นักวิทย์จีนพัฒนา อัยการ “เอไอ” แจ้งข้อหาความผิดอาญาทั่วไปได้เอง แม่นยำ 97%

Home » นักวิทย์จีนพัฒนา อัยการ “เอไอ” แจ้งข้อหาความผิดอาญาทั่วไปได้เอง แม่นยำ 97%


นักวิทย์จีนพัฒนา อัยการ “เอไอ” แจ้งข้อหาความผิดอาญาทั่วไปได้เอง แม่นยำ 97%

นักวิทย์จีนพัฒนา – เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จีนพัฒนา อัยการปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่สามารถแจ้งข้อหาด้วยตัวเองได้

คณะนักวิจัยกล่าวว่า จนถึงตอนนี้ อัยการเอไอสามารถระบุอาชญากรรมทั่วไปได้ 8 ประเภท เช่น การฉ้อโกง การพนัน การขับรถอันตราย และการทะเลาะเบาะแว้ง ขณะที่พนักงานอัยการอัยการในจีนใช้อัยการเอไอเพื่อประเมินหลักฐานและประเมินว่าผู้ต้องสงสัยเป็นอันตรายต่อสาธารณะแค่ไหน

…………..

คณะนักวิจัยในจีนระบุว่าประสบความสำเร็จครั้งแรกในโลกด้วยการพัฒนาเครื่องจักรที่สามารถตั้งข้อหาอาชญากรโดยใช้เอไอได้ โดยอัยการเอไอสามารถฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้อย่างแม่นยำมากกว่าร้อยละ 97 โดยอิงจากคำอธิบายด้วยวาจาของคดี

อัยการเอไอสร้างและทดสอบโดยสำนักงานอัยการของประชาชนเขตผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นสำนักงานอัยการเขตใหญ่สุดและมีคนมากสุดของประเทศ

ศาสตราจารย์ชี หยง ผู้อำนวยการห้องทดลองการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการจัดการความรู้ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการจัดการความรู้และข้อมูลขนาดใหญ่ ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการอัยการเอไอ ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถลดภาระงานประจำวันของพนักงานอัยการ ส่งผลให้พนักงานอัยการมุ่งความสำคัญไปที่งานที่ยากกว่า

…………..

ศ.ชีและคณะนักวิจัยร่วมระบุในเอกสารที่ตีพิมพ์เดือนนี้ในวารสาร Management Review ของจีน ซึ่งตีพิมพ์งานวิชาการที่ผ่านพิชญพิจารณ์ (peer review) แล้วว่า “ระบบดังกล่าวสามารถแทนที่พนักงานอัยการในกระบวนการตัดสินใจได้ในระดับหนึ่ง”

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอไอในการบังคับใช้กฎหมายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก เช่น พนักงานอัยการเยอรมนีที่บางคนใช้เทคโนโลยีเอไอ เช่น การจดจำภาพและนิติดิจิตอเพื่อเพิ่มความเร็วและความแม่นยำในการประมวลผลคดี

ส่วนพนักงานอัยการของจีนเป็นผู้เริ่มใช้งานในช่วงต้นเมื่อเริ่มใช้เอไอในปี 2559 โดยหลายคนใช้เครื่องมือเอไอที่รู้จักกันในชื่อ ระบบ 206 (System 206) ซึ่งสามารถประเมินได้ ทั้งน้ำหนักของหลักฐาน เงื่อนไขในการจับกุม และการพิจารณาว่าผู้ต้องสงสัยมีอันตรายต่อสาธารณะเพียงใดได้

…………..

อย่างไรก็ตาม ศ.ชีและคณะนักวิจัยร่วมกล่าวว่า เครื่องมือเอไอที่มีอยู่ทั้งหมดมีบทบาทจำกัด เนื่องจากไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการยื่นฟ้องและเสนอคำพิพากษา การตัดสินใจดังกล่าวจะต้องใช้เครื่อง

การตัดสินใจดังกล่าวจะต้องใช้เครื่องในการระบุและลบเนื้อหาใดๆ ของแฟ้มคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม โดยไม่ต้องลบข้อมูลที่เป็นประโยชน์

อัยการเอไอยังต้องแปลงภาษามนุษย์ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นรูปแบบทางคณิตศาสตร์หรือเรขาคณิตมาตรฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้

บริษัทอินเตอร์เน็ตของจีนพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ แต่การดำเนินงานมักต้องการคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่พนักงานอัยการไม่สามารถเข้าถึงได้

…………..

อัยการเอไอที่พัฒนาโดยศ.ชีสามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้ และสำหรับผู้ต้องสงสัยแต่ละคน อัยการเอไอจะแจ้งข้อหาตามลักษณะ 1,000 อย่าง (1,000 traits) ที่ได้รับจากข้อความคำอธิบายคดีที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กเกินไปหรือเป็นนามธรรมเกินกว่าจะเข้าใจได้สำหรับมนุษย์ จากนั้น ระบบ 206 จะประเมินหลักฐาน

อัยการเอไอได้รับการฝึกฝนโดยใช้มากกว่า 17,000 คดีตั้งแต่ปี 2558 และ 2563 และจนถึงขณะนี้ อัยการเอไอสามารถระบุและแจ้งข้อหาสำหรับอาชญากรรมที่พบบ่อยที่สุด 8 ประเภทของนครเซี่ยงไฮ้ ได้แก่

การฉ้อโกงบัตรเครดิต, การดำเนินการเกี่ยวกับการพนัน, การขับรถอันตราย, การบาดเจ็บชนิดตั้งใจ, การขัดขวางหน้าที่ราชการ, โจรกรรม, การฉ้อโกง และการเลือกทะเลาะวิวาทและก่อให้เกิดปัญหา – ข้ข้อหาทั้งหมดมักใช้อัยการเอไอเพื่อระงับความขัดแย้ง

ศ.ลีและคณะนักวิจัยร่วมกล่าวว่า อัยการเอไอจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการอัพเกรดในไม่ช้า จะสามารถระบุอาชญากรรมทั่วไปได้น้อยลงและยื่นฟ้องผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งหลายข้อหา

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะพบการใช้งานด้านอื่นหรือหรือไม่และเมื่อใด

…………..

ด้านพนักงานอัยการในเมืองกวางโจว ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อเนื่องจากความละเอียดอ่อนของประเด็นดังกล่าว แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้อัยการเอไอในการยื่นฟ้องคดี

“ความแม่นยำร้อยละ 97 อาจเป็นตัวเลขที่สูงจากมุมมองทางเทคโนโลยี แต่จะมีโอกาสผิดพลาดอยู่เสมอ” และว่า “ใครจะรับผิดชอบเมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น อัยการ เครื่องจักร หรือผู้ออกแบบอัลกอริทึม”

พนักงานอัยการในเมืองกวางโจวระบุด้วยว่า การมีส่วนร่วมโดยตรงของอัยการเอไอในการตัดสินใจอาจส่งผลต่อความเป็นอิสระของพนักงานอัยการ พนักงานอัยการส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้นักคอมพิวเตอร์ “เข้าไปยุ่ง” ในการตัดสินทางกฎหมาย

…………..

ปัญหาอีกประการหนึ่งคือว่า อัยการเอไอสามารถยื่นฟ้องคดีอาญาได้ตามประสบการณ์ก่อนหน้าของมันเท่านั้น ไม่สามารถคาดการณ์ปฏิกิริยาของสาธารณชนต่อคดีในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

“เอไออาจช่วยตรวจจับความผิดพลาด แต่ไม่สามารถแทนที่มนุษย์ในการตัดสินใจได้อยู่ดี” พนักงานอัยการนิรนามกล่าว

…………..

อย่างไรก็ตาม จีนกำลังใช้เอไอในเชิงรุกในเกือบทุกภาคส่วนของรัฐบาล เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดทุจริต และเสริมสร้างการควบคุม

นักวิจัยที่เกี่ยวข้องระบุว่า บางเมืองในจีนใช้เครื่องจักรต่างๆ เพื่อตรวจสอบวงสังคมและกิจกรรมพนักงานรัฐบาลในการตรวจจับทุจริต

ศาลจีนหลายแห่งใช้เอไอเพื่อช่วยผู้พิพากษาในการประมวลผลแฟ้มคดีและตัดสินใจ เช่น จะยอมรับหรือปฏิเสธอุทธรณ์

เรือนจำในจีนส่วนใหญ่ยังใช้เทคโนโลยีเอไอเพื่อติดตามสถานะทางร่างกายและจิตใจผู้ต้องขัง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ