ทีมนักวิทย์ถอดรหัสจีโนม “เหมิงจื้อเหริน” มนุษย์โบราณอายุ 14,000 ปี
ทีมนักวิทย์ถอดรหัสจีโนม – ซินหัว รายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยข้อมูลจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมของ มนุษย์ยุคไพลสโตซีนตอนปลาย จากภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผ่านวารสารเคอร์เรนท์ ไบโอโลจี ฉบับออนไลน์
คณะนักวิทยาศาสตร์จัดลำดับข้อมูลทางพันธุกรรมจากซากร่างชาว “เหมิงจื้อเหริน” อายุ 14,000 ปี ซึ่งถูกค้นพบในปี 2532 จากถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองเหมิงจื้อของมณฑลยูนนาน โดยการขุดสำรวจถ้ำดังกล่าวยังพบฟอสซิลมนุษย์มากกว่า 30 ชิ้น รวมถึงฟอสซิลสัตว์ เช่น กวางแดง ลิงแม็กแคก และหมีดำ

A drawing provided by Kunming Institute of Zoology under the Chinese Academy of Sciences shows the reconstruction of a female “Mengzi Ren (MZR)” and her living environment. Scientists have unveiled a Late Pleistocene human genome from southwest China. Their findings were published online in the journal Current Biology on Thursday night. (Kunming Institute of Zoology under the Chinese Academy of Sciences/Handout via Xinhua)
หากรวมกับข้อมูลที่มีอยู่เดิม บรรดาผู้เชี่ยวชาญพบการแบ่งชั้นทางพันธุกรรมชัดเจนในประชากรยุคโบราณทางใต้ของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความแตกต่างระหว่างภูมิภาคตอนใต้กับตอนเหนือช่วงปลายยุคไพลสโตซีน โดยชาวเหมิงจื้อเหรินถูกระบุเป็นคนที่อยู่ในทางใต้ของเอเชียตะวันออกที่มีพันธุกรรมสอดคล้องกับประชากรยุคปัจจุบัน
นายจาง เสี่ยวหมิง ผู้เขียนผลการศึกษาและนักวิจัยประจำสถาบันสัตววิทยาคุนหมิง สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ระบุว่าผลวิจัยทางมานุษยวิทยากายภาพของกะโหลกมนุษย์ที่ขุดพบ บ่งชี้ว่าเจ้าของกะโหลกเป็นหญิงสาวสูงราว 155 เซนติเมตร และหนัก 46 กิโลกรัม ใช้ชีวิตด้วยการล่าสัตว์และรวบรวมอาหารเมื่อประมาณ 14,000 ปีก่อน
คณะนักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวว่าชาวเหมิงจื้อเหรินมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับชนพื้นเมืองอเมริกันกลุ่มแรก คาดว่ามนุษย์โบราณที่อาศัยอยู่ในถ้ำแถบทางใต้ของเอเชียตะวันออกเริ่มอพยพขึ้นเหนือเมื่ออากาศอบอุ่น และอาจมีเส้นทางอพยพตามแนวชายฝั่ง ซึ่งบางส่วนอาจข้ามช่องแคบแบริงและไปจนถึงอเมริกา

Undated photo provided by Yunnan Institute of Cultural Relics and Archaeology shows a cave where the remains of the “Mengzi Ren (MZR)” are unearthed, in Mengzi, southwest China’s Yunnan Province. (Yunnan Institute of Cultural Relics and Archaeology/Handout via Xinhua)

Undated photo provided by Mengzi Institute of Cultural Relics shows the skull of Mengzi Ren (MZR) in Mengzi, southwest China’s Yunnan Province. (Mengzi Institute of Cultural Relics/Handout via Xinhua)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- มนุษย์โบราณนีแอนเดอร์ทัลถักเชือก เก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 5 หมื่นปี
- พบหลักฐานมนุษย์โบราณใช้ “กัญชา” เป็นยา สุสานจีน 2,500 ปี
- จีนพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ 5,000 ปี สูงโย่ง 190 เซนติเมตร