ทีมวิจัยนานาชาติค้นพบ “ระบบดาวคู่” หายาก-หมุนโยกเหมือนลูกข่าง

Home » ทีมวิจัยนานาชาติค้นพบ “ระบบดาวคู่” หายาก-หมุนโยกเหมือนลูกข่าง



ทีมวิจัยนานาชาติค้นพบ “ระบบดาวคู่” หายาก-หมุนโยกเหมือนลูกข่าง

ทีมวิจัยนานาชาติค้นพบ – ซินหัว รายงานว่าทีมวิจัยนานาชาติประกาศการค้นพบตัวอย่าง “ระบบดาวคู่” (binary star) หายากเพิ่ม 2 ระบบ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ศูนย์กลางสองดวงที่โคจรรอบกันในจักรวาล

จากการเผยแพร่ผ่านวารสารดิ แอสโตรฟิสิคอล เจอร์นัล เลตเตอร์ส นายจู เหว่ย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิงหัว ระบุว่าระบบดาวคู่ 2 ระบบ ชื่อ “เบอร์นาร์ด-1” (Bernhard-1) และ “เบอร์นาร์ด-2” (Bernhard-2) ถูกโอบล้อมด้วยจานก๊าซและฝุ่นละอองที่ทำมุมกับวงโคจรของดาวฤกษ์ศูนย์กลาง

ทีมวิจัยนานาชาติค้นพบ

An illustration provided by the research team shows a binary star system. The two systems, designated Bernhard-1 and Bernhard-2, are each surrounded by an unusual disk of gas and dust that lies at an angle to the orbits of the central stars, according to Zhu Wei with the Tsinghua University who leads the international team. The findings were published in the Astrophysical Journal Letters. (Xinhua)

โดยก๊าซหนาแน่นรอบระบบดาวหรือจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanetary disk) มักอยู่ในระนาบการโคจรเดียวกับดาวฤกษ์ เหมือนกับดาวเคราะห์และดาวบริวารส่วนใหญ่ในระบบสุริยะที่มีระนาบการโคจรเดียวกัน

อย่างไรก็ดี นายจูกล่าวว่าระบบดาวคู่ที่เพิ่งค้นพบใหม่นี้เป็นชนิดหายากที่มีจานวงแหวนรอบดาวอยู่ทำมุมกับระนาบของดาวฤกษ์ที่โคจรรอบ และจานจะโยกคล้ายกับลูกข่างที่กำลังหมุนเนื่องจากมีมุมเอียง จานดังกล่าวจะเคลื่อนที่ระหว่างโลกและดาวฤกษ์คู่ขณะโยกนานหลายทศวรรษ ทำให้ความสว่างของดาวฤกษ์คู่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ทีมวิจัยนานาชาติค้นพบ

ภาพประกอบ: The surrounding dense gas, or protoplanetary disk, usually lies in the same orbital plane as the stars, just as most of the planets and moons in the solar system have the same orbital plane. However, the newly discovered binary star systems are of a rare type, in which a circumstellar disk lies at an angle to the plane of the orbiting stars, adding that the disk wobbles like a spinning top because of the tilt. /University of Warwick/Mark Garlick/

ผลการวิจัยพบว่าเมื่อมองจากโลก ระบบดาวคู่จะมืดลงขณะดาวฤกษ์ดวงหนึ่งโคจรไปด้านหลังจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด โดยความสว่างของระบบดาวคู่จะกลับสู่ระดับปกติเมื่อสามารถสังเกตเห็นได้อีกครั้งบนโลก โดยการหรี่แสงของระบบเบอร์นาร์ด-1 เกิดนาน 112 วัน ในทุก 192 วัน และระบบเบอร์นาร์ด-2 เกิดนาน 20 วันในทุก 62 วัน

นายจูเผยอีกว่าระบบดาวคู่ 2 ระบบ อยู่ห่างจากโลก 3,000-10,000 ปีแสง และการค้นพบดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจการก่อตัวของดาวเคราะห์ โดยผลการศึกษานี้ดำเนินการร่วมกับนักดาราศาสตร์มืออาชีพและมือสมัครเล่นหลายคน รวมถึงคณะนักวิจัยจากจีนและต่างประเทศ

ทีมวิจัยนานาชาติค้นพบ

ภาพประกอบ: The two binary star systems are located 3,000-10,000 light-years from Earth, and the discovery of the systems is of great importance to understanding planet formation. source: doi.org/czkk

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • จีนทุบสถิติพบ “ดาวฤกษ์ยังไม่วิวัฒนาการ” 9 ดวงใหม่-อัดแน่นไปด้วยลิเธียม
  • พบ “กรดอะมิโน” จากดาวเคราะห์น้อย “ริวกุ” ห่างจากโลก 300 ล้านกิโลฯ
  • กล้องโทรทรรศน์จีนใน “แอนตาร์กติกา” เริ่มสำรวจหา “ดาวเคราะห์คล้ายโลก”

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ