วันที่ 23 ตุลาคม 2566 มีรายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ (20 ต.ค. 66) ที่ผ่านมา นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ บัตรใบเดียวรักษาทุกที่ แบบ 100% จะเปิดให้บริการนำร่องโครงการใน 4 จังหวัดแรก ดังนี้ 1.จังหวัดนราธิวาส 2.จังหวัดเพชรบุรี 3.จังหวัดแพร่ 4.จังหวัดร้อยเอ็ด โดย นายแพทย์ชลน่าน เปิดเผยว่า จะมีการประกาศการนำร่อง โครงการบัตรใบเดียวรักษาทุกที่ อย่างเป็นทางการ ในวันจันทร์นี้ 24 ตุลาคม 2566 ที่จะถึงนี้
นายแพทย์ชลน่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า 4 จังหวัดดังกล่าว ที่จะเปิดนำร่องใช้บัตรประชาชนเพียงแค่ใบเดียวเข้ารับการรักษาได้ทั้งใน โรงพยาบาล และสถานพยาบาล ทุกสังกัด อาทิเช่น โรงพยาบาลภาครัฐ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลภาคเอกชน ซึ่งร่วมไปถึง คลินิก ร้านขายยา และแล็บวินิจฉัย เป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการประกาศ 27 จังหวัดนำร่อง สำหรับโครงการนี้ไปแล้ว เบื้องต้น ยังใช้ได้เฉพาะโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เท่านั้น
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู จ่อเปิด ธ.ค. นี้ เช็กเลยมีสถานนีไหน เชื่อมสายไหนบ้าง
- ทำความรู้จัก เรือฟริเกต ปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ ผิวน้ำ อากาศ ใต้น้ำ
- วิธีลงทะเบียน ‘เงินดิจิทัล 10000’ เงื่อนไขล่าสุด ซื้ออะไรได้บ้าง
โดยโครงการดังกล่าวอยู่ใน นโยบายการบริหารงานยกระดับ 30 บาทพลัส ผ่าน 13 ประเด็น สร้าง Quick Win ให้เห็นเป็นรูปธรรมใน 100 วันแรก ซึ่งประกอบไปด้วย
- โครงการพระราชดำริฯ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งจะมีการคัดกรองมะเร็งผู้ต้องขังทุกราย ในมะเร็งทุกชนิด
- 50 เขต 50 รพ. ในกรุงเทพและปริมณฑล จะนำร่องตั้งโรงพยาบาล 120 เตียงในเขตดอนเมือง โดยจะเริ่มให้มีการก่อสร้างขึ้น
- สุขภาพจิตและยาเสพติด จะมีการตั้งศูนย์ธัญญารักษ์ หรือมินิธัญญารักษ์ ทุกจังหวัด
- มะเร็งครบวงจร เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ในหญิงอายุ 11-20 ปี คือ ป.5 ถึง ปี 2 จำนวน 1 ล้านคน เปิดโครงการ 1 ล้านโดสในเดือนตุลาคมนี้ และจะมีการคัดกรอบพยาธิในตับจำนวน 1 แสนคนในภาคเหนือ และอีสาน และจะมี CANCER WARRIOR ในทุกจังหวัด
- สร้างขวัญกำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจะมีทีม Care D+ ในหน่วยบริการทุกระดับ โดยทีมนี้จะไปช่วยดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างญาติและผู้ให้บริการในสถานบริการ โดยเฉพาะที่ดูแลภาวะฉุกเฉิน หรือสถานบริการที่มีความแออัด ที่สำคัญจะประกาศบรรจุข้าราชการชำนาญการพิเศษครบทุกตำแหน่ง และได้รับสิทธิการเลื่อนเงินเดือนระหว่างได้สิทธิไปลาศึกษาต่อ
- การแพทย์ปฐมภูมิ จะมีการเดินหน้าโครงการเทเลเมดิซีน ระบบการแพทย์ทางไกล ใกล้บ้าน 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล รวมถึงอนามัยโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียน
- สาธารณสุขชายแดน และพื้นที่เฉพาะ มีการขึ้นทะเบียนเบิกจ่ายแบบเรียลไทม์ สำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ในกลุ่มประชากรเฉพาะ 5 จังหวัด
- สถานชีวาภิบาล จะประกาศตั้งสถานชีวาภิบาล จังหวัดละ 1 แห่ง หรือที่เรียกว่า โฮมวอร์ด (Home Ward) จังหวัดละ 1 แห่ง มีคลินิกผู้สูงอายุทุกโรงพยาบาล
- พัฒนาโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) แม่ข่าย เติมเต็มศักยภาพให้ รพช.ที่จะรับการดูแลในระดับทุติยภูมิ มีการกำหนดเป้าหมาย เพิ่มศักยภาพ วินิจฉัยโรคด้วยเครื่องซีที เครื่อง MRI
- ดิจิทัลสุขภาพ ประกาศการเข้าถึงบริการด้วยบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ทุกโรค รักษาฟรี นำร่อง 4 เขตสุขภาพ ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 1 เป็นเหนือตอนบน เขตสุขภาพที่ 4 เป็นพื้นที่ภาคกลาง เขตสุขภาพที่ 9 ภาคอีสานตอนใต้ และเขตสุขภาพที่ 12 เป็นพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
- ส่งเสริมการมีบุตร ผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ จะมีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรอย่างน้อย 1 จังหวัด 1 แห่ง ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเติมเต็มคัดกรองเด็ก 24 กลุ่มโรค และนโยบายใหม่จะเพิ่ม 40 กลุ่มโรค
- เศรษฐกิจสุขภาพ จะประกาศให้มี Wellness Community หรือ บลูโซน (Blue Zone) หรือเมืองที่คนอยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืน ทำให้ได้เขตสุขภาพละ 1 แห่ง หรือเติมเต็มบางแห่งที่มีความพร้อม
- นักท่องเที่ยวปลอดภัย เขตสุขภาพละ 1 แห่ง โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติประกาศจะทำ 1 เขต 1 สกายดอกเตอร์
สำหรับ 4 เขตสุขภาพ มีจำนวน 27 จังหวัด มีรายละเอียด ดังนี้
- เขตสุขภาพที่ 1 ครอบคลุม 8 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
- เขตสุขภาพที่ 4 ครอบคลุม 8จังหวัด สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี
- เขตสุขภาพที่ 9 ครอบคลุม 4จังหวัด นครราชสีมา ชุยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
- เขตสุขภาพที่ 12 ครอบคลุม7 จังหวัด พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY