม่เลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรคก้าวไกล ไม่ยอบรับด้วยเหตผลหลัก คือ ความพยายามแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 มาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์ที่เป็นอันตรายต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขหลายประการ โดย สว.จะคงหลักการนี้ไว้ จนกว่าจะมั่นใจว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ ไม่มีพิธา และพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาล จึงจะตัดสินใจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30
นอกจากนั้น พรรคก้าวไกลและตัวนายพิธายังมีพฤติกรรม ที่ส่อไปในลักษณะที่จะสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน พยายามไปบิดเบือนประวัติศาสตร์ พยายามไปปลุกระดมประชาชนและชนเผ่าต่างๆ ให้มีความคิดกระด้างกระเดื่องและแบ่งแยกรัฐออกจากราชอาณาจักรไทย ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมากที่สุด นายพิธาไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะมาเป็นผู้นำในระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ เพราะทุกบทบาท ทุกความเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขา ที่เดินสายออกไปทั่วประเทศ กำลังปลุกปั่นยุยงประชาชน สร้างความขัดแย้งแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศ เป็นนายกฯ ก็ไม่สามารถสร้างความสามัคคีให้คนมาร่วมมือกันทำงานได้ แม้แต่กับพรรคการเมืองด้วยกัน
เมื่อถามว่า หากนายพิธา เสียงโหวตไม่ถึง 376 เสียง แล้วพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน โดยอาจเสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน แต่ยังมีพรรคก้าวไกล อยู่ในพรรคจัดตั้งรัฐบาล
“กรณีของนายพิธาจบไปแล้ว มองข้ามไปได้เลยว่า โอกาสที่จะได้เป็นนายกฯ แทบไม่มี ด้วยพฤติกรรมและการกระทำของตัวเขาเอง ไม่มีใครไปกลั่นแกล้ง การดำเนินงานทางการเมืองของเขา การประพฤติปฏิบัติตัวของเขา แนวคิดแนวนโยบายของเขา มันไม่สามารถ ทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศยอมรับได้”
สว.ประพันธ์ กล่าว
- กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน! ไทยตอนบนระวังฝนตกหนักต่อเนื่อง
- โหวตเลือกนายก 13 ก.ค. พิธา ก้าวไกล โดนย้อนศรสโลแกน มีลุงไม่มีเรา
- ศิธา แนะ! 2 พรรคใหญ่ ต้องจับมือกันให้แน่น เอาชนะเผด็จการ
ความเห็นส่วนตัวมีความเห็นว่า พรรคก้าวไกลไม่เหมาะสมที่จะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ซึ่งเหตุผลนอกเหนือจากที่บอกไว้ข้างต้นว่า จะไม่โหวตให้นายพิธาเป็นนายกฯแล้ว ก็ยังมีเหตุผลว่า พรรคก้าวไกลมีจุดยืนทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจากพฤติกรรมที่เขาทำหลายอย่าง เช่น การมีนโยบายจะแก้ไข มาตรา 112 แล้วใช้นโยบายนี้หาเสียง เพื่อนำไปสู่การยกเลิกมาตรา 112 ไม่ใช่แค่แก้ไขอย่างเดียว และต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเลย ไม่ว่าจะเป็นหมวด 1 หมวด 2 หมวดพระมหากษัตริย์ หมวดเรื่องราชอาณาจักรไทยเป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้ เขาก็จะแก้ไข เพราะฉะนั้น ลักษณะของพรรคก็เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย และพรรคก้าวไกลก็มีเรื่องถูกยื่นคำร้องร้องในประเด็นนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญด้วย
สว.ประพันธ์ นั้นยังเชื่อว่า รัฐบาลที่ไม่มีพรรคก้าวไกล มีพรรคเพื่อไทย ภูมิใจไทย และพลังประชารัฐก็สามารถบริหารประเทศได้แล้วส่วนใครจะมาจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อไม่มีก้าวไกล ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่สำคัญของ สว. ซึ่งเชื่อว่า พิธา ไม่มีทางรวมเสียงจาก สส. ได้พอตามเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ สว. ที่สนับสนุนพิธา มีมากสุดไม่เกิน 20 เสียง
ประพันธ์ ยังย้ำว่า พรรคก้าวไกลไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ สูตรจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่ใช่เรื่องยาก หากพิธาและพรรคก้าวไกล ไม่ดันทุรัง เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าสามารถโหวตเลือกนายกฯกี่ครั้ง ภายในระยะเวลากี่วัน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY