วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 กรณีกระแส ดราม่าพื้นที่ทับซ้อน เกาะกูด โดย เกาะกูด เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะตะรุเตา และเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในอ่าวไทย เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย อยู่ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ส่วนหนึ่งของอำเภอเกาะกูดในจังหวัดตราด เกาะกูดมีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,625 ไร่ ความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 12 กิโลเมตร เกาะยังมีสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขาและที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำธาร ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือ น้ำตกคลองเจ้า ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวยายกี๋ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว อ่าวง่ามโข่ หาดอ่าวเบ้า หาดคลองหิน อ่าวพร้าวจนสุดปลายแหลมเทียน ล้วนแต่เป็นหาดที่มีทรายสวยงามน้ำทะเลใส ประกอบกับธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด รวมทั้งเกาะแรดและเกาะไม้ซี้ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะกูด
ล่าสุด นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้มีการแสดงความคิดเห็นว่า หลักฐานสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 ที่สยามยอมยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองด่านซ้ายและจังหวัดตราดนั้น เป็นหลักฐานระบุชัดเจนว่า “เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทย กัมพูชาไม่มีสิทธิอ้างสิทธิทางทะเลเหนือเกาะกูดได้” ตามที่สนธิสัญญาที่รัฐบาลไทยทำกับฝรั่งเศสตกลงในการแบ่งปันพื้นที่กันใหม่ เมื่อวันที่23มีนาคม รศ 125 หรือ พศ2450 มีใจความสำคัญว่า
1.รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตระบอง เมืองเสียมราฐและเมืองศรีโสภณให้กับกรุงฝรั่งเศส
2.รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม
กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิในพื้นที่ รวมถึงเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลที่เขียนขึ้นมาเองใหม่ในสมัยนายพลลอนนอล ของกัมพูชาเมื่อพศ2515 ก็ไม่มีสิทธินำมากล่าวอ้างได้
ผู้แทนใดๆรัฐบาลของไทย จึงไม่มีสิทธิที่จะไปเจรจาทำความตกลงทั้งในทางเปิดเผยและในทางลับจัดแบ่งปันผลประโยชน์อันมิชอบในแหล่งพลังงานน้ำมันและก๊าซ ในพื้นที่ที่กัมพูชาอ้างเป็นพื้นที่ทับซ้อนใดๆ ได้ เพราะพื้นที่ดังกล่าวมิได้เป็นพื้นที่ทับซ้อนตามอ้าง หากแต่เป็นพื้นที่อาณาเขตประเทศไทยชัดเจนมากครับ ดังนั้นหาก ผู้ใดแอบอ้างเป็นตัวแทนคนไทยหรือรัฐบาลไทยไปเจรจาแบ่งปันหรือยกประโยชน์แหล่งพลังงานในพื้นที่อ่าวไทยที่มีเกาะกูดเป็นเส้นแบ่งเขตแดนชัดเจนมาตั้งแต่การแบ่งปันใหม่ ในสมัยรัชกาลที่5 ทรงยอมเสียดินแดน3เมือง พระตะบองเสียมราฐ ศรีโสภณเพื่อแลกจังหวัดตราดกลับคืนมา และมีข้อตกลงหมุดหลักชัดเจนปลายสุดเขตแดนประเทศไทย ที่เกาะกูดตั้งแต่พศ2450 แล้ว ผู้นั้นย่อมถูกเรียกได้ว่า “คนขายชาติ”ครับ
- ทนายเดชา ปล่อยคลิปเสียง ปม ครอบครองปรปักษ์ ซัดแรงถึง จรรยาบรรณ
- แท็กซี่รังสิตกร่าง ขู่เอาชีวิตผู้โดยสาร หลังเลือกไม่ขึ้นรถที่จอดรอบริเวณนั้น
- ทำความรู้จัก อุเทนถวาย โรงเรียน ‘ช่างก่อสร้าง’ แห่งแรกของไทย
ส่วนทางด้าน นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ความคืบหน้าการเจรจาแบ่งผลประโยชน์พื้นทับซ้อนไทยกับกัมพูชา เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศว่าจบอย่างไร กระทรวงกลาโหมก็รักษาแนวเขตนั้นให้ กระทรวงกลาโหมไม่ใช่เป็นฝ่ายไปเจรจา ร่วมกับ JBC ยอมรับเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จะพูดอะไรก็ต้องระมัดระวัง ไม่อยากให้กระทบบรรยากาศความร่วมมือที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ก็อยากจะเว้นไว้นิดนึง