ช็อน ดู-ฮวัน อดีตปธน.เกาหลีใต้ ปิดฉากในวัย90ปี ผู้ก่อรัฐประหาร-ปราบม็อบกวางจู

Home » ช็อน ดู-ฮวัน อดีตปธน.เกาหลีใต้ ปิดฉากในวัย90ปี ผู้ก่อรัฐประหาร-ปราบม็อบกวางจู


ช็อน ดู-ฮวัน อดีตปธน.เกาหลีใต้ ปิดฉากในวัย90ปี ผู้ก่อรัฐประหาร-ปราบม็อบกวางจู

ช็อน ดู-ฮวัน – ยอนฮัป รายงานว่า อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ช็อน ดู-ฮวัน นายพลผู้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในการยึดอำนาจผ่านเหตุรัฐประหาร และการปราบปรามอย่างไร้ความปราณีการลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยในเมืองกวางจู เสียชีวิตแล้วเมื่อวันอังคารที่ 23 พ.ย. ด้วยอายุ 90 ปี

(FILES) Photo by KIM JAE-HWAN / AFP

นายมิน จ็อง-กี เลขาธิการอดีตประธานาธิบดีระบุว่า นายช็อนเสียชีวิตที่บ้านพักทางตะวันตกของกรุงโซลราว 8.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น หลังต่อสู้โรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง ศพของพลเอกช็อนจะถูกนำไปที่โรงพยาบาลเซิร์ฟแรนซ์ของกรุงโซล

นายช็อนมีคำสั่งครั้งสุดท้ายว่า ต้องการให้ศพตัวเองถูกฝังบนที่ราบสูงแนวหน้าที่มองเห็นอาณาเขตของเกาหลีเหนือ เลขาธิการอดีตประธานาธิบดีเสริมด้วยว่า ศพของนายช็อนจะถูกเผาก่อนนำไปฝังในจุดที่จะพิจารณาภายหลัง

Yonhap via AP

ช็อน ดู-ฮวัน อดีตพลเอกแห่งกองทัพบก ขึ้นสู่อำนาจจากการก่อรัฐประหาร หลังประธานาธิบดีพัค ช็อง-ฮี ถูกลอบสังหารเมื่อปี 2522 จากนั้น พลเอกช็อนปกครองเกาหลีใต้จนถึงปี 2531 โดยมรดกทางการเมืองชิ้นใหญ่ที่สุดและมืดมนที่สุดของพลเอกช็อนคือการปราบปรามการลุกฮือของพลเรือนเพื่อประชาธิปไตยในเมืองกวางจูในปี 2523 ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการ การปราบปรามคร่าชีวิตไปกว่า 200 ราย และบาดเจ็บอีก 1,800 คน

ประวัติของพลเอกช็อนเกิดในครอบครัวยากจนในเมืองฮัปช็อน จังหวัดคย็องซังใต้ เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2474 เข้าโรงเรียนทหารเกาหลีใต้ในปี 2494 และเป็นเพื่อนกับ นายโร แท-อู ซึ่งต่อมากลายมาเป็นมือขวาของพลเอกช็อน และทำหน้าที่ต่างๆ ระหว่างการบริหารประเทศของพลเอกช็อน ก่อนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและสืบทอดอำนาจต่อจากพลเอกช็อน

Former South Korean President Chun Doo-hwan, center, leaves a district court after attending an appellate trial on the charge of libel in Gwangju, South Korea, on Aug. 9, 2021. Former South Korean military strongman Chun, who crushed pro-democracy demonstrations in 1980, has died on Tuesday, Nov. 23, 2021. He was 90. (Yonhap via AP)

ก่อนมาเป็นประธานาธิบดี พลเอกช็อนมีอาชีพโด่งดัง รวมถึงการอยู่ในหน่วยงานสายลับของรัฐ นั่นคือกลุ่มกองกำลังพิเศษที่ 1 ของกองทัพบก ซึ่งพลเอกช็อกเป็นหัวหน้า และเป็นสมาชิกคนหนึ่งของหน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดีพัค ช็อง-ฮี

พลเอกช็อนรวบอำนาจหลังปราบปรามจลาจลในเมืองกวางจูเมื่อปี 2523 โดยจัดตั้งคณะกรรมการฉุกเฉินเหนือรัฐธรรมนูญ และออกระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง นำไปสู่การยุบสภาและเสริมอำนาจการยึดอำนาจของพลเอกช็อน

AP

ปีเดียวกันนั้น พลเอกช็อนเกษียณจากอาชีพทหารหลังทำงานมากว่า 25 ปี และเริ่มการปกครองประเทศโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลียุคใหม่ เริ่มจากการบีบให้รักษาการประธานาธิบดีชเว คยู-ฮา ลาออกในเดือนส.ค. 2523 ปูทางไปสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งนายช็อนคว้าชัยชนะทำพิธีสาบานตนในเดือนกันยายนภายใต้นโยบายการขจัดทุจริตและความขัดแย้งทางการเมือง โดยเน้นในการบรรลุสังคมที่ยุติธรรมเป็นพิเศษ

หลังก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2531 นายช็อนยังเผชิญความขัดแย้งหลายครั้งจากข้อกล่าวหาทุจริต จนต้องออกมาขอโทษต่อสาธารณะสำหรับความผิดในอดีตขณะดำรงตำแหน่งและบริจาคเงินมากกว่า 1,600 ล้านวอน ในกองทุนทางการเมืองและความมั่งคั่งของเอกชน ก่อนไปอยู่ที่วัดพุทธกับนางลี ซุน-จา ผู้เป็นภรรยา

AP

ระหว่างนั้น นายช็อนยังถูกเรียกไปชี้แจงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยอดีตประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติในเวลานั้น ถึงกับขว้างป้ายชื่อใส่นายช็อนด้วย

แม้หลังกลับบ้านเมื่อปลายปี 2533 นายช็อนยังถูกกดดันจากการสอบสวนของอัยการเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นก่อนและขณะดำรงตำแหน่ง รวมถึงการก่อรัฐประหารและการปราบปรามในเมืองกวางจู

FILE PHOTO: File photo taken August 26, 1996 shows former South Korean president Chun Doo Hwan and his successor Roh Tae-woo who were sentenced life in jail for mutiny, treason and bribery. REUTERS/File Photo

นายช็อนถูกอัยการเรียกพบในข้อหากบฏเมื่อเดือนธ.ค. 2538 แต่ฝ่าฝืนคำสั่งด้วยการอ่านคำแถลงสาธารณะนอกบ้านโดยบอกว่า จะไม่ให้ความร่วมมือกับการสอบสวน วันต่อมาจึงมีการออกหมายจับ และในที่สุดถูกควบคุมตัวในเรือนจำที่บ้านเกิดในเมืองฮับช็อน

ในปี 2539 นายช็อนถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหากบฏ และถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต แต่ปีต่อมาได้รับนิรโทษกรรมโดยประธานาธิบดีคิม ย็อง-ซัม เพื่อความสามัคคีของชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: จอมบงการ โนแทอู ปิดฉากชีวิตวัย88 ก่อรัฐประหาร-นองเลือดที่กวางจู

อย่างไรก็ตาม นายช็อนได้รับการยกย่องจากผู้สนับสนุนบางคนที่ควบคุมราคาสินค้าและบริการ และช่วยให้เกาหลีใต้ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 2531 ซึ่งยกระดับประเทศเกาหลีใต้บนเวทีสากล

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ