ตะลึง! โจโฉ ค้นพบ ‘บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน’ ครั้งแรกของโลกในรอบ 104 ปี

Home » ตะลึง! โจโฉ ค้นพบ ‘บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน’ ครั้งแรกของโลกในรอบ 104 ปี

ตะลึง! โจโฉ ยูทูปเบอร์สายเดินป่าชื่อดัง ค้นพบ ‘บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน’ ครั้งแรกของโลกในรอบ 104 ปี ขณะเดินป่าที่ จ.ตาก 

หลาย ๆ คนคงรู้จัก โจโฉ ทรงธรรม สิปปวัฒน์ หรือยูทูปเบอร์ชื่อดังสายเดินป่าเจ้าของช่อง JoCho Sippawat ที่มียอดผู้ติดตามกว่า 2.5 ล้านคน โดยเจ้าตัวชอบที่จะอัดคลิปวิดิโอการเอาตัวรอดในป่า รวมไปถึงการเดินป่าเพื่อสำรวจสัตว์น้อยใหญ่ที่ใครหลายคนไม่เคยพบ

ล่าสุด วานนนี้ (2 ก.พ. 65) รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ดรุณี โชดิษฐยางกูล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ปรเมศ บรรเทิง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวการค้นพบบึ้งต้นไม้สกุลใหม่ของโลก Taksinus bambus หรือ บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็นการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของเอเชียในรอบ 104 ปี และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการค้นพบบึ้งสกุลใหม่จากประเทศไทยโดยถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดตาก และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

โดยการค้นพบครั้งนี้ ก็ได้ โจโฉ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง เป็นคนค้นพบ ในขณะเดินป่าที่จังหวัดตาก หลังจากนั้นได้ทำการสำรวจ เก็บตัวอย่างและศึกษาเพิ่มเติม นำมาสู่การบรรยายลักษณะและตีพิมพ์การค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลกในครั้งนี้


ภาพจาก JoCho Sippawat

ภาพ JoCho Sippawat

ภาพ JoCho Sippawat

‘บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน’ ถูกค้นพบห่างไกลออกไปในทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ทั้งหมดที่เคยถูกค้นพบมา โดยค้นพบในป่าไผ่บนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร ในจังหวัดตาก ของประเทศไทย โดยบึ้งชนิดนี้อาศัยดำรงชีวิตอยู่ภายในปล้องของต้นไผ่เท่านั้น ขนาดของรูทางเข้าของบึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสินมีขนาดตั้งแต่ประมาณ 2 – 3 เซนติเมตรไปจนถึงขนาดใหญ่ บึ้งเป็นสัตว์ไม่สามารถเจาะรูไม้ไผ่ได้เอง

จากการศึกษาสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสัตว์ฟันแทะเจาะเข้ามาใช้ประโยชน์ในการหาอาหารจากไผ่เพื่อกินหนอนที่อยู่ภายใน รวมถึงอาจเกิดจากสัตว์อื่น ๆ เช่น แมลงที่เจาะเข้าไป หรือเกิดปริแตกตามธรรมชาติของต้นไผ่เอง รวมทั้งยังเกิดจากการกระทำของคนได้อีกด้วย บึ้งชนิดนี้จะอาศัยอยู่ภายในปล้องไผ่ โดยสร้างใยปกคลุมล้อมรอบภายในปล้องและมักออกมาหาอาหารเป็นสัตว์ขนาดเล็กหรือแมลงในช่วงกลางคืน จึงถือได้ว่าเป็นบึ้งที่หายากที่สุดในประเทศไทย และการค้นพบนี้ เป็นการค้นพบบึ้งสกุลแรกของเอเชียในรอบ 104 ปี หลังจากการค้นพบครั้งหลังสุดเมื่อปี ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460)


แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ