ปปง. เปิดให้เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียน ขอรับเงินคืน

Home » ปปง. เปิดให้เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียน ขอรับเงินคืน

เหยื่อมีเฮ

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดให้เหยื่อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิ “รับเงินคืน” ได้ 3 ช่องทาง

จากกรณีที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ก่อเหตุหลอกลวงประชาชนชาวไทยจนสูญเงินมูลค่ามหาศาล ล่าสุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ดำเนินการยึดทรัพย์สินของแก๊งมิจฉาชีพดังกล่าวเป็นของกลาง โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท

ทรัพย์สินที่ยึดได้ประกอบด้วยเงินสดมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท และอสังหาริมทรัพย์อีกจำนวนหนึ่งมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท

นายคารม รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทรัพย์สินที่ยึดได้จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะถูกเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้เสียหายที่ได้รับความเดือดร้อน โดย ปปง. จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ภายใน 90 วัน เพื่อให้ประชาชนมายื่นคำร้องขอรับการคุ้มครองสิทธิ

ผู้เสียหายจะได้รับเงินชดใช้คืนเมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดใช้คืนแทนการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

สำหรับผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิได้ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. ยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงาน ปปง.
  2. ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งถึง สำนักงานป้องกันและปราบการฟอกเงิน เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โดยวงเล็บ 2 มุมซองด้านบนว่า “ส่งแบบคำร้องขอ คุ้มครองสิทธิรายคดี….”
  3. ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง https://khumkrongsit.amlo.go.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-219-3600 หรือ โทร 1710

ปปง1
  • หนีตายระทึก! ฉลามบุกหาด ในรัฐเท็กซัส ก่อนทำร้ายคนเล่นน้ำ สาหัส 1
  • ส่อคดีพลิก!? เด็กโดนครูทารุณก่อน จนทนไม่ไหว แสดงพฤติกรรมต่อต้าน
  • แห่ชื่นชม! เภสัชคลีนิกดัง ยอมขาดทุน มอบเครื่องช่วยฟังให้คุณตาหูหนวกฟรี ๆ

นายคารมยังได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายน 2567 มีการแจ้งความออนไลน์ผ่าน https://www.thaipoliceonline.com รวมทั้งสิ้น 35,379 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวม 3,437,689,020 บาท เฉลี่ย 114,589,643 บาทต่อวัน

นอกจากนี้ ยังมีการอายัดบัญชีจำนวน 10,713 บัญชี ยอดขออายัดจำนวน 1,404,539,300 บาท และยอดอายัดได้จำนวน 719,057,785 บาท

สำหรับประเภทคดีออนไลน์ที่มีการแจ้งความมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  1. หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ (ไม่เป็นขบวนการ) มูลค่าความเสียหาย 160,929,368 บาท
  2. หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ มูลค่าความเสียหาย 583,012,851 บาท
  3. หลอกให้กู้เงิน มูลค่าความเสียหาย 145,768,931 บาท
  4. หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ มูลค่าความเสียหาย 1,427,157,157 บาท
  5. หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลหรือวัตถุประสงค์อื่น มูลค่าความเสียหาย 235,952,533 บาท

จากรายงานข้อมูลดังข้างต้น ยังมีประชาชนหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ขอประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ ที่เชิญชวน ชักชวนโดยวิธีการต่าง ๆ หากถูกหลอก สามารถแจ้งความออนไลน์ที่ https://www.thaipoliceonline.com หรือสอบถามที่เบอร์ 1441 หรือ 081-866-3000

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ