ทำไม "นักวิ่งมาราธอน" ถึงเสียชีวิตขณะวิ่งได้

Home » ทำไม "นักวิ่งมาราธอน" ถึงเสียชีวิตขณะวิ่งได้
ทำไม "นักวิ่งมาราธอน" ถึงเสียชีวิตขณะวิ่งได้

จากที่มีข่าวในหลายๆ ครั้งว่า “นักวิ่ง” บางคนเสียชีวิตขณะวิ่ง ทั้งๆ ที่เขาน่าจะร่างกายแข็งแรงเพราะเป็นนักวิ่ง และวิ่งมาแล้วหลายครั้ง Sanook Health มีคำตอบจาก อ. นพ.ธัชพงศ์ งามอุโฆษ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่อธิบายเอาไว้ในคลิปของ Rama Channel เอาไว้ ดังนี้

ทำไม “นักวิ่งมาราธอน” ถึงเสียชีวิตขณะวิ่งได้

สาเหตุของการเสียชีวิตของนักวิ่งมีด้วยการหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของนักวิ่งคนนั้นๆ ในขณะที่วิ่ง หัวใจห้องด้านล่างจะเต้นเร็วมาก จนไม่สามารถบีบตัวนำเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ได้ ทำให้เสียชีวิตกะทันหันจากการภาวะหัวใจห้องด้านล่างเต้นเร็วมากเกินไป 

  • กล้ามเนื้อหัวใจหนา
    นักวิ่ง หรือนักกีฬาที่อายุน้อยกว่า 35 ปีส่วนใหญ่ที่เสียชีวิต มักทีปัญหาจากภาวะ “กล้ามเนื้อหัวใจหนา” มีความเสี่ยงที่หัวใจจะเต้นผิดจังหวะได้ง่าย ในเวลาที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนมากขึ้น 
  • เส้นเลือดหัวใจตีบ
    สำหรับคนที่อายุมากกว่า 35 ปีมักจะเป็นภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ โดยอาจเกิดได้กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  • กล้ามเนื้อหัวใจตาย
    สำหรับผู้ป่วยบางรายที่อายุน้อยกว่า 35 ปีที่เริ่มมีไขมันเกาะที่เส้นเลือด วันดีคืนดีไขมันที่เกาะอยู่ในเส้นเลือดแตก เกิดแผล ทำให้มีลิ่มเลือดไปอุด ทำให้เส้นเลือดอุดตันกะทันหัน ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ผู้ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อหัวใจ

  • ผู้ที่ไม่ได้ฝึกซ้อมวิ่งเป็นประจำ
  • ผู้ที่ห่างหายจากการฝึกซ้อมวิ่งเป็นเวลานาน แล้วกลับมาวิ่งอย่างหนัก (เช่น วิ่งมาราธอน) อีกครั้งแบบกะทันหัน

สำหรับนักวิ่งที่ร่างกายปกติดี ไม่ได้มีโรคประจำตัวอะไร การวิ่งหนักๆ อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงมากระหว่างวิ่ง ฮอร์โมนอะดรีนาลีนหลั่งออกมามาก หัวใจบีบตัวแรงขึ้น เป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

สัญญาณอันตราย หัวใจทำงานผิดปกติ

หากระหว่าง หรือหลังวิ่ง มีอาการต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหัวใจโดยละเอียด

  • หน้ามืด เป็นลม
  • เจ็บแน่นหน้าอก แน่นๆ หนักๆ เวลาออกแรง
  • เคยวิ่งได้มากๆ แต่ภายหลังวิ่งนิดเดียวก็เหนื่อย

วิธีป้องกันอันตรายต่อหัวใจ สำหรับนักวิ่ง

  1. ฝึกซ้อมเป็นประจำ ให้ร่างกายมีความพร้อม 100% ก่อนลงวิ่ง
  2. ตรวจร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ ก่อนลงแข่งวิ่ง โดยเฉพาะวิ่งมาราธอน
  3. เช็กทีมผู้จัดงานวิ่ง ว่ามีการเตรียมทีมแพทย์ พยาบาล รวมถึงอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตเอาไว้อย่างดีหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องช็อกหัวใจ (AED)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ