ซ่อนตัวมา225ล้านปี กรมธรณี พบรอยตีน ไดโนเสาร์กินพืช แห่งใหม่ในไทย

Home » ซ่อนตัวมา225ล้านปี กรมธรณี พบรอยตีน ไดโนเสาร์กินพืช แห่งใหม่ในไทย



ฮือฮา กรมธรณี พบรอยตีน ไดโนเสาร์กินพืช แห่งใหม่ในไทย อายุกว่า 225 ล้านปี ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

วันที่ 8 พ.ค.2566 น.ส.กมลลักษณ์ วงษ์โก นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 กรมทรัพยากรธรณี เข้าตรวจสอบการแจ้งพบร่องรอยคล้ายรอยตีนสัตว์ดึกดำบรรพ์ในพื้นที่บ้านดงมะไฟ ต.โคกมน อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ในช่วงปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา

ฮือฮา กรมธรณี พบรอยตีน ไดโนเสาร์กินพืช แห่งใหม่ในไทย อายุกว่า 225 ล้านปี ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์

ฮือฮา กรมธรณี พบรอยตีน ไดโนเสาร์กินพืช แห่งใหม่ในไทย อายุกว่า 225 ล้านปี ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์

น.ส.กมลลักษณ์ กล่าวว่า จากผลการตรวจสอบพื้นที่พบลานหินขนาดใหญ่ประมาณ 10 เมตร กว้าง 3 เมตร กลางลำห้วยด้านล่างของน้ำตกตาดใหญ่ พบร่องรอยแนวทางเดินประมาณ 2 แนวทางเดิน แสดงลักษณะของการย่างก้าวอย่างชัดเจน ระยะห่างช่วงก้าวมีขนาดใกล้เคียงกันทุกช่วงก้าว และขนาดของรอยตีนมีความยาวเฉลี่ยใกล้เคียงกันทุกรอย

หมวดหินห้วยหินลาด กลุ่มหินโคราช ช่วงไทรแอสสิกตอนปลาย อายุคาร์เนียน-นอเรียน หรืออายุประมาณ 225 ล้านปี และได้สอบถามไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านรอยตีนดึกดำบรรพ์ จาก Esperaza Dinosaur Museum ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่ง Dr.Jean Le Loeuff ยืนยันว่า เป็นร่องรอยตีนของสัตว์ดึกดำบรรพ์

น.ส.กมลลักษณ์ อธิบายว่า เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูแล้งส่งผลให้ปริมาณน้ำลดลง ลานหินขนาดใหญ่จึงปรากฏให้เห็น และแหล่งซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวควรทำการศึกษาในรายละเอียดถึงชนิดของเจ้าของร่องรอย เนื่องจากมีลักษณะคล้ายรอยตีนของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด (sauropod) หรือกลุ่มไดโนเสาร์กินพืชคอยาว

แต่จากอายุหินและหมวดหินดังกล่าว ยังไม่เคยมีรายงานการค้นพบไดโนเสาร์มาก่อน หากเราศึกษาและได้คำตอบที่แน่ชัดแล้ว จะถือเป็นข้อมูลการค้นพบที่สำคัญด้านบรรพชีวินวิทยาและวิวัฒนาการของสัตว์ดึกดำบรรพ์ของประเทศไทยและของโลก ซึ่งจะทำให้แหล่งดังกล่าวมีมูลค่าทางการศึกษาด้านบรรพชีวินวิทยาของจังหวัดเพชรบูรณ์ยิ่งขึ้น

น.ส.กมลลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ในอ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ยังเคยค้นพบซากดึกดำบรรพ์กระดูกของไดโนเสาร์กลุ่มโปรซอโรพอด (Prosauropod) จำพวกคอยาว ขาหน้าสั้น และยังมีแหล่งซากดึกดำบรรพ์ผารอยตีนอาร์โคซอร์ สัตว์เลื้อยคลานคล้ายจระเข้ขนาดใหญ่ที่เป็นบรรพบุรุษไดโนเสาร์ อายุเก่าแก่มากกว่า 200 ล้านปีอีกด้วย

สำหรับซากดึกดำบรรพ์ ประเภทรอยชีวิน (Ichnos) อย่างรอยตีน เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา “พฤติกรรม” ของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ทั้งยังอธิบายพฤติกรรมส่วนตัว เช่น จังหวะก้าวเดิน ระยะห่างความเร็ว ลักษณะการเดินจากรอยลากหรือยกหาง และยังสามารถศึกษาพฤติกรรมกลุ่มได้ด้วย เช่น การอยู่อาศัย การหาอาหาร อยู่กันเป็นฝูง หรือแม้กระทั่งการบอกรายละเอียดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของแหล่งที่อยู่อาศัยในอดีตได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ