วันที่ 6 มกราคม 2567 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า การจัดตั้ง “องค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ” ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าประชาชนรู้สึกกังวลถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยขณะนี้ มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วมากกว่า 6,000 รายชื่อ ซึ่งคาดว่าจะครบ 10,000 รายชื่อในเร็ว ๆ นี้
โดย ดร.เอ้ กล่าวอีกว่า คน กทม. เสี่ยงได้ทุกวัน ทั้งสะพานถล่ม เครนล้ม คานร่วง รางหลุด ล้อร่วง และล่าสุดเมื่อวานนี้ (5 ม.ค.67) ได้เกิดเหตุสาธารณะอีกครั้งโดยถนนกาญจนาภิเษกขาเข้า ก่อนออกถนนพระราม 2 เกิดการยุบตัวลงและพบร้อยแตกร้าวเป็นบริเวณกว้าง ถึงเวลาแล้วที่เราจึงต้องจริงจังกับการแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัย มาร่วมลงชื่อให้ครบ 10,000 ชื่อ เพื่อเสนอกฎหมาย จัดตั้ง “องค์กรเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ” ที่ suchatvee.com เพื่อเป็นตัวแทนปกป้องสิทธิ์ของคนไทยทุกคน แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะ “สิทธิการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย” คือ สิทธิพื้นฐานของมนุษย์
- ทำความรู้จัก ปรีดี พนมยงค์ คือใคร ทำไมมีคนรออ่านจดหมายจำนวนมาก
- ประกาศเข้า”ฤดูฝุ่น” คุมเข้มทุกหน่วยงาน ยับยั้งต้นตอ และเตือนปชช. ระวังสุขภาพ
- ผงะ! พบศพยัดตู้เย็น ย่านบางบัวทอง ผู้เสียชีวิตเป็นเด็ก ยังไม่ทราบเพศ
ขอเชิญร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายในการจัดตั้ง “องค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ” ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน องค์กรดังกล่าวจะสามารถดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยระดับสาธารณะ ได้แก่ การป้องกันการละเมิดสิทธิและความปลอดภัยของประชาชน การจัดการวิกฤตต่างๆ ทั้งที่เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ และภัยพิบัติที่เกิดจากความประมาท ทั้งสนับสนุนในการดำเนินการของหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะ
“องค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ” จะเป็นองค์กรที่เป็นอิสระ ดูแลเรื่องความปลอดภัยสาธารณะโดยอิสระ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ หลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับ มาตรฐานความปลอดภัยสาธารณะ มีความเป็นกลาง นำทางด้วยหลักการทางวิชาการ อย่างเคร่งครัด
โดย บทบาท หน้าที่ ดังนี้
1) ตรวจสอบ และนำเสนอข้อเท็จจริง ด้วยหลักวิชาการ อย่างเป็นกลาง เมื่อเกิดอุบัติเหตุและอุบัติภัย ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
2) ให้ความปรึกษา ข้อแนะนำ อบรม ให้ความรู้ และดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยสาธารณะ แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
3) แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่สิทธิของประชาชน
4) สอดส่อง เร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้ปฏิบัติการตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ตลอดจนเร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินคดีในความผิดที่เกี่ยวกับความปลอดภัยสาธารณะ
5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในความปลอดภัยสาธารณะ และพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยระดับสาธารณะตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย
6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กร