วันที่ 10 ก.ค. 66 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดารมว.มหาดไทย ร่วมตรวจสอบความพร้อมก่อนทดสอบการเดินรถไฟฟ้า (Trial Run) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี โดยร่วมทดสอบการเดินรถ เส้นทางสถานีมีนบุรี (PK30) – สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (PK12) – สถานีลาดปลาเค้า (PK18)
ทั้งนี้ได้รับฟังการ สรุปความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีชมพู จาก นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯรฟม. อธิบายถึงรถไฟฟ้าสายสีชมพู ได้มีการทดสอบระบบมาเรียบร้อยและได้ให้นายกรัฐมนตรีมาตรวจสอบความพร้อม หลังจากที่ต้องมีการ เปิดให้ประชาชนได้ใช้ ซึ่งแนวเส้นทาง โดยจะวิ่งจากมีนบุรีและอ้อมเมือง ไปถนนรามอินทรา และต่อไปยังแจ้งวัฒนะ จนถึงแยกแคราย
โดยมีจุดเชื่อมต่อ รถไฟฟ้า 4 จุด
1. เชื่อมต่อสายสีส้ม (มีนบุรี)
2. เชื่อมต่อสายสีเขียว (วัดพระศรีมหาธาตุ)
3. เชื่อมต่อสายสีแดง และปลายทาง (รังสิต)
4. เชื่อมต่อสายสีม่วง (ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี)
- สนธิญา ร้องอัยการสูงสุด สอบเรื่องโหวต ประธานสภาผู้แทนราษฎร
- หมอวรงค์ ซัด ‘ก้าวไกล’ ปม เอาเด็ก 10 ขวบ จับไมค์ ขึ้นเวที เชียร์ ‘พิธา’
- ชาวบ้าน ช็อก! พบชายปริศนา ยืนแก้ผ้า กระตุก อยู่ริมระเบียง
โดยใช้รถไฟฟ้ารุ่นเดียวกับสายสีเหลือง ในการเชื่อมขบวน ผู้โดยสาร 4-7 ตู้ จะจัด 4 ตู้ในระยะแรก และในอนาคต จะเชื่อมได้อีก 6 ตู้เมื่อผู้โดยสารมากขึ้น ได้ 1,000 คนต่อขบวน และในขบวนรถ มีอุปกรณ์ความปลอดภัย ผู้โดยสาร รูปแบบสถานี มี 5 แบบ ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมจากศูนย์ราชการนนทบุรี – มีนบุรี ระยะทางกว่า 34.5 กิโลเมตร มีจำนวน 30 สถานีหลัก + 2 สถานีต่อขยาย และเชื่อมรถไฟฟ้าเปลี่ยนสายที่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี/เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ/เชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรูปแบบรถไฟฟ้าแบบ “โมโนเรล” หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
สามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก ประมาณ 28,000 คน/ทิศทาง ความเร็วของการเดินรถสูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมงทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม โดย รฟม. เป็นผู้กำกับการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 รฟม. ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ กับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทาน และได้เริ่มงานในระยะที่ 1 การดำเนินงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธา พร้อมติดตั้งระบบและขบวนรถไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2561 เป็นต้นมา รฟม. ได้กำกับดูแลการดำเนินงานของผู้รับสัมปทานอย่างใกล้ชิด รวมถึง การทดสอบการเดินรถในแต่ละระยะ เพื่อเตรียมความพร้อมของงานระบบรถไฟฟ้า
ทั้งนี้ คาดว่าจะเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ได้ช่วงปลายปี 2566 โดยพิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของแต่ละสถานีจนครบ 30 สถานี โดยยึดถือหลักความพร้อมของงานและความปลอดภัยต่อประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการในระบบรถไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญสูงสุด
ตามแผนงานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ จะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2567 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ นับเป็นโมโนเรลสายที่ 2 ของประเทศไทย ที่จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก ฝั่งเหนือ และจังหวัดนนทบุรี เข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองได้โดยสะดวก
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY