บทบรรณาธิการ – แนวโน้มการว่างงาน

Home » บทบรรณาธิการ – แนวโน้มการว่างงาน


บทบรรณาธิการ – แนวโน้มการว่างงาน

นาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจตลาดแรงงานผู้จบการศึกษาใหม่ พบว่าเป็นปัญหาที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว และซ้ำเติมด้วยการระบาดของเชื้อโควิด-19

ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก กลุ่มผู้ที่จบการศึกษาใหม่ว่างงานเพิ่มขึ้นมากในไตรมาส 2 ปี 2564 จำนวนถึง 2.9 แสนคน โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา

หากคิดเป็นอัตราการว่างงานปัจจุบันพบว่า กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปีว่างงานสูงถึง 7.2% มากกว่าอัตราการว่างงานของแรงงานทั้งหมด ซึ่งอยู่ที่ 1.6%

เพิ่มจำนวนขึ้นจากภาวะปกติเกือบ 1 แสนคน สะท้อนปัญหาตลาดแรงงาน คนรุ่นใหม่ที่จะเป็นแรงงานมีฝีมือใน ระยะข้างหน้า

อกจากนี้ ยังพบว่าการว่างงานในกลุ่มนี้ที่มีจำนวนมาก เพราะตำแหน่งงานไม่สอดคล้องกับทักษะ วุฒิการศึกษา และค่านิยม เนื่องจากตลาดต้องการกลุ่มแรงงานทั่วไปจบต่ำกว่าปริญญาตรี

ขณะที่หลายบริษัทขาดแคลนแรงงานทักษะด้านเทคโนโลยี อาทิ โปรแกรมเมอร์ และดาต้า แต่ผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ในกลุ่มการบริหารธุรกิจ กฎหมาย วิศวกรรม อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง

ดังนั้น การว่างงานของผู้จบใหม่จึงเป็นปัญหา และมีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบในระยะยาว โดยเฉพาะการเกิดช่องว่างของทักษะการทำงาน

หากยังว่างงานยาวนาน 2-3 ปี จะยิ่ง ส่งผลให้เข้าสู่ตลาดแรงงานยากขึ้นเนื่องจากมีกลุ่มจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานราวอีก 4-5 แสนคนในแต่ละปี ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตยิ่งน่ากังวล

ป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่การระบาดของ โควิด-19 ยังไม่พบว่ารัฐบาลมีแผนการรองรับผู้จบการศึกษาใหม่อย่างเป็นระบบ แม้ว่าภาคราชการจะเปิดรับคนเข้ารับการทำงานเพิ่มขึ้นก็ตาม

ขณะเดียวกัน ภาคเอกชน บริษัทธุรกิจ และห้างร้านต่างๆ ต่างก็ประสบปัญหาจากการระบาดของโรค จนต้องปิดกิจการ จำกัดการรับพนักงานใหม่ และใช้วิธีสมัครใจให้พนักงานลาออก

สิ่งที่น่ากังวลอย่างมากก็คือในแต่ละปีมีผู้จบการศึกษาใหม่ถึงประมาณปีละ 5 แสนคน ถ้าหากกลุ่มนี้ยังว่างงานสะสมต่อเนื่อง รัฐจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

ทางออกส่วนหนึ่งคือต้องส่งเสริมให้ประกอบอาชีพอิสระ สนับสนุนสตาร์ตอัพใหม่ๆ โดยเปิดให้เข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำโดยถ้วนหน้าอย่างแท้จริง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ