ดร.เอนก ชี้ ปริมาณซีเซียม-137 ที่หายไป เทียบเท่า ‘ซีที สแกน 1 ครั้ง’ กระทบร่างกายน้อย

Home » ดร.เอนก ชี้ ปริมาณซีเซียม-137 ที่หายไป เทียบเท่า ‘ซีที สแกน 1 ครั้ง’ กระทบร่างกายน้อย
1ดร.

ดร.เอนก รมว.การอุดมศึกษา ชี้ ปริมาณซีเซียม-137 ที่หายไป เทียบเท่า ‘ซีที สแกน 1 ครั้ง’ กระทบร่างกายน้อย แต่ยังให้เฝ้าระวังเต็มที่

สืบเนื่องจากกรณีที่สังคมให้ความสนใจ และติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพของประชาชน และอาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 มีรายงานว่า วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 หายไปจากโรงไฟฟ้า จังหวัดปราจีนบุรี โดย เวลาประมาณ 15.00 น.  วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายไปเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว ติดอยู่ที่ปลายท่อโรงไฟฟ้า 

  • วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ตัวร้าย! ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ ถ้าสัมผัสต้องทำยังไง
  • สารอันตราย! วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 มีลักษณะอย่างไรมาดู 
  • รมว.อุดมศึกษา ยืนยัน ซีเซียม-137 ที่พบ 2 จุดไม่น่าวิตก ย้ำ ซีลพื้นที่ไว้แล้ว

 ล่าสุดเมื่อวันที่ (19 มี.ค. 66) มีประกาศเจ้าหน้าที้ตรวจค้นเจอวัตถุชนิดดังกล่าวแล้ว แต่เรื่องนี้ยังไม่จบลง เพราะคาดว่า ซีเซียม-137 มีการแปรรูปถลุงเป็นฝุ่นแดงไปแล้ว ซึ่งฝุ่นแดงนี้หมายถึง เป็นฝุ่นที่มีสารปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ประชาชนตื่นตัวถึงอันตรายจากสารกัมมันตรังสี ว่ามีการเก็บรักษาดูแลดีหรือไม่

และล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว  รายงานว่า

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นประธานการประชุมร่วมกับ ‘คณบดีคณะแพทยศาสตร์’ ในสังกัดกระทรวง อว. ทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณบดีและผู้แทนจากโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ชั้นนำทั่วทุกภูมิภาค อาทิ ศิริราช จุฬา ธรรมศาสตร์ รามาธิบดี มศว. เชียงใหม่ นเรศวร เป็นต้น เพื่อรับทราบและติดตามความก้าวหน้าของสถานการณ์กรณีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหายที่ จ.ปราจีนบุรี ทั้งในมิติสุขภาพและมิติทางวิชาการ

ดร.
ขอบคุณภาพ – nxpo.or.th

หลังประชุม ดร.เอนก เปิดเผยว่า คณะแพทย์ทุกแห่งได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ทราบข่าวการสูญหายของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 แล้วครั้งนี้เป็นการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ตนได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติม 4 ข้อต่อคณะแพทยศาสตร์และโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ดังนี้

1.ให้เฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เพื่อค้นหาและรายงานผู้ที่มีอาการหรือมีประวัติเข้ากันได้กับการได้รับสารรังสี ย้อนหลัง ไป 3 เดือน รวมทั้งเฝ้าระวังสถานการณ์ หากพบว่ามีผู้ป่วยต้องสงสัยว่าจะได้รับสารรังสี หรือหากพบคลัสเตอร์ในพื้นที่ใด ขอให้รายงานเข้ามาที่ศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวง อว. และเข้าไปดูแลโดยทันที

2.คณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลที่มีความสามารถในการตรวจการสัมผัสสารรังสี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ปัสสาวะ หรืออื่นใด หรือหากมีผู้เชี่ยวชาญหรือเครื่องมือ ให้แจ้งมาที่ศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวง อว. เพื่อให้เกิดการสนธิกำลังโดยทันที

3.มหาวิทยาลัยที่อยู่ใกล้พื้นที่เหตุการณ์ ซึ่งมีเครือข่ายแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครที่ประสงค์จะสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้เข้าไปร่วมดำเนินการโดยทันที ทั้งในแง่การดูแลสุขภาพ ความรู้สึก และความวิตกกังวล

4.ให้นักวิชาการ แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือเข้าใจง่ายต่อสาธารณชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และลดความตระหนกในสังคม รวมทั้งให้คำแนะนำและคำปรึกษาต่อประชาชน

“นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้มีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางรังสีวิทยาของคณะแพทยศาสตร์หลายแห่งได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ปริมาณรังสีที่สูญหายและที่ตรวจพบปรากฎในพื้นที่เหตุการณ์ มีปริมาณที่น้อยมาก เทียบได้กับการทำ CT Scan 1 ครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพน้อย” ดร.เอนกกล่าว

ขอบคุณข้อมูล – สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

ติดตามข่าวสาร Bright today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY



แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ