‘ดิวาลี 2566’ ตำนานเทศกาลแห่งแสงไฟ เพื่อบูชา ‘พระแม่ลักษมี’

Home » ‘ดิวาลี 2566’ ตำนานเทศกาลแห่งแสงไฟ เพื่อบูชา ‘พระแม่ลักษมี’

ดิวาลี 2566 หรือ ดีปาวลี พระแม่ลักษมี-min

‘ดิวาลี 2566’ หรือ ดีปาวลี เทศกาลแห่งแสงไฟ อันสำคัญขอชาวฮินดู เตรียมตัวอย่างไรเพื่อบูชา ‘พระแม่ลักษมี’ เทวีแห่งโชคลาภ

นับเป็นอีกหนึ่งเทศกาลอันสำคัญของชาวฮินดู สำหรับเทศกาล ดิวาลี หรือ ดีปาวลี เทศกาลแสงไฟอันเลื่องชื่อ ซึ่งชาวฮินดูเชื้อสายอินเดียเก่าแก่จะถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในปี 2566 นี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ตามปฏิทินจันทรคติ แต่หากเทียบกับปฏิทินเกรโกเรียนจะตรงกับช่วงกลางเดือนตุลาคม และกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปีนั่นเอง

โดยการเฉลิมฉลอง เทศกาลแสงไฟ ดิวาลี หรือ ดีปาวลี นั้นจะถูกจัดขึ้นทั้งหมด 5 วัน ซึ่งกิจกรรมหลักที่ชาวฮินดูจะทำในช่วงเทศกาลนี้ก็จะเริ่มต้นจากการออกไปจับจ่ายซื้อของ เช่นเดียวกับช่วงวันตรุษจีน และคริสต์มาส รวมถึงจะมีออกมาจุดพลุ และดอกไม้ไฟเพื่อเฉลิมฉลองตลอดเทศกาลทั้ง 5 วันอีกด้วย

ประวัติ เทศกาลแห่งแสงไฟ ‘ดิวาลี’ หรือ ‘ดีปาวลี’

ดิวาลี หรือที่หลายๆ คนเรียกชื่อต่างกันออกไปว่า ดีปาวลี, ทิวาลี หรือ ทีปาวลี เป็นเทศกาลแห่งแสงไฟของประชาชนที่นับถือศาสนาฮินดู, ศาสนาซิกซ์, ศาสนาเชน เป็นเทศกาลที่นำเอาแสงสว่างมาใช้แสดงเชิงสัญลักษณ์ เมื่อถึงช่วงของเทศกาลดิวาลี ประชาชนจะเริ่มช่วยกันประดับตกแต่งอาคาร บ้านเรือน ถนน รวมถึงศาสนสถานด้วยแสงไฟสว่างไสว เพื่อบูชาต่อองค์ พระแม่ลักษมี เทวีแห่งความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง อีกด้วย

ความหมายของ เทศกาลดิวาลี หรือ ดีปาวลี

ซึ่งแสงสว่างที่ว่านั้นมีความหมายว่า ชัยชนะของแสงเหนือความมืดมิด ความดีเหนือความชั่วร้าย

กิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดทั้ง 5 วันในวัน ‘เทศกาลดิวาลี’

ในการทำพิธีเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีจะมีการจุดพลุดอกไม้ไฟ หรือจุดตะเกียงท่ามกลางความมืด เนื่องจากคำว่า ดิวาลี ซึ่งก็มีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า ดีปาวาลี มีความหมายว่า ‘แถวของตะเกียง’ นอกจากนั้นก็จะมีการร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัวและเพื่อนฝูง พร้อมแลกเปลี่ยนของขวัญ หรือแบ่งปันขนมให้แก่กัน

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ