นศ. ม.เอกชนชื่อดัง ล้มพับเป็นลม 11 คน ขณะซ้อมเต้นรับน้อง

Home » นศ. ม.เอกชนชื่อดัง ล้มพับเป็นลม 11 คน ขณะซ้อมเต้นรับน้อง

เป็นลม-min

เป็นไปได้ไง!? นักศึกษา 11 คน ม.เอกชนชื่อดัง เป็นลมพร้อมกัน เหตุเพราะรับน้องใหม่ จนท.เร่งปฐมพยาบาล ก่อนนำส่ง รพ.

วันที่ 25 ก.ค. 2567 เมื่อเวลา 00.10 น. ตำรวจ สน.บางเขน ได้รับแจ้งเหตุมีนักศึกษาหมดสติหลายราย ภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ย่านบางบัว ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ จึงรุดไปตรวจสอบพื้นที่พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กู้ภัย สำนักงานการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร และอาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

รับน้องจนเป็นลม

บริเวณที่เกิดเหตุเป็นตึกที่ 9 อาคาร 30 บริเวณชั้นที่ 1 พบลักษณะเป็นห้องกระจกโล่ง พบนักศึกษาทั้งชายและหญิง สภาพนอนเป็นลมหมดสติกว่า 10 คน หน่วยกู้ชีพฯจึงเข้าช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนลำเลียงผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง

  • เจ้าของถูกปรับ 4 หมื่นบาท สั่งห้ามเลี้ยงสุนัข 1 ปี เพราะทำน้องอ้วนจนตาย
  • สารวัตร หัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถูกสั่งให้ออก จากราชการไว้ก่อน
  • สตช. แถลงปม เสื้อเกราะตร. รับ! ซื้อมาจริง แต่ยกเลิกใช้งาน มาแล้ว 8 ปี

จากการสอบถามกลุ่มนักศึกษา ให้การว่า มาทำกิจกรรมซ้อมเต้นรำเพื่อจะรับน้องใหม่ซ้อมตั้งแต่เวลาช่วง 5 โมงเย็น ภายในห้องสถานที่ซ้อมนั้นเป็นห้องแอร์ มีนักศึกษาชายและหญิง ร่วมซ้อมเต้นรำกันประมาณ 30-40 คน โดยกิจกรรมดังกล่าวจะมีรุ่นพี่คอยดูแลอยู่ตลอด

จนถึงช่วงเวลาประมาณ 21.30 น. จู่ๆนักศึกษาก็เกิดอาการเป็นลมล้มลงหมดสติ เพื่อน ๆ นักศึกษาจึงรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือ คาดว่าเป็นเพราะ จู่ ๆ ทางฝ่ายอาคารของมหาลัย ได้ปิดแอร์บริเวณตึกดังกล่าวรวมไปถึงห้องซ้อมเต้น จึงคาดว่าอาจทำให้กลุ่มนักศึกษาที่อยู่ในห้องเกิดอาการร้อนและขาดอากาศหายใจก่อนเป็นลมหมดสติไป

โดยผู้ป่วยเป็นหญิง 10 คน และชาย 1 คน มีรักษาตัวที่โรงพยาบาลเปาโลเกษตร จำนวน 4 ราย เป็นหญิงอายุประมาณ 18-22 ปี โรงพยาบาลวิภาวดีเป็นหญิง 1 ราย อายุ 19 ปี และโรงพยาบาลซีจีเอชพหลโยธิน 6 ราย เป็น ชาย 1 ราย หญิง 5 ราย อายุประมาณ 18-22 ปีรวมทั้งหมด 11 ราย

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่กู้ชีพฯระบุว่า อาการเบื้องต้นคือ ภาวะไฮเปอร์เวนทิเลชั่น (Hyperventilation) คืออาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน ทำให้เกิดอาการชาปลายมือปลายเท้า หรือมือเท้าจีบเกร็ง ซึ่งอาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นเมื่อมีความเครียด วิตกกังวล หรือกดดันหนักมากเกินไป ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่อาจส่งผลรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ