พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค สัปดาห์ที่ 4 เดือน มี.ค. 66 เปรียบเทียบสัปดาห์ก่อนหน้า พบสินค้าสำคัญมีทั้งราคาปรับเพิ่มขึ้นและลดลงตามกลไกตลาด พร้อมรับทราบการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์การค้าหลังสงกรานต์ของกรมการค้าภายใน พบว่าราคาสินค้ายังทรงตัว โดยนายกฯ กำชับกระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน ให้มีการควบคุมต้นทุนราคาสินค้าเกษตรและสินค้าจำเป็น ทั้งผักสด เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่อย่างใกล้ชิด
กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานสรุปสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภครายสัปดาห์ ประจำสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน มี.ค. 66 ซึ่งมีสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน มี.ค. 66
- สลด! เด็กวัย 17 หายตัวออกไปเล่นว่าว ล่าสุด โดนฟ้าผ่าเสียชีวิต
- พ่อ จีจี้ สุพิชา เล่าทั้งน้ำตา เผยเรื่องเหนือธรรมชาติ กับเหตุการณ์แบบนี้
- ป๊าดติโท้! วัยรุ่นท่อใหญ่ ออกซิ่งสงกรานต์ ชาวเน็ตแซว นึกว่าหม้อก๋วยเตี๋ยว
สินค้าสำคัญที่มีราคาเพิ่มขึ้น
1. ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก ตันละ 11,500 – 12,200 บาท เป็น ตันละ 11,500 – 12,400 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก ตันละ 9,700 – 10,000 บาท เป็น ตันละ 9,700 – 10,100 บาท เนื่องจากผู้ประกอบการมีความต้องการรับซื้อข้าวเพื่อแปรสภาพและส่งมอบให้กับคู่ค้า จึงเสนอราคารับซื้อสูงขึ้น
2. มันสำปะหลัง (หัวมันสดเชื้อแป้ง 25%) ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 3.45 บาท เป็น กก.ละ 3.48 บาท เนื่องจากผลผลิตในพื้นที่ออกสู่ตลาดลดลง ผู้ประกอบการจึงปรับราคารับซื้อสูงขึ้น
3. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (โรงงานอาหารสัตว์ ชนิดเมล็ดความชื้น 14.5%) ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก กก. ละ 12.38 บาท เป็น กก.ละ 12.53 บาท เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ผู้ประกอบการจึงปรับราคารับซื้อสูงขึ้นเพื่อเก็บสต็อก
4. ไข่ไก่ ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก ฟองละ 3.80 – 4.00 บาท เป็น ฟองละ 4.00 – 4.20 บาท ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง จากความร่วมมือของผู้ประกอบการปลดไก่ตามช่วงอายุของกรมปศุสัตว์ เพื่อลดปริมาณไข่ไก่สะสมในระบบ รวมทั้งต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. พริกขี้หนูจินดา ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 60 – 80 บาท เป็น กก.ละ 70 – 90 บาท เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต
ด้านสินค้าสำคัญที่มีราคาลดลง
1. ผลปาล์มน้ำมัน (น้ำมัน 18%) ราคาปรับตัวลดลงจาก กก.ละ 5.50 – 6.20 บาท เป็น กก.ละ 5.00 – 5.90 บาท เนื่องจากภาวะการค้าน้ำมันปาล์มดิบชะลอตัว จากปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศอยู่ในระดับสูง ผู้ประกอบการมีสต็อกเพียงพอต่อความต้องการใช้ ประกอบกับราคาตลาดต่างประเทศปรับลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
2. ผักกาดขาว ราคาปรับตัวลดลงจาก กก.ละ 25 – 30 บาท ในสัปดาห์ก่อน เป็น กก.ละ 20 – 25 บาท เนื่องจากผลผลิตรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
3. น้ำมันปาล์ม (ขวด 1 ลิตร) ราคาปรับตัวลดลงจาก ขวดละ 44 – 48 บาท เป็น ขวดละ 44 – 47 บาท และน้ำมันถั่วเหลือง (ขวด 1 ลิตร) ราคาปรับตัวลดลงจากขวดละ 60 – 66 บาท เป็น ขวดละ 60 – 63 บาท ตามราคาวัถตุดิบ
4. น้ำมันดีเซล ราคาปรับตัวลดลงจาก ลิตรละ 33.99 บาท ในสัปดาห์ก่อน เป็น ลิตรละ 33.89 บาท ตามมติของคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา รองอธิบดีกรมการค้าภายในและคณะ ได้ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์การค้าที่ห้างสรรพสินค้าใน จ.นนทบุรี พบว่าตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 66 เป็นต้นมา ประชาชนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันมากตามปกติ หลังจากที่ได้เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด โดย ราคาสินค้ายังคงทรงตัว กลุ่มอาหารสด เช่น
หมูเนื้อแดง ราคา กก.ละ 127-129 บาท
น่องไก่ติดสะโพก กก.ละ 69 บาท
ไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาฟองละ 3.7 บาท
กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ เช่น ข้าวสารบรรจุถุง น้ำมันพืช ซอสปรุงรส อาหารกระป๋อง นม นมข้นหวาน/นมข้นจืด สบู่ แชมพู ครีมอาบน้ำ ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ไม่มีการปรับขึ้นราคา
“นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค อย่างต่อเนื่อง โดยราคาสินค้าหลายรายการเป็นไปตามกลไกตลาด ปรับขึ้นหรือลดลงตามอุปสงค์-อุปทาน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกำชับให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน และพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นต่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน ให้มีการควบคุมต้นทุนราคาสินค้าเกษตร สินค้าจำเป็น ทั้งผักสด เนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่ไก่อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แม้จะมีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศบางประการที่มีผลต่อต้นทุนสินค้า เช่น ต้นทุนวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา แต่ละประเภทสินค้า ค่าจ้างแรงงาน และต้นทุนด้านพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน เป็นต้น แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ช่วยบรรเทาภาระต้นทุนของผู้ประกอบการได้ส่วนหนึ่ง เช่น ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงกลางปี 2565 และราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับลดลงจากช่วงเดือน ก.ค. 65 ที่ราคา 35 บาท/ลิตร เป็น 33 บาท/ลิตร ในขณะนี้ ดังนั้น เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนและช่วยกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น กรมการค้าภายในได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าจำเป็นต่าง ๆ ในการตรึงราคาสินค้าออกไปก่อน โดยกรมการค้าภายในจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป” นายอนุชา กล่าว
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY