ช่องทางการชำระ หนี้กยศ. รู้ไว้ก่อนโดนฟ้อง โดนบังคับคดี ต้องทำยังไง

Home » ช่องทางการชำระ หนี้กยศ. รู้ไว้ก่อนโดนฟ้อง โดนบังคับคดี ต้องทำยังไง
กยศปก1

รู้ไว้ก่อนโดนฟ้อง โดนบังคับคดี วิธีการไกล่เกลี่ย พร้อมบอก ช่องทางการชำระ หนี้กยศ. เช็คยอดง่ายๆ จัดการได้ด้วยตัวเอง

สิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับนักศึกษาที่มีทุนไม่เพียงพอนั้นคือ กยศ. หรือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ที่อาจมีทุนในการศึกษาไม่เพียงพอ โดยต้องมีการยื่นเอกสารในการขอทุน และต้องใช้หนี้ให้หมดหลังศึกษาจบแล้ว โดยนักเรียนที่สามารถกู้ได้

มีคุณสมบัติ ดังนี้

  • ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  • ลักษณะที่ 2 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิต กำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
  • ลักษณะที่ 3 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
  • ลักษณะที่ 4 นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยให้กู้ในระดับปริญญาโท
ขอบคุณรูปภาพ : syudentloan
  • เกิดอะไรขึ้น #ล้างหนี้กยศ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังเปิดล่ารายชื่อแก้ไขกฎหมาย
  • คืนกำไรให้! สลากดิจิทัล งวดนี้มีลดราคา หลังขายวันเดียว 7.1 ล้านใบ
  • คลิปไวรัล ลูกใครหนอ! เด็กจีบครู ซื้อขนมมาให้ ลั่น! “ไม่ให้จีบงั้นขอหอม”

แต่หากสำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องชำระหนี้กยศ.อย่างไร มียอดหนี้กยศ.เท่าไหร่ เช็คอย่างไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้างในการชำระหนี้ วันนี้ ไบร์ททูเดย์ (Bright Today) จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกันค่ะ

ช่องทางและวิธีการชำระหนี้กยศ.

กยศ. จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือนหรือรายปีให้ผู้กู้ยืมทราบหากผู้กู้ยืมไม่ได้หนังสือแจ้งภาระหนี้สามารถตรวจสอบยอดหนีที่ต้องชำระด้วยตนเองได้ทางแอปพลิเคชัน กยศ. Connect และเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th นำเงินไปชำระได้ตามช่องทาง ดังนี้

  • ธนาคารกรุไทย
  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ ATM
  4. อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com)
  5. แอปพลิเคชัน Krungthai Next และแอปพลิเคชัน เป๋าตัง
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ ATM 
  • ชำระหนี้กยศ.ด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking
  1. เปิดและบันทึกภาพ QR Code จากแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect
  2. เปิดแอปพลิเคชันของทุกธนาคารที่มี Mobile Banking
-1
ขอบคุณรูปภาพ : syudentloan
2-88
ขอบคุณรูปภาพ : syudentloan
  • ชำระหนี้กยศ. ด้วยรหัสการชำระเงิน Barcode

แสดง Barcode ที่อยู่ในหนังสือแจ้งภาระหนี้ หรือพิมพ์จากระบบตรวจสอบยอดหนี้ทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th  หรือแอปพลิเคชัน กยศ. Connect ใช้เพื่อชำระหนี้ผ่านหน่วยรับชำระ ดังต่อไปนี้

  • ไปรษณีย์ไทย
  • บิ๊กซี
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ธนาคารไทยธนชาต
  • ธนาคารกรุงศรี
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารกรุงเทพ
-
ขอบคุณรูปภาพ : syudentloan

หมายเหตุ เพิ่มความสะดวกมากยิ่งขึ้น  ชำระหนี้ กยศ. และ กรอ.ได้ตลอดปี ไม่จำกัดจำนวนเงิน ไม่ต้องใช้บาร์โค้ด เพียงยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ได้แล้ววันนี้ ที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขาทั่วประเทศ เงินชำระหนี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมบริการเคาน์เตอร์ เซอร์วิส 10 บาท
ชำระได้เฉพาะผู้กู้ยืมที่ไม่มียอดค้างชำระ และมีสถานะชำระหนี้ปกติตามสัญญา 15 ปี เท่านั้น และสามารถตรวจสอบรายการลดหนี้ได้ภายหลังจากวันที่ผู้กู้ยืมชำระเงินไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ 

  • ชำระหนี้กยศ. ด้วยเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค

ให้สั่งจ่าย “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา บัญชีรับชำระหนี้ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชนผู้กู้ยืมเงิน

4-72
ขอบคุณรูปภาพ : syudentloan
  • ชำระหนี้กยศ.โดยการหักเงินเดือน

สำหรับผู้ที่สังกัดองค์กรนายจ้างภาครัฐและเอกชน

6-54
ขอบคุณรูปภาพ : syudentloan
  • ชำระเงินจากต่างประเทศ

ผู้กู้ยืมสามารถดำเนินการได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ดังนี้     
1. Krung Thai Bank Public Company Limited, Na na nua Office     
2. Account No.: 034-6-05362-5     
3. Account Name : Student Loan     
4. Swift Code KRTHTHBK     
5. Remark your Thai Citizen ID (13 หลัก)*     
6. จำนวนเงินที่ชำระควรมากกว่าจำนวนเงินที่ตรวจสอบได้จาก Web site บวก Payment fee 10 บาทและ Inward Transfer fee 200 บาท (ถ้าโอนไม่เกิน 200,000 บาท)     
7. เมื่อชำระแล้ว ควรตรวจสอบยอดค้างชำระใน Web site อีกครั้ง หลังจากโอนเงินแล้ว ประมาณ 7 วันทำการ

ผู้กู้สามารถชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย / ธนาคารอิสลามแก่งประเทศไทย และแอปพลิเคชันเป๋าตัง เท่านั้น

กรณีผู้กู้ค้างชำระจนถูกดำเนินคดี โดนฟ้อง โดนบังคับคดี

แนวปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดี มี2กรณี ดังนี้

  • กรณีที่ 1 หากผู้กู้ยืมประสงค์ให้ถอนฟ้อง

ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมจ่ายค่าทนาย และส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชีให้กองทุนพิจารณาถอนฟ้อง

1.ชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมค่าทนาย

-ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
-ชำระค่าทนายความ 5,500 บาท ก่อนวันที่ศาลนัด 2 สัปดาห์ที่ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น
โดยชำระผ่านระบบ Teller Payment  (กยศ. code : 9067)   (กรอ. code : 92707)

2.ส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมแจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ

-ใบเสร็จการชำระหนี้ปิดบัญชี กยศ. หรือ กรอ.
-ใบเสร็จการชำระค่าทนายความ
“ผู้กู้ กยศ.” ส่งให้แก่ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด

               Fax: 0 2261 3811 โทรศัพท์ 0 2261 3739 ต่อ 8778

“ผู้กู้ กรอ.” ส่งให้แก่ ฝ่ายคดีและบังคับคดี กยศ. ระบุ “ขอให้ถอนฟ้อง กรอ. หรือผู้กู้ยืมกลุ่มไกล่เกลี่ย”

               Fax: 0 2016 4940 โทรศัพท์ 0 2016 4888 ต่อ 550 – 587

  • กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถชำระหนี้เพื่อถอนฟ้องได้ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันทุกคนจะต้องไปศาล

1.เจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในชั้นศาล กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไปตามที่ศาลนัดหมาย สามารถขอผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 9 ปี•กรณีบุคคลใดบุคคลหนี่งไม่สามารถไปศาลได้ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องให้บุคคลที่บรรลุ  นิติภาวะทำแทนได้

2.กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไม่ไปตามที่ศาลนัด “ศาลจะสั่งพิพากษาชำระหนี้ทั้งจำนวน”
โดยจะส่งคำบังคับแจ้งให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นใน 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งศาล

ผู้ที่ทำสัญญาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความก่อนฟ้อง แต่มีหมายศาลไปที่บ้าน ขอให้ผู้กู้ยืมติดต่อ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 0 2261 3811 เพื่อส่งสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้กับกองทุน  พร้อมรายละเอียดชื่อ สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน (ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและลงนามรับรองความถูกต้องของเอกสารด้วย) ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้  โดยบริษัทฯ จะตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการถอนฟ้องให้ต่อไป  สำหรับการถอนฟ้องกรณีดังกล่าว ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระเงินค่าทนายความแต่อย่างใด

กยศ8
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

ขั้นตอนของการดำเนินคดี

  1. กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทราบ  และขอให้มีการชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจถูกดำเนินคดี
  2. บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินการฟ้องคดีกับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล)
  3. เมื่อศาลมีหมายนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม
  4. ศาลพิพากษา  เมื่อศาลมีคำพิพากษา ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น

หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา  กองทุนจะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน  และจะทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายต่อไป

ผู้กู้ยืมโดนฟ้อง ได้รับคำบังคับคดี ต้องทำอย่างไรต่อ?

กรณีที่ผู้กู้ยืมได้รับคำบังคับจากศาล เนื่องจากผู้กู้ยืมไม่ได้ชำระหนี้จนถูกดำเนินคดีต่อศาล และไม่ได้ไปตามที่ศาลนัด ทำให้ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ผิดนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งซึ่งรวมถึงค่าทนายความด้วย (โดยชำระหนี้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา)

โดนฟ้อง โดนดำเนินคดี แต่ไม่สามารถไปตามที่ศาลนัดหมายได้ ทำอย่างไร?

เป็นคำถามที่พบบ่อย ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถไปที่ศาลตามหมายนัดได้ จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. มอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปแทน   หรือ
  2. ขอให้กองทุนถอนฟ้อง โดยการชำระหนี้ปิดบัญชีและชำระค่าทนายความ และส่งเอกสารการชำระหนี้ และค่าทนายความเพื่อให้กองทุนถอนฟ้อง ทั้งนี้ การติดต่อ กยศ.จะต้องดำเนินการก่อนถึงวันที่ศาลนัดไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
กยศ9
ขอบคุณรูปภาพ : syudentloan

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ