วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ทนายรัชพล ศิริสาคร ได้มีการออกมาให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับ กรณีกระแสไวรัล หลังมีนักศึกษาสาวรายหนึ่งของมหาลัยชื่อดังในภาคอีสาน ออกมาโพสต์ข้อความเล่าเรื่องที่เธอก่อเหตุ แพร่เชื่อ HIV หลังจากตนเองออกหัก จึงออกไปเที่ยวตามสถานบันเทิง แล้วจบด้วยการมี one night stand กับชายหนุ่มเป็นประจำ ซึ่งเธอมีพฤติกรรมเช่นนี้มานานถึง 6 เดือน โดยเธอเองทราบดีว่า ตัวเองป่วย HIV แต่กำเนิน แต่ในช่วงดังกล่าวได้มีการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จึงทำให้เชื้อดื้อยา ซึ่ง ทนายรัชพล ได้มีการออกมาแสดงความคิดเห็นว่า เรื่องนี้ หากเป็นเรื่องจริง และสาวรายดังกล่าวตั้งใจแพร่เชื่อ ผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีทางอาญาได้ในข้อหา “เจตนาทำร้ายร่างกาย เจตนาฆ่าคนตาย หรือว่า พยายามฆ่า” เพราะว่าโรคพวกนี้อาจทำให้คนอื่นบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตได้
กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากข้อความที่ระบุว่า “คิดอยู่นานว่าจะโพสต์ดีมั้ย” คือเราเรียนอยู่ปี 2 จะขึ้นปี 3 ค่ะ เริ่มเที่ยวครั้งแรกช่วงเดือนเมษา เพราะอกหัก ไปเที่ยวทีไรก็จะได้ one night stand ตลอดค่ะ และที่รู้สึกผิดที่สุดเลยคือเราเป็น HIV ตั้งแต่กำเนิด สงสารคนที่เคยมีอะไรกับเรา ขออโหสิกรรมให้เราด้วยนะ ตอนนี้เราอยากหนี้ไปบวชชีที่ไหนไกล ๆ ไม่อยากเจอใครเลย มีภาพเข้ามาในหัวว่า ผู้ชายเค้าก็จะต้องมีครอบครัวในอนาคตเรากังวลว่าเค้าจะติดเชื่อกับเรา เราไม่อยากให้แฟนและลูกในอนาคตเค้าต้องมาเจออะไรแบบเราค่ะ ที่ผ่านมา 7 เดือน เราเทียวแทบทุกวันแต่ที่ไปบ่อยก็คือผับข้างปั้มน้ำมัน คือ เราทานยาทุกวันแต่ก็ดื่มเหล้าทำให้เชื้อดื้อยาค่ะ เลยขอสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ทำแบบนี้อีกแล้วจะรักษาตัวเองจะตั้งใจเรียนให้จบ คนที่เรานัดกันในผับถ้ามาเจอข้อความนี้เราอยากให้ทุกคนไปตรวจด้วย เพราะตอนนี้เราก็มีภาวะแทรกซ้อนเลยทำให้ดื่มไม่ได้อีก เป็นห่วงนะคะ งานนี้ทำเอาชาวเน็ตจำนวนมากต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก และได้มีการแชร์ข้อความดังกล่าวออกไปหลายแพลตฟอร์ม ทำให้กลายเป็นกระแสไวรัลเตือนให้คนที่ชื่นชอบ one night stand ต้องตระหนักและคนที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวต้องไปตรวจสุขภาพร่างกายของตัวเอง
- ทนายดัง ไม่เห็นด้วยขึ้นเงินเดือนข้าราชการ แต่รัฐบาลควรทำสิ่งนี้
- กระทรวงแรงงาน จ่อ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น ของขวัญปีใหม่ นี้!
- นางแบบ แฉช่างภาพหื่นชื่อดัง ในเชียงใหม่ แอบถ่ายขณะอาบน้ำ
ประมวลกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 หมวด 2 มีการระบุความผิดฐานทำร้ายร่างกายไว้ 6 รูปแบบ และมีอัตราโทษทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขโทษทางกฎหมาย โดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ดังนี้
1.ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
2.เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
3.เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
4.หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
5.แท้งลูก
6.จิตพิการอย่างติดตัว
7.ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
8.ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
โทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-200,000 บาท
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 297 ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 โทษจำคุกตั้งแต่ 2-10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-200,000 บาท
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ผู้ใด
(1) ฆ่าบุพการี
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ต้องระวางโทษประหารชีวิต
การฆ่าผู้อื่นโดยการไตรตรองไว้ก่อน องค์ประกอบตามมาตรา 289 คือ
1.ใช้ จ้างวานฆ่าผู้อื่น หรือ
2.คบคิดกันวางแผนฆ่าผู้อื่น หรือ
3.ตระเตรียมอาวุธที่ใช้ในการฆ่า
4.จัดเตรียมยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางเพื่อไปฆ่าผู้อื่น
โทษตามกฎหมาย คือ ประหารชีวิต
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 20 ปี
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
–ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 292 ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัยคล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY