จากกรณีที่ นักข่าว และช่างภาพอิสระ 2 คน โดนจับข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหาย จากการขีดเขียนข้อความ ได้ติดตามสถานการณ์ และรายงานข่าว กรณีที่มีการพ่นสีข้อความ สัญลักษณ์ไม่เอา 112 และเครื่องหมาย สัญลักษณ์อนาธิปไตย (Anarchy) บนกำแพงวัดพระแก้ว เมื่อ 28 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ที่ตอนนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมาก ว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพของการทำข่าวของสื่อมวลชน การทำหน้าที่ของสื่อในการบันทึกภาพทำข่าวหรือไม่ ?
ล่าสุด จากการตรวจสอบเบื้องต้น หลังการสืบสวนสอบสวนของตำรวจได้อ้างอิงพยานหลักฐานจากกล้องวงจรปิด ที่พบกลุ่มบุคคลไปเตรียมการล่วงหน้า 1 วัน ก่อนจะลงมือในวันถัดมา ซึ่งกล้องวงจรปิดปรากฏภาพผู้สื่อข่าวและช่างภาพที่ถูกดำเนินคดีร่วมอยู่ด้วยทั้ง 2 วัน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 28 มี.ค.2566 เวลา 17.39 น. นายศุทธวีร์ สร้อยคำ หรือบังเอิญ ก่อเหตุใช้สีสเปรย์พ่นบริเวณกำแพงพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ตำรวจจึงจับกุมตัว นายศุทธวีร์ ในข้อหา “ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน และ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆที่กำแพงที่ติดกับถนน หรืออยู่ในที่สาธารณะ”
- เศรษฐา ย้ำ! รบ.ให้สิทธิเสรีภาพสื่อ หลัง นักข่าวถูกจับ เพราะทำข่าว ปี 66
- โรม จี้! รัฐบาลปกป้องเสรีภาพสื่อ หลังนักข่าว – ช่างภาพอิสระ โดนจับ
- ดรามา! คอนเสิร์ต Ed Sheeran คนโวย โซน ‘VIP’ เสียงดัง ไร้มารยาท
นอกจากนั้นตำรวจตรวจสอบ กล้องวงจรปิด ในที่เกิดเหตุ พบว่า มีผู้ที่เกี่ยวข้องและอยู่ร่วมคือ น.ส.ธณลภย์ หรือหยก นายนภสินธุ์ , ตรีรยาภิวัฒน์ , นายณัฐพล เมฆโสภณ และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ มายืนล้อมรอบจุดเกิดเหตุ เพื่อถ่ายภาพขณะเกิดเหตุ แล้วยังเป็นการให้กำลังใจผู้ลงมือกระทำผิดและเฝ้าระวังสังเกตการณ์ ระงับยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ การเข้ามาช่วยเหลือขัดขวางการจับกุม ก่อให้เกิดความวุ่นวายในขณะจับกุม เข้ามารุมกดดันให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา
โดย นายนภสินธุ์ ยืนถ่ายรูปบริเวณสนามหลวงตรงข้ามป้อมเผด็จ ทำหน้าที่ถ่ายภาพการก่อเหตุทางซ้าย น.ส.ธณลภย์ (หยก) ยืนอยู่ภายในสนามหลวงตรงกับจุดเกิดเหตุ ทำหน้าที่ไลฟ์สดการก่อเหตุ
ส่วน นายณัฐพล เมฆโสภณ ยืนถ่ายรูปอยู่บริเวณมุมสนามหลวงฝั่งทิศตะวันตก และ นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ยืนถ่ายภาพอยู่บนถนนหน้าพระลานตรงป้อมเผด็จ
กล้องวงจรปิดก่อนเกิดเหตุ 1 วัน
จากตรวจสอบ กล้องวงจรปิดก่อนเกิดเหตุ 1 วัน คือวันที่ 27 มี.ค.2566 ระหว่างเวลา 18.00 – 19.30 น. พบว่า นายศุทธวีร์ เดินทางมาที่ บริเวณหน้าศาลฎีกา แล้วพบกับบุคคลหลายราย โดยมีนายณัฐพล เมฆโสภณ และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ร่วมอยู่ด้วย จากพยานหลักฐานตำรวจจึงถือว่าทั้งนายณัฐพล เมฆโสภณ และ นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ร่วมกระทำความผิดด้วยดังกล่าว