ดราม่า “พิธา” ช่วยแรงงานคนไทยในอิสราเอล ประชาชนเสียงแตก มันใช่หน้าที่ไหม?

Home » ดราม่า “พิธา” ช่วยแรงงานคนไทยในอิสราเอล ประชาชนเสียงแตก มันใช่หน้าที่ไหม?
ดราม่า “พิธา” ช่วยแรงงานคนไทยในอิสราเอล ประชาชนเสียงแตก มันใช่หน้าที่ไหม?

หลังการโจมตีรุนแรงของ “กลุ่มฮามาส” ต่อ “ประเทศอิสราเอล” ครั้งล่าสุด ส่งผลให้พลเรือนในพื้นที่เสียชีวิตมากกว่าพันคน บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และถูกจับเป็นตัวประกันอีกหลายร้อย เช่นเดียวกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สู้รบ ที่ได้รับผลกระทบและต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศก็ได้เร่งมือช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ขยับตัวมาช่วยเหลือประชาชนคนไทยในอิสราเอล แต่ไม่วายเกิดดราม่าขึ้นอีกจนได้ 

  • สรุปข่าว “สงครามอิสราเอล” ฮามาสจับคนไทย-ฆ่าประชาชน จนถึงตอนนี้เกิดอะไรขึ้นแล้วบ้าง
  • ปฏิกิริยาผู้นำโลกต่อเหตุ “ฮามาส” โจมตี “อิสราเอล” รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี

แล้วดราม่าว่าด้วยพิธาช่วยคนไทยในอิสราเอลมีที่มาที่ไปอย่างไร Sanook สรุปมาให้คุณได้อ่านกันแล้ว 

พิธาโพสต์ช่วยประสานสถานทูต

หลังมีรายงานว่ามีคนไทยที่เข้าไปทำงานในอิสราเอล ได้รับผลกระทบจากการโจมตีของกลุ่มฮามาส พิธาได้ออกมาโพสต์ข้อความบนช่องทางโซเชียลมีเดียส่วนตัว ระบุว่า 

ผมพึ่งวางสายโทรศัพท์จากการพูดคุยกับทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย และพี่น้องแรงงานคนไทยในอิสราเอลจากการประสานของปีกแรงงานพรรคก้าวไกล

ได้ทราบมาว่าสถานการณ์มีความรุนแรงต่อเนื่อง และได้รับคำขอร้องว่าครอบครัวของแรงงานที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่สามารถติดต่อญาติที่อิสราเอลได้ และกำลังตกอยู่ในความกังวลอย่างมาก 

หากท่านมีญาติไปทำงานที่อิสราเอล และบัดนี้ยังติดต่อไม่ได้ ท่านสามารถระบุชื่อของบุคคล เมืองที่พำนัก มาที่ email: [email protected] เพื่อรวบรวมเป็น database ประสานงานกับสถานทูตอิสราเอล และ/หรือส่งมอบต่อกระทรวงต่างประเทศต่อไปได้ 

สุดท้ายขอเป็นกำลังใจและสนับสนุนรัฐบาลและข้าราชการไทยในการคลี่คลายวิกฤตในครั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องชาวไทยในอิสราเอลครับ” 

ประชาชนเสียงแตก

หลังพิธาโพสต์ข้อความดังกล่าวในโลกโซเชียล ก็ทำให้ชาวเน็ตเสียงแตกออกเป็น 2 ฝ่าย จนกลายเป็น #พิธา พุ่งติดเทรนด์ใน X (เอ็กซ์) อย่างรวดเร็ว โดยชาวเน็ตบางส่วนมองว่า พิธาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประสานงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอล และไม่ควรสร้างความสับสนให้กับประชาชน ด้วยการให้ประชาชนส่งข้อมูลให้ตนเอง เนื่องจากจะเป็นการส่งข้อมูลหลายต่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดการตกหล่นหรือสูญหาย 

Getty Images

แต่ชาวเน็ตอีกฝั่งก็มองว่า พิธาเข้ามาช่วยเหลือก็เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากมีการแชร์กันว่าช่องทางของกระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถติดต่อได้ แต่ญาติที่รอฟังข่าวก็มีความกังวลใจ อยากรู้ข่าวญาติของพวกเขาอย่างเร็วที่สุด การมีหลายช่องทางช่วยเหลือก็ดีกว่า ขณะเดียวกันก็ขอให้ลดอคติ เพราะในสถานการณ์ความรุนแรงแบบนี้ ใครช่วยอะไรได้ก็ช่วยเหลือกันไป โดยมีชาวเน็ตหลายคนแชร์คลิปวิดีโอของกรุณา บัวคำศรี ผู้สื่อข่าวชาวไทยที่ไลฟ์สดคุยเรื่องสถานการณ์ในอิสราเอล และมีแรงงานไทยเข้ามาขอความช่วยเหลือ เนื่องจากติดต่อช่องทางของสถานทูตไทย หรือกระทรวงการต่างประเทศของไทยไม่ได้ 

ปารีณาออกโรง เข้าข้างพิธา

ด้านปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดราม่าดังกล่าว ระบุว่า เป็นหน้าที่ของพลเมืองดีที่ไม่มีตำแหน่งก็ทำได้ แต่ไม่มีเงินเดือน 

  • “ปารีณา” เห็นชอบ “พิธา” ประสานช่วยคนไทยในอิสราเอล แม้ไม่ใช่หน้าที่ แนะหัดคิดบวก

“ส่วนตัว ปารีณาทำงานนอกสภา ช่วยเหลือประชาชน และข้าราชการทั่วระเทศ ยอมรับมีการรับค่าน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้องเรียนของประชาชน ข้าราชการ หรือการไปอัดรายการช่อองทีวีหรือช่องโซเชียลต่างๆ แต่งานฟรีก็เข้าบ้าง ต่างกับพิธา ที่ทำงานโดยไม่รับอะไรเลย #หัดคิดบวก”

พิธาได้รับ 228 อีเมล

ท่ามกลางดราม่าดุเดือดของชาวเน็ตสองฝั่ง ล่าสุดพิธาก็ได้ออกมาเผยว่า ได้รับอีเมลทั้งหมด 228 ฉบับจากคนไทยในอิสราเอล และได้ทำการรวบรวมส่งต่อให้กระทรวงต่างประเทศแล้ว ซึ่งเขาได้ช่วยประสานงาน “เฉพาะหน้า” กับทางการไทยและอิสราเอล โดยอีเมลทั้งหมด 228 อีเมลที่พิธาได้รับ สามารถแบ่งออกได้ ต่อไปนี้

  • คนไทยที่เชื่อว่าถูกจับเป็นตัวประกัน 9 กรณี
  • คนไทยอยู่ในเขตสู้รบ ต้องการความช่วยเหลือ 72 กรณี
  • กรณีที่ญาติติดต่อไม่ได้ และไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน 140 กรณี
  • คนไทยอยู่นอกเขตสู้รบ 7 กรณี 

ทั้งหมดนี้ ทำไปเพื่อช่วยเป็นสื่อกลางในการประสาน “ชั่วคราว” เพราะในช่วงแรกที่เกิดเหตุ คนไทยในอิสราเอลอาจไม่ได้รับทราบช่องทางการติดต่อสื่อสารและได้ติดต่อมาทางพรรค สส.สุเทพ อู่อ้น และผมเป็นจำนวนมาก หลากหลายช่องทาง เนื่องจากคุณสุเทพได้เคยประสานช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอลต่อเนื่องมาตั้งแต่ความขัดแย้งครั้งล่าสุดเมื่อพฤษภาคม 2021 หรือ 2 ปีที่แล้ว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ