นายกฯ นัดประชุม ก.ตร. เลือก ผบ.ตร.คนที่15 คาดเสนอชื่อ ‘บิ๊กต่าย’ 7 ต.ค.

Home » นายกฯ นัดประชุม ก.ตร. เลือก ผบ.ตร.คนที่15 คาดเสนอชื่อ ‘บิ๊กต่าย’ 7 ต.ค.

นายก นัดประชุม เลือก ผบ.ตร. คนที่ 15-min

นายกแพทองธาร เตรียมเรียกประชุม ก.ตร. นั่งหัวโต๊ะ เลือก ‘ผบ.ตร. คนที่ 15’ แทน พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ คาดเสนอชื่อ ‘พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์’

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2567 ได้รับรายงานว่า ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีรายงานว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจวาระพิเศษ ในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ ณ ห้องประชุมศรียานนท์ โดยมีวาระคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ แทน พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ สุขวิมล ที่จะเกษียณอายุราชการ

โดยคาดว่าจะมีการเสนอชื่อ รอง ผบ.ตร. อาวุโสลำดับ 1 ขึ้นเป็น ผบ.ตร. จากผู้ที่มีชื่อเข้าข่ายได้รับการแต่งตั้ง 3 คน ได้แก่
– พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. อาวุโสลำดับ 1
– พล.ต.อ. ไกรบุญ ทรวดทรง จเรตำรวจแห่งชาติ อาวุโสลำดับ 2
– พล.ต.อ. ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. อาวุโสลำดับ 3

สำหรับเหตุผลที่นายกฯ จะเสนอชื่อ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ ที่ครองอาวุโสและทำหน้าที่รักษาการ ผบ.ตร. เพื่อสานต่อนโยบายยาเสพติดของรัฐบาล และปราบปรามการหลอกลวงออนไลน์ได้ดี ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ สายตำรวจ ได้แก่ พล.ต.อ. วินัย ทองสอง, พล.ต.อ. เอก อังสนานนท์ และ พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก เนื่องจากบทเรียนการประชุม ก.ตร. วาระแต่งตั้ง ผบ.ตร. ในปีที่ผ่านมา การเสนอชื่อ พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ ที่อาวุโสลำดับสุดท้ายข้ามมาเป็น ผบ.ตร. เป็นเรื่องถูกฟ้องร้องที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ปี 2567 จะเป็นการแต่งตั้งตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ครั้งแรก โดยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566 นายกฯ ได้ลงนาม และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 จะมีผลบังคับใช้ 180 วันหลังจากนั้น หมายความว่ากฎ ก.ตร. ฉบับนี้จะมีผลหลังวันที่ 2 ตุลาคมนี้

  • อุบัติเหตุสยอง! รถไฟชนรถเก๋ง จุดตัดทางรถไฟ บ้านบางแหลม เจ็บ 2 ดับ 2
  • สลดใจ! เด็ก ม.3 วางแผน ลวงเพื่อนรวมชั้นไปฆ่า หลังโดนด่าพ่อล้อแม่ ที่ รร.
  • หนุ่มเซ็ง! ซื้อตั๋วรถไฟ หวังกลับบ้าน แต่โดนไล่ที่กลางทาง ด้วยเหตุผลสุดงง

“ในการพิจารณาคัดเลือก ผบ.ตร. ซึ่งหลักเกณฑ์ตามกฎหมายให้คำนึงถึงอาวุโส ความรู้ ความสามารถ งานสืบสวนสอบสวน และงานป้องกันปราบปราม ส่วนตัวพิจารณาอาวุโส ความรู้ ความสามารถ เป็นลำดับต้นๆ ให้ความสำคัญคนที่อาวุโสที่ 1 มีความรู้ ความสามารถ หากจะข้ามไปในระดับรองลงมาต้องมีบันทึกเหตุผล ปีที่ผ่านมาพิจารณาอาวุโสสุดท้ายขึ้นมาจึงมีปัญหาฟ้องร้องและร้องเรียน” พล.ต.อ. เอก กล่าว

สำหรับ ขั้นตอนการคัดเลือก ผบ.ตร. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 78 ระบุว่า ให้นายกฯ คัดเลือกรายชื่อเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยระหว่างที่พิจารณาวาระดังกล่าว พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ, พล.ต.อ. ไกรบุญ และ พล.ต.อ. ธนา จะต้องออกจากห้องประชุม เนื่องจากถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย องค์ประชุมจึงมีเพียงนายกฯ ในฐานะประธาน และคณะกรรมการ

สำหรับประวัติ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ-พันธุ์เพ็ชร์-min

จบการศึกษานักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 25 รุ่นเดียวกับ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 41 รุ่นเดียวกับ พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, พล.ต.ท. อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.อ. กรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วย ผบ.ตร. โดย พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ จะเกษียณอายุราชการในปี 2569

งานที่เรียกว่าเป็นการเปิดตัวและทำให้เป็นที่รู้จักของสาธารณชนคือการดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทน ผบ.ตร. เป็นระยะเวลานาน 3 เดือน ตลอดเวลาดังกล่าวได้มีความพยายามกอบกู้ภาพลักษณ์ หลังประชาชนหมดศรัทธาในองค์กรตำรวจ โดยเน้นส่งสารผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อแทบทุกครั้งจะเน้นไปที่การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ