ทำความรู้จัก อุเทนถวาย โรงเรียน ‘ช่างก่อสร้าง’ แห่งแรกของไทย

Home » ทำความรู้จัก อุเทนถวาย โรงเรียน ‘ช่างก่อสร้าง’ แห่งแรกของไทย

ทำความรู้จัก-อุเทนถวาย

ทำความรู้จัก อุเทนถวาย โรงเรียน ‘ช่างก่อสร้าง’ แห่งแรกของไทย สู่การสั่งย้ายออกจากพื้นที่ จนเรื่องลุกลาม ประท้วงคัดค้านการย้ายเขตพื้นที่

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวล่ประมาณ 09.40 น. มีรายงานว่า นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า สมาคมศิษย์เก่าอุเทนถวาย สมาคมผู้ปกครองและครูอุเทนถวาย จำนวนประมาณ 3,000 คน ได้เริ่มเดินขบวนเข้าถนนพญาไท มุ่งหน้าแยกสามย่าน เพื่อไปยื่นหนังสือถึงสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกำหนดการหลังจากนี้ เวลา 11.30 น. จะเดินเท้าจากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งหน้ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากนั้นเวลา 14.00 น. จะเดินเท้าจากกระทรวง อว. ไปยังอาคารรัฐสภา

ทำความรู้จัก อุเทนถวาย (2)

ย้อมไทม์ไลน์ การย้ายอุเทนถวาย

โดยเรื่องราวดังกล่าว เป็นมหากาพย์ที่ยืดเยื้อมานาน กว่า 48 ปี จุดเริ่มต้นย้อนกลับไปเมื่อวันที่ (16 ก.พ. 56) สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีการขอคืนพื้นที่ของจุฬาฯ ที่ให้อุเทนถวายเช่า ว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ได้ทำสัญญาเช่ากับจุฬาฯ บนพื้นที่ 20 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2478-2546 โดยจุฬาฯ ได้เริ่มเจรจาขอคืนพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา เนื่องจากจุฬาฯมีโครงการที่นำความรู้เพื่อสนองตอบการแก้ปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องใช้สถานที่ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนของชาติ และเตรียมความพร้อมของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันใกล้นี้ตามนโยบายของรัฐบาล
-จุฬาฯ ได้มีการส่งหนังสือเพื่อให้อุเทนถวายส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่จุฬาฯ ทั้งหมด 3 ครั้ง รวมถึงมีหนังสือถึงรมต.ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้พิจารณางบประมาณในสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่แห่งใหม่ให้อุเทนถวายด้วย
-ในปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กยพ.) โดยในระหว่างการพิจารณาดังกล่าวนั้นนายกสโมสรนักศึกษาอุเทนถวาย ได้มีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้ง
-ในปี 2552 กยพ. ได้มีมติชี้ขาดโดยให้ อุเทนถวาย ขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้กับ จุฬาฯ และชำระค่าเสียหายปีละล้านบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ โดยมติที่ประชุมมีข้อสังเกตว่า ในการย้ายนั้น ขอให้กระทรวงศึกษา ประสานงานกับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอใช้ที่ราชพัสดุและงบประมาณสนับสนุนเพื่อการนี้ต่อไป
-ในปี 2553 คณะรัฐมนตรีรับทราบมติดังกล่าว และอัยการสูงสุดแจ้งผลชี้ขาดของ กยพ. ต่อจุฬาฯ และอุเทนถวาย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว สำหรับผลการทูลเกล้าถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. ถึงอุเทนถวาย ฉบับลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554
กระทั่ง วันที่ (14 ธ.ค. 65) ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้อุเทนถวาย ย้ายออกจากพื้นที่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะต้องดำเนินการภายใน 60 วัน หลังจากมีคำสั่ง

  • ขนลุก! กุ้งเครย์ฟิช ลวกจิ้ม ทำคนกินอ้วกแทบพุ่ง เมื่อแกะหัวออกเจอสิ่งนี้
  • ทนายเดชา ปล่อยคลิปเสียง ปม ครอบครองปรปักษ์ ซัดแรงถึง จรรยาบรรณ
  • แท็กซี่รังสิตกร่าง ขู่เอาชีวิตผู้โดยสาร หลังเลือกไม่ขึ้นรถที่จอดรอบริเวณนั้น

ประวัติ อุเทนถวาย โรงเรียนช่างก่อสร้างแห่งแรกของไทย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เดิมชื่อว่า “โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย” ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 225 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน สีขาว คติพจน์ “ถ้าเรารักสมัครจิต ก็ต้องคิดสมัครมือ ถิ่นสีน้ำเงิน คือ ที่รวมรักสมัครคง”

ย้อนกลับไป พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ตลอดระยะเวลาที่ทรงรับราชการ ได้บริหารการศึกษาศิลปหัตถกรรม ของโรงเรียนเพาะช่างให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก ได้รับความนิยมตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จนถึงเจ้านาย ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ตลอดชาวต่างประเทศ ทรงจัดตั้งแผนกช่างทอง แผนกเจียระไนเพชร พลอย แผนกทำบล็อกสกรีน โดยเฉพาะเครื่องถม ได้ขยายวิธีการไปอย่างกว้างขวางจนเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบันคือ “ ถมจุฑาธุช “ ทรงจัดให้มีพิธีไหว้ครูช่างแบบอย่างโบราณขึ้นในโรงเรียนเพาะช่างเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2463 และทรงคิดสีประจำโรงเรียนคือ สีแดง-ดำ สีแดงหมายถึงเลือดของช่าง สีดำหมายถึงไม่ใช่ช่าง เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้ช่างทั้งหลายได้มีเลือดเป็นสีแดงอยู่เสมอ อย่าให้สีแดงของช่างจางไปหรือกลายเป็นสีดำ ทรงขยายแผนกการค้า ทรงสร้างห้องแสดงสินค้าห้องประชุมโรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งนำผลกำไรจากการค้าของโรงเรียนช่าง ไปสร้างโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง คือ วิทยาเขตอุเทนถวาย ปัจจุบัน

ทำความรู้จัก อุเทนถวาย (1)

วิทยาเขตอุเทนถวาย ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเพาะช่าง แผนกช่างก่อสร้าง โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย หรือ “โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย” ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาเป็นวิทยาเขตในสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี พ.ศ. 2533 เป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย” ปัจจุบัน เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เปิดสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

พิ้นที่ของอุเทนถวายทำการเช่าที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2478 มีการขอเจรจาคืนในปี 2518 มีแผนพัฒนา ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืนในปี 2545 กรมธนารักษ์ได้มีการจัดหาพื้นที่ใหม่ให้อุเทนถวายจำนวน 35 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่กรมการบินพลเรือนและเป็นที่ราชพัสดุ บริเวณ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ครม.จัดสรรงบเพื่อก่อสร้างและขนย้าย 200 ล้านบาท อุเทนถวายทำข้อตกลงกับจุฬาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 จะขนย้ายและส่งมอบให้แก่จุฬาภายในวันที่ 30 กันยายน 2548 หากจำเป็นผ่อนผันได้ไม่เกิน 1 ปี ปี 2548 มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าอุเทนถวายจะย้ายไปก่อสร้างที่ใหม่ บริเวณบางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมทั้งนี้จะย้ายบุคลากรและนักศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 แต่การย้ายยังติดขัดปัญหาและเป็นไปอย่างล่าช้า

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ