"น้ำผลไม้" ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างที่ใคร ๆ เขาว่ากันหรือไม่ ?

Home » "น้ำผลไม้" ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างที่ใคร ๆ เขาว่ากันหรือไม่ ?
"น้ำผลไม้" ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างที่ใคร ๆ เขาว่ากันหรือไม่ ?

น้ำผลไม้ เป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่ม ที่หลายๆ คนมักมองว่าดีต่อสุขภาพ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลไม้ ที่ถือว่าเป็นอาหารสุขภาพ แต่น้ำผลไม้นั้น จริง ๆ แล้วดีต่อสุขภาพอย่างที่หลาย ๆ คนคิดกันไว้หรือเปล่า บทความนี้ทาง Hello คุณหมอ มาพร้อมข้อมูลที่จะมาช่วยไขข้อสงสัยทุกคนว่า ตกลงแล้วน้ำผลไม้นั้น ดีจริงหรือไม่

ความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำผลไม้ กับน้ำตาล ?

นักวิจัยการแพทย์สองคนได้เขียนในวารสาร The Lancet ว่า ปริมาณน้ำตาลที่สูงในน้ำผลไม้ นั้นอาจจะไม่ดีกับร่างกายพอ ๆ กับเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลมและเครื่องดื่มโซดารูปแบบต่าง ๆ

น้ำผลไม้นั้นจริงๆ แล้วไม่ดีต่อสุขภาพเพราะมันมีปริมาณน้ำตาลธรรมชาติที่เรียกว่า ฟรุกโตส (Fructose) ในปริมาณที่สูง ซึ่งหลายๆ ความเชื่อ นั้นได้อ้างอิงเกี่ยวกับรายงานความอันตรายของสารให้ความหวานจากข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง หรือ High Fructose Corn Syrup (HFCS) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่ทำมาจากแป้งข้าวโพด โดยจะทำให้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติถึง 2 เท่า หากร่างกายได้รับ สารให้ความหวานจากข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง จะส่งผลต่อการดื้ออินซูลิน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน

ถึงแม้ว่าน้ำผลไม้จะมีฟรุกโตสเช่นเดียวกันกับ HFCS แต่น้ำผลไม้ก็ยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าน้ำอัดลม ไม่ใช่เพียงน้ำหวาน ๆ แบบน้ำอัดลมที่ไม่มีสารอาหารอยู่เลย ดังนั้นน้ำผลไม้สามารถให้สารอาหารต่อร่างกายได้เสมือนการรับประทานผลไม้เป็นลูก ๆ เพียงแต่จะไม่มีไฟเบอร์ แต่การที่น้ำผลไม้ไม่มีไฟเบอร์ นั้นจะทำให้ผู้ที่บริโภคไม่รู้สึกอิ่ม จึงมีโอกาสที่จะทำให้บริโภคน้ำผลไม้เข้าไปในปริมาณมาก ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลอรี่และฟรุกโตสในจำนวนมาก จนเกินความจำเป็นและจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงและมีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

น้ำตาลฟรุกโตสใน น้ำผลไม้ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ?

น้ำตาลฟรุกโตสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่ได้จากธรรมชาติพบได้ทั่วไปในผลไม้ น้ำผึ้ง และผัก ซึ่งน้ำตาลฟรุกโตสเป็นน้ำตาล ที่ต้องมีการแปลงโดยตับเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน แล้วนำไปใช้กับร่างกาย แต่การได้รับฟรุกโตส มากเกินไปจะส่งผลให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายให้มีความผิดปกติ

หากเรารับประทานฟรุกโตสมากเกินไป ตับก็จะทำงานหนักเกินไป และอาจมีการเปลี่ยนฟรุกโตสไปเป็นไขมันแทนการเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน และส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง

ผลกระทบของการได้รับน้ำตาลฟรุกโตสมากเกินไป การบริโภคน้ำตาลฟรุกโตสมาก จะเพิ่มระดับกรดยูริกในเลือด ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นโรคเกาต์และความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ และนำไปสู่โรคไขมันพอกตับ เกิดการดื้ออินซูลิน ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งทำให้เกิดการสะสมไขมันในอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึง หัวใจด้วย ทำให้เป็นส่วนหนึ่งในการเกิดโรคหัวใจ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ