ชายชราหยิบเหยือกเซรามิกในทุ่งนากลับบ้าน เพื่อนำไปใช้ใส่อาหารให้ไก่กิน อึ้งที่แท้เป็นสมบัติล้ำค่า รีบส่งกลับไปที่ทีมโบราณคดีทันที
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2500 ในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในมณฑลส่านซี ประเทศจีน ชาวนาชราแซ่หยาง กำลังทำงานอยู่ในทุ่งนาและค้นพบบางสิ่งสีเทาเข้มโผล่ออกมาจากในดิน หลังจากล้างโคลนออกแล้วก็พบว่ามันคือโถหรือเหยือกรูปนก
ในตอนแรกเขาคิดว่านี่เป็นเพียงโถธรรมดาๆ ชายชราจึงนำมันกลับบ้านเพื่อทำเป็นชามอาหารสำหรับไก่ที่เลี้ยงไว้ อย่างไรก็ตาม “ต้นกำเนิด” ที่แท้จริงของโถเซรามิกรูปนกนั้น ไม่ได้ธรรมดาแบบที่เขาคิด เพราะเป็นถึงมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมชั้นหนึ่ง
โดยหนึ่งปีหลังจากที่เขาเก็บโถกลับมา ทางด้านทีมนักโบราณคดีได้ค้นพบแหล่งวัฒนธรรมในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง ข่าวลือของผู้คนทั่วหมู่บ้านทำให้เขานึกถึงโถที่หยิบขึ้นมา ตัดสินใจไปที่หมู่บ้านซึ่งนักโบราณคดีกำลังตรวจสอบบริเวณใกล้เคียง เพื่อขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบโถชิ้นนั้นอย่างละเอียด
หลังจากตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว นักโบราณคดีระบุว่านี่คือหนึ่งในสมบัติยุคหินใหม่ โถมีความสูง 35.8 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 23.3 ซม. มีลักษณะคล้ายนกอินทรี ปากโค้งไปข้างหน้า ตาโตแหลม ที่ด้านหลังมีช่องสำหรับเก็บของบางอย่าง หางและกรงเล็บขนานกับพื้นช่วยให้วางของได้อย่างมั่นคง
การออกแบบที่ละเอียดและการผลิตที่พิถีพิถัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการอันน่าทึ่งของเครื่องปั้นดินเผาในสมัยโบราณ นักโบราณคดีกล่าวว่า ในยุคหินใหม่ผู้คนมักจะใช้รูปสัตว์เพื่อทำเครื่องปั้นดินเผาประเภทต่างๆ และแจกันเซรามิกรูปนกอินทรีนี้เป็นของดั้งเดิมที่เก็บรักษาไว้ตั้งแต่สมัยนั้นจนถึงปัจจุบัน
หลังจากรู้ว่ามันเป็นสมบัติล้ำค่า ชายชรารู้สึกประหลาดใจอย่างมาก และส่งมอบกลับไปที่ทีมโบราณคดีทันที ด้วยเหตุนี้โบราณวัตถุชิ้นนี้จึงเป็นที่รู้จักของผู้คนจำนวนมาก และปัจจุบันได้ถูกจัดเก็บและคุ้มครองไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน