ทวี ฟาดแรง บิ๊กตู่ ให้ท้ายขับไล่แอมเนสตี้ ทำสิทธิมนุษยชนไทยตกต่ำ

Home » ทวี ฟาดแรง บิ๊กตู่ ให้ท้ายขับไล่แอมเนสตี้ ทำสิทธิมนุษยชนไทยตกต่ำ


ทวี ฟาดแรง บิ๊กตู่ ให้ท้ายขับไล่แอมเนสตี้ ทำสิทธิมนุษยชนไทยตกต่ำ

ทวี ฟาดแรง บิ๊กตู่ หนุนขับแอมเนสตี้พ้นประเทศ ทำสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตกต่ำ ย้ำหนุน กม.อุ้มหาย แก้ปมด้อยค่าความเป็นมนุษย์ในคนกลุ่มน้อย 3 จังหวัดใต้

เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2564 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก “Tawee Sodsong” ถึงกรณีมีการเคลื่อนไหวขับไล่องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ออกจากประเทศว่า ท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ที่เห็นดีเห็นงามกับการคุกคามแอมเนสตี้ฯ โดยระบุว่า กำลังตรวจสอบเบื้องหลังแอมเนสตี้ฯ มองให้ร้ายประเทศไทย และเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในประเทศ ทั้งที่แอมเนสตี้ฯ ทำงานส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และรณรงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ภายใต้กรอบกฎหมายระหว่างประเทศ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงและกังวลถึงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่จะตกต่ำ ไม่เพียงภายในประเทศแต่ในเวทีนานาชาติด้วย ทั้งที่ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และยังเป็นประเทศที่เข้าร่วมรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” พ.ต.อ.ทวี ระบุ

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. เราควรต้องส่งเสริม ผลักดัน อย่างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นคนกลุ่มน้อยจะถูกมองว่ามีความด้อยค่าในความเป็นมนุษย์ จึงถูกละเมิด ถ้าผลักดันให้ผ่านจะเป็นประโยชน์กับประชาชนมาก

ทั้งนี้ อาชญากรรมไม่ใช่แค่ผู้กระทำผิด แต่ยังหมายถึงกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และบุคคลในกระบวนการยุติธรรม หากกฎหมายนั้นทำให้คนบางกลุ่มมีความสุข แต่ทำให้คนส่วนมากเข้าไม่ถึงความเป็นธรรม กฎหมายฉบับนี้เชื่อว่าเป็นความต้องการของประชาชน รัฐบาลหาเวลามานานกลัวเข้าตัวผู้ออกกฎหมาย แต่ตอนนี้เป็นเสียงเรียกร้องของคนทั้งประเทศ

“สิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการปฏิบัติต่อมนุษย์และสิทธิมนุษยชน มีความหมายกว้างขวางกว่าสิทธิตามกฎหมายรับรอง ซึ่งมีสิทธิบางประการถือเป็นสิทธิมนุษยชน เพราะเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่เกิดไม่สามารถโอนให้ผู้อื่น และไม่มีใครสามารถพรากไปจากมนุษย์แต่ละคนได้ เช่น การบังคับสูญหาย หรือกรณีที่ผู้ยากไร้ไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอกับการยังชีพ แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดของใคร แต่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน” พ.ต.อ.ทวี กล่าว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ