บทลงโทษ! ห้ามจับปลาตะเพียน โดยพระเจ้าท้ายสระ ในพรหมลิขิต Ep12

Home » บทลงโทษ! ห้ามจับปลาตะเพียน โดยพระเจ้าท้ายสระ ในพรหมลิขิต Ep12
กฎหมายห้ามจับปลาตะเพียน-min

ที่มา สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โปรดเสวยปลา จนต้องออก กฎหมายห้ามจับปลาตะเพียน พร้อมเปิดบทลงโทษ หากราษฎรคนใดฝ่าฝืน

เรียกว่าทุกคืน จันทร์ – พุธ แฟนๆละครหลายบ้านหลายจังหวัดต่างเกาะจอรอละครเรื่อง พรหมลิขิต ที่ตอนนี้กำลังเข้าสู่เส้นเรื่องที่เข้มข้นเลยทีเดียว ทั้งในแง่ของการเมืองและแง่ของความรัก โดยเมื่อคืนนี้ใน EP.12 ต้องบอกว่ามีบางช่วงบางตอนที่คนดูหลายคนต่างสงสัยกับการที่ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ หรือ พระเจ้าท้ายสระ นั้นทรงถามความเห็นปรึกษาข้อราชการว่าหากตนจะตั้ง กฎหมายห้ามจับปลาตะเพียน ทุกคนมีความเห็นว่าอย่างไร ต้องเท้าความก่อนว่า พระเจ้าท้ายสระ นั้นโปรดเสวยและจับปลาตะเพียนอย่างมาก พระเจ้าท้ายสระจึงมีความคิดที่อยากจะออกกฎหมายข้อนี้ แต่สำหรับปลาอื่นๆพระองค์ทรงอนุญาตให้จับกินได้ตามสบาย

โดยรายละเอียดของกฎหมาย ห้ามจับปลาตะเพียน นั้นเคยระบุอยู่ใน พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม ซึ่งได้มีกล่าวถึงพระอุปนิสัยของ พระเจ้าท้ายสระ โดยมีความว่า “ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประพฤติเหตุในอโนดัปปธรรม แล้วเสด็จเที่ยวประพาสทรงเบ็ดเหมือนสมเด็จพระราชบิดา แล้วพระองค์พอพระทัยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้ามมิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเป็นอันขาด”

  • ประวัติ “พระเจ้าท้ายสระ” โอรสพระเจ้าเสือ อีกหนึ่งตัวละครลับที่สำคัญใน ‘พรหมลิขิต’
  • ประวัติ “พระยาราชนุกูล” (ทองคำ) หลานโกษาปาน มหาดเล็กคนสนิทในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
  • ไขข้อสงสัย! เจ้าฟ้าพร – เจ้าพระองค์ดำ ก่อกบฏต่อ พระเจ้าท้ายสระ จริงหรือ?

ซึ่งถ้าใครฝ่าฝืน ผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภค มีบทลงโทษคือปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท นั้นเอง

ทั้งนี้ ประวัติ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ หรือ พระเจ้าท้ายสระ นั้นเล่าว่า พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเพชร เสด็จพระราชสมภพเมื่อปีมะแม จุลศักราช 1040 (พ.ศ. 2221) ในรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าท้ายสระ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) กับพระอัครมเหสีพระนามว่าสมเด็จพระพันวษา

เมื่อ พระเจ้าเสือ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2251 จึงขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระนามว่าพระเจ้าภูมินทราชา แต่จารึกชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ออกพระนามว่า พระบาทพระศรีสรรเพชญสมเด็จเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว แต่ประชาชนมักออกพระนามว่าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งที่มาของพระนามนี้มาจากนามของพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง นั่นเอง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ