ถึงคิวมหาเศรษฐีญี่ปุ่น บินทะลุฟ้า เยือนสถานีอวกาศนานาชาติ 12 วัน

Home » ถึงคิวมหาเศรษฐีญี่ปุ่น บินทะลุฟ้า เยือนสถานีอวกาศนานาชาติ 12 วัน


ถึงคิวมหาเศรษฐีญี่ปุ่น บินทะลุฟ้า เยือนสถานีอวกาศนานาชาติ 12 วัน

ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เมื่อ 8 ธ.ค. นายยูซาคุ มาเอะซาวะ มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น เป็นมหาเศรษฐีรายล่าสุดของโลกที่ออกท่องอวกาศ โดยสารไปกับยานแคปซูลโซยุซและจรวดชองรัสเซีย และเป็นคนแรกที่ควักกระเป๋าตัวเองเพื่อเดินทางท่องเที่ยวในอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติในรอบทศวรรษ

 

แคปซูลปล่อยออกจากฐานปล่อยยานอวกาศคอสโมโดรมของรัสเซียในคาซัคสถาน เมื่อเวลา 02.38 . และเข้าเทียบสถานีอวกาศ ไอเอสเอส ใน 6 ชั่วโมงต่อมา หรือ เวลา 08.41 .

นายมาเอะซาวะเดินทางไปพร้อมกับนักบินอวกาศอเล็กซานเดอร์ มีซูร์กิน ชาวรัสเซีย ผู้ควบคุมปฏิบัติการและนายโยโซะ ฮิราโนะ โปรดิวเซอร์ ซึ่งจะเก็บภาพของมหาเศรษฐีวงการแฟชันขณะล่องลอยไปรอบๆ สถานีอวกาศ นาน 12 วัน

ถึงคิวมหาเศรษฐีญี่ปุ่น

สามหนุ่มตอนเตรียมออกเดินทาง จากซ้าย มาเอะซาวะ มีร์ซูกิน และ ฮิราโนะ (Pavel Kassin/Roscosmos Space Agency via AP)

มหาเศรษฐีญี่ปุ่นกล่าวถึงทริปนี้ว่า อยากรู้จริงๆว่าชีวิตในอวกาศจะเป็นอย่างไร ตนจะหาคำตอบด้วยตัวเองและเผยแพร่ให้โลกรู้ผ่านช่องทางยูทูบของตนเอง

ภารกิจนี้แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ภารกิจท่องเที่ยวอวกาศเคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ 8 ครั้งสำหรับมหาเศรษฐีกระเป๋าหนักที่อยากไปสัมผัสสถานีอวกาศไอเอสเอสในช่วงทศวรรษที่ 2000

ถึงคิวมหาเศรษฐีญี่ปุ่น

Soyuz-2.1a rocket booster with Soyuz MS-20 space ship blasts off at the Russian leased Baikonur cosmodrome, Kazakhstan, Wednesday, Dec. 8, 2021. (Roscosmos Space Agency via AP)

การเดินทางทุกครั้งจัดโดยบริษัทสเปซ แอดแวนเจอร์สในสหรัฐฯและเดินทางโดยแคปซูลอวกาศโซยุซ แต่ภารกิจดังกล่าวหยุดชะงักลง หลังจากโครงการกระสวยอวกาศของนาซายุติในปี 2554 ทำให้ยานอวกาศโซยุซของรัสเซียเป็นตัวเลือกเดียวสำหรับการเดินทางไปสถานีอวกาศไอเอสเอส รวมทั้ง นักบินอวกาศอาชีพ

ขณะนี้ อีลอน มัสก์ ประธานบริษัทสเปซเอ็กซ์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักบินอวกาศอเมริกันและนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปสถานีไอเอสเอสทำให้วงการท่องเที่ยวอวกาศเฟื่องฟู

การเดินทางท่องอวกาศเมื่อไม่นานมานี้เป็นการเดินทางเพื่อระดมทุนการกุศลสำหรับนักท่องเที่ยว 4 คนไปกับแคปซูลสเปซเอ็กซ์ดรากอนในเดือน .. และทริปอื่นๆ รวมทั้ง เจฟฟ์ เบซอสและริชาร์ด แบรนสัน ซึ่งเป็นการเดินทางสั้นๆ ไปแตะขอบอวกาศ

The Soyuz-2.1a rocket booster with Soyuz MS-20 space ship. (Pavel Kassin/Roscosmos Space Agency via AP)

สถานีอวกาศไอเอสเอสยังเคยต้อนรับนักท่องอวกาศมือใหม่ในปีนี้เป็นนักแสดงหญิงและผู้กำกับชาวรัสเซียซึ่งใช้เวลาอยู่ในสถานีไอเอสเอส 12 วันเมื่อเดือน .. เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศเรื่องแรกในประวัติศาสตร์

มาเอะซาวะเคยเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลกมาแล้ว ตั้งแต่ประกาศหาคู่ไปดวงจันทร์ แต่ต่อมายกเลิก จากนั้นปี 2561 จึงประกาศหาเพื่อนเป็นศิลปิน 8 คนไปดวงจันทร์ด้วยกัน ในปี 2566 โดยจะเดินทางไปกับยานอวกาศ สตาร์ชิป” ของบริษัทสเปซเอ็กซ์

แต่ตอนนี้มาเอะซาวาเลือกทำภารกิจเสี่ยงภัยในอวกาศด้วยการเดินทางไปยังสถานีไอเอสเอสด้วยตนเองก่อน ซึ่งสถานีอวกาศโคจรอยู่นอกโลกเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร

ถึงคิวมหาเศรษฐีญี่ปุ่น

In this photo taken from video footage released by the Roscosmos Space Agency, Roscosmos cosmonaut Alexander Misurkin, bottom, and spaceflight participant Yusaku Maezawa, of Japan, above, are seen inside the spaceship . (Roscosmos Space Agency via AP)

ยังไม่ชัดเจนว่ามาเอะซาวะทุ่มเงินไปเท่าไหร่สำหรับการเดินทางทริปนี้ ขณะที่บริษัทสเปซ แอดแวนเจอร์ไม่เปิดเผยตัวเลขเช่นกัน

ทอม เชลลีย์ ประธานบริษัท กล่าวว่าการเดินทางไปสถานีไอเอสเอสกับสเปซ แอดแวนเจอร์ครั้งก่อนหน้านี้มีราคาระหว่าง 20-40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 640-1,280 ล้านบาท แต่ราคาปัจจุบันจะแพงกว่าราคาเดิมประมาณ 50-60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,600- 1,920 ล้านบาท ซึ่งจะแพงกว่าระดับหลักสิบล้านดอลลาร์อย่างแน่นอน

The Soyuz-2.1a rocket booster with Soyuz MS-20 space ship (Ivan Timoshenko/Roscosmos Space Agency via AP)

เชลลีย์กล่าวว่าหลังจากระงับไประยะหนึ่ง สเปซ แอดแวนเจอร์เห็นว่าสาธารณชนมีโอกาสที่จะท่องอวกาศมากขึ้น ก่อนหน้านี้ ราว 10 หรือ 15 ปีที่แล้ว หลายๆ คนไม่คิดว่าการท่องอวกาศแบบบุคคลทั่วไปจะมีความเป็นไปได้ แต่ตอนนี้ ปี 2564 ตลาดการท่องเที่ยวอวกาศเริ่มพูดคุยถึงความแตกต่าง

มาเอะซาวะและฮิราโนะเป็นนักท่องอวกาศหน้าใหม่ทั้งคู่ จึงต้องฝึกฝนสำหรับเตรียมการบินเป็นเวลา 3 เดือนซึ่งมาเอะซาวาแชร์ประสบการณ์ที่ไม่น่าประทับใจในโลกสื่อสังคมออนไลน์ด้วย แต่การฝึกครั้งนี้ถือว่าเข้มข้นน้อยกว่าภารกิจก่อนหน้านี้

In this photo released by the Roscosmos Space Agency, spaceflight participant Yusaku Maezawa of Japan. (Pavel Kassin, Roscosmos Space Agency via AP)

เชลลีย์กล่าวว่าเมื่อครั้งที่มหาเศรษฐีเดนนิส ติโต ท่องอวกาศในปี 2544 ต้องฝึกฝนอยู่นานพอสมควร อาจจะ 6 เดือนหรือเกินกว่านั้น เพราะยังไม่มีใครเคยทำอย่างนั้นมาก่อนจริงๆ หลังจากนั้นอีกหลายปี จึงตัดลดการฝึกบางส่วนออกไป

มาเอะซาวะ ฮิราโนะและมิซูร์กินจะกลับจากสถานีไอเอสเอสวันที่ 19 .. ด้วยแคปซูลโซยุซเหมือนตอนขาไป หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ทั้ง 3 คนจะกระโดดร่มลงพื้นดินในคาซัคสถาน ตามแผน

………..

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่นประกาศหาเพื่อนไปดวงจันทร์ 8 คน ลั่นออกค่าใช้จ่ายให้ฟรี

เศรษฐีญี่ปุ่นเลิกหาคู่ชีวิต ร่วมทริปดวงจันทร์ อึ้งสาวโสดสมัคร2.7หมื่นคน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ