สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่องเสียงประชาชน ต่อ เงินดิจิทัล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,111 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4 – 7 ตุลาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมาโดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95
เมื่อถามถึง ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ นโยบายแจกเงินดิจิทัล ของรัฐบาล พบว่าจำนวนมากที่สุดหรือร้อยละ 42.0 ไม่แน่ใจต่อความเชื่อมั่นเพราะรัฐบาลไม่ชัดเจนเอาเงินมาจากที่ไหนใครได้ใครเสีย ป้องกันทุจริต สวมสิทธิ์รับเงิน ไม่ได้ติดตามข่าว ไม่รู้เรื่องนี้
ความเชื่อมั่นของประชาชน ร้อยละ 32.1 เชื่อมั่น เพราะ นโยบายดีมีเงินใช้เพิ่ม แก้ปัญหาปากท้องได้ เงินกำลังขาดมือ แก้ตรงจุดได้เงินก้อน กระจายรายได้เงินหมุนเวียน เป็นต้น รองลงมาร้อยละ 42.0 ไม่แน่ใจ เพราะ รัฐบาลไม่ชัดเจนเอาเงินมาจากที่ไหน ใครได้ใครเสีย ป้องกันทุจริต สวมสิทธิ์รับเงิน ไม่ได้ติดตามข่าว ไม่รู้เรื่องนี้ สุดท้ายร้อยละ 25.9 ไม่เชื่อมั่น เพราะ รัฐบาลไม่ชัดเจนกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร ไม่คิดว่าจะทำได้จริงส่งผลกระทบเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจรวม เงินเฟ้อ เกิดทุจริตเชิงนโยบายคนบางกลุ่มได้ผลประโยชน์ ทุจริต สวมสิทธิ์รับเงิน บางคนจะตกสำรวจ ไม่ได้เงิน ระบบล่มเป็นต้น
อยากเห็นนายเศรษฐา ทวีสิน กับ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยถกสดปัญหาการเงินของประเทศ ให้ ประชาชนทั้งประเทศรู้และประชันวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าประชาชน ร้อยละ62.5 อยากเห็น รองลงมาร้อยละ 25.0ไม่อยากเห็น สุดท้ายร้อยละ 12.5 ไม่มีความเห็น
สำหรับจุดยืนทางการเมืองของประชาชน ร้อยละ 37.3 สนับสนุนรัฐบาล รองลงมาร้อยละ 31.3 ไม่สนับสนุนรัฐบาล และสุดท้ายร้อยละ 31.4 กลาง ๆ พลังเงียบ ไม่ฝักใฝ่