บุคลากรทางการแพทย์ โดน คนไข้เมายา – กัญชา กัดนิ้วขาด

Home » บุคลากรทางการแพทย์ โดน คนไข้เมายา – กัญชา กัดนิ้วขาด


บุคลากรทางการแพทย์

บุคลากรทางการแพทย์ ซวยหนัก! โดน คนไข้เมายาบ้า – กัญชา อาละวาดให้ญาติช่วยแก้มัด กัดนิ้วเจ้าหน้าที่ขาด ระหว่างฉีดยาให้สงบ

วันที่ 25 ตุลาคม 2566 เพจเฟซบุ๊กดังอย่าง หมอแล็บแพนด้า เผยเรื่องราวสุดระทึกของ “บุคลากรทางการแพทย์” รายหนึ่งที่ต้องเผชิญอันตรายกับผู้ป่วยที่มีอาการติดยาเสพติด แล้วอาละวาด อย่างในกรณีนี้ ที่คนไข้ติดยาบ้า และใช้กัญชา มาก่อนก่อเหตุ โดยทางเพจได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า “โอ้ยยย คนไข้เมายาบ้ากับกัญชา อาละวาดกัดนิ้วเจ้าหน้าที่ขาด” พร้อมกับโพสต์รูปข้อความที่มีใจความว่า “เรื่องสุดสะเทือนใจตั้งแต่ทำงานมา 11 ปี คำถามคือ บุคลากรทางการแพทย์ต้องพกอาวุธมาทำงานด้วยไหม”

บุคลากรทางการแพทย์ (1)

เหตุการณ์ระทึกและน่าสะเทือนใจ เกิดจากคนเมายาเสพติดอาละวาด ตำรวจได้นำตัวมาแอดมิตในโรงพยาบาล โดยคนไข้ไม่มีประวัติรับยาจิตเวชจากการใช้สารเสพติด จึงให้การรักษาด้วยการฉีดยาและผูกมัดไว้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่และคนไข้อื่น ๆ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยและควบคุมไม่ได้ คือ คนไข้มาถึงห้องผู้ป่วยและตื่น ญาติพยายามแก้มัด แต่เมื่อคนไข้เอะอะโวยวาย ญาติก็เรียกเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยจับ แต่ในบางวันก็มีแต่เจ้าหน้าที่หญิงขึ้นเวร บางเคสคุมสถานการณ์ได้ บางเคสก็ต้องแจ้งพนักงานรักษาความปลอดภัยมาช่วย บางเคสต้องแจ้งตำรวจมาช่วยระงับเหตุ

  • รอดนอนคุก ลูกเขยชาดา ได้ประกันตัว วางหลักทรัพย์ 4 แสน
  • แจ้งข่าวประชาชน เรื่อง เรียกปรับตามพินัย ไม่มีผลทางอาญา เริ่มวันนี้
  • ลูกเขยทำพิษ ชาดา ไม่มาประชุม ปราบผู้มีอิทพล พี่ศรี จี้ แบบนี้ต้องลาออก

เหตุการณ์ล่าสุด วันที่ (23 ต.ค. 66) ระหว่างที่ญาติมาเยี่ยมและพยายามแก้มัด จากนั้นคนไข้โวยวายจึงต้องพยายามจับเพื่อฉีดยาให้สงบไม่ให้ทำลายข้าวของ ทำให้คนไข้กัดนิ้วเจ้าหน้าที่ขาด เกิดความสูญเสีย จนเกิดเป็นคำถามว่าความปลอดภัยในชีวิตระหว่างการทำงานอยู่ตรงไหน แนวทางป้องกันดูแลอยู่ที่ไหน และจะปฏิเสธไม่รับคนไข้ลักษณะนี้ได้หรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ

บุคลากรทางการแพทย์ (2)

ทั้งนี้ อย่างที่ใครหลายคนรู้กันดีว่า ในปัจจุบันปัญหายาเสพติดยังมีอยู่ในประเทศไทยอยู่เรื่อยๆ แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะพยายามจับเท่าไร ได้เคสเป็นล้านเม็ด แต่ก็ยังพบว่า ราคายาเสพติดในท้องตลาดกับถูกลงอย่างน่าตกใจ อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงเยาวชนได้อย่างง่ายดาย ซึ่ง ผู้ที่มีอาการติดยาเสพติด เมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับมาจะถือว่าเป็นผู้ป่วย ซึ่งขั้นตอนต่อจากนั้นจึงเป็นภาระของ แพทย์ หรือ บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องทำการรักษาบุคคลเหล่านี้ แน่นอนว่า กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะขาดความยั้งคิดเนื่องจากเป็นผลมาจากสารเสพติดในร่างกาย จึงทำให้ที่แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ได้รับความเสี่ยงต่อชิวิตมากขึ้น

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ