สืบเนื่องจากอุบัติเหตุครั้งใหญ่ เมื่อวานนี้ (10 ก.ค. 66) กับเหตุการณ์ คานสะพานถล่ม บริเวณ ลาดกระบัง โดยจุดเกิดเหตุอยู่ตรง ถนนหลวงแพ่ง ขาออก บริเวณหน้าโลตัส ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง หลังจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยนั้นเร่งมือ เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ก็มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ในยานพาหนะ นอกจากนั้นมีผู้บาดเจ็บที่เหลืออยู่หลายจุด ทั้งใน ปั๊ม ปตท.ใต้สะพาน ยอดผู้บาดเจ็บขณะนี้จะยังไม่นิ่งแน่ชัด
ทั้งนี้ โครงการทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ก่อสร้างเป็นทางยกระดับคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 2,200 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร 2 ทิศทางในแนวเกาะกลางถนนลาดกระบัง ระยะทางรวม 3.9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นบริเวณสะพานข้ามคลองหนองคล้า ใกล้กับซอยลาดกระบัง 9/7 ยกระดับข้ามทางเข้าถนนฉลองกรุง สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ข้ามสะพานคลองหัวตะเข้ ตลาดหัวตะเข้ผ่านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบัง เข้าแนวเกาะกลางถนนหลวงแพ่งผ่านวัดพลมานีย์ และมีทางลาดลงไปสิ้นสุดโครงการที่บริเวณหน้าสำนักงาน กปน. สาขาสุวรรณภูมิ
ล่าสุด ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์ วิชาการ สถาบันทิศทางไทย และอดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้นได้ออกมาโพสต์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า
สาหตุสะพานถล่ม น่าจะมาจากการแก้รูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับของทีมผู้ว่ากทม. ที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงทางเทคนิค (ดูคำอธิบายจากงานวิจัยข้างล่างได้)
*******จากงานวิจัยตัวนี้ (ที่มาอยู่ใต้คอมเมนต์) ผู้วิจัยใช้สะพานที่มีช่วง 31 เมตร ใช้ระบบดึงเส้นเอ็นร่วมกับระบบปรับความตึงภายหลัง ผลการวิเคราะห์พบว่าวัสดุอัดแรงชนิด Girder box นั้นคงค่าโมเมนต์ไว้ได้มากที่สุดเนื่องจากน้ำหนักของตัวมันเอง น้ำหนักบรรทุกเพิ่ม โหลดเลน และแรงลมรวมกัน 44,029 กิโลนิวตันเมตร ในขณะที่ ช่วงเวลาที่ใหญ่ที่สุดของ Precast คือ 7,556.75 KNm บีมบ็อกซ์ของ Girder มีโมเมนต์และแรงเฉือนที่มากกว่า Precast นี่คือผลกระทบจากน้ำหนักของ Girder box ของมันเองที่ใหญ่กว่า Precast การสูญเสียรูปแบบอัดแรงของ Girder box และประเภท Precast เท่ากับ 24.85% และ 26.32% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่า Girder box ประเภทดังกล่าวมีราคาถูกกว่า ง่ายกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า Precast
เมื่อคืนหลังเกิดเหตุ ทางด้าน ผู้ว่า กทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เปิดเผยถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ว่า ขณะนี้ยังคงต้องประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของโครงสร้างก่อน เพราะโครงสร้างได้รับความเสียหายมาก มีความไม่เสถียร อาจมีการพังต่อเนื่องได้ การเข้าพื้นที่ต้องประเมินความปลอดภัยทางวิศวกรรมก่อน ต้องมั่นใจว่าเมื่อเข้าไปจะไม่เสียหายมากขึ้น
โดยช่วงระหว่างก่อสร้างคือจุดอ่อนที่อันตรายที่สุด เนื่องจากคอนกรีตยังไม่แข็งตัว องค์ประกอบแต่ละส่วนของโครงสร้างยังไม่เชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะต้องร้อยชิ้นส่วนซึ่งเป็นคอนกรีตมาประกอบกัน เชื่อว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตามหลักการ เหตุการณ์นี้ไม่ควรเกิดขึ้น อาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างก่อสร้าง เพราะฐานรากมีการลงเสาเข็มลึกถึงชั้นทราย
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY