ชายไต้หวันวัย 40 ทรุดหนัก ดูดบุหรี่เป็นประจำ มีอาการไอนาน 1 เดือน ช็อกตรวจเจอมะเร็งปอดระยะสุดท้าย
สำนักข่าวอีทีทูเดย์รายงาน กรณีทางการแพทย์ที่ควรระมัดระวังและสังเกตร่างกายของตนเองเป็นประจำเสมอ โดยชายวัย 40 มีอาการไอนาน 1 เดือน เมื่อไปพบแพทย์ถึงกับช็อก เป็น “มะเร็งปอดระยะสุดท้าย” และ มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ
นพ. ซู อี้เฟิง แพทย์ประจำแผนกเวชศาสตร์ทรวงอก กล่าวว่า ผู้ป่วยคนดังกล่าวมีพฤติกรรมสูบบุหรี่มา 20 – 30 ปี จากนั้นไม่นานมานี้ เกิดอาการไอหนักเป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งแพทย์แนะนำผู้ป่วยให้รีบรักษาทันที อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลับกล่าวว่า “ไม่เชื่อ! ต้องเอาข้อมูลไปถามโรงพยาบาลอีกสองสามแห่ง!”
นพ. หลิน เมิ่งฮุย หัวหน้าแผนกการจัดการสุขภาพแห่งเมืองไทเปเตือนว่า มะเร็งปอดมักถูกเรียกว่า เพชฌฆาตเงียบ เนื่องจากมะเร็งปอดระยะแรกมักไม่มีอาการชัดเจน เมื่อมีอาการชัดเจนและเข้ารับการรักษา ส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะลุกลาม ทำให้มะเร็งปอดมีอัตราการตายสูงและอัตราการรอดชีวิตต่ำ
นพ. หลิน เมิ่งฮุย กล่าวว่า การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ (LDCT) สามารถตรวจพบก้อนเนื้อในปอดที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. และมีความไวสูงและมีโอกาสตรวจพบรอยโรคได้เร็วกว่า จากหลักฐานทางการแพทย์
การตรวจคัดกรอง LDCT สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของมะเร็งปอดได้ 20% ในผู้ที่สูบบุหรี่จัด โดยกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการและสมาคมมะเร็งปอดไต้หวันพบว่า การตรวจคัดกรอง LDCT สามารถเพิ่มอัตราการตรวจพบมะเร็งปอดในผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
นพ. ได หยู่ติง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลไทเป เตือนว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดในการเกิดมะเร็งปอด และโดยเฉลี่ย 85% ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ ในบรรดาผู้ป่วยมะเร็งปอดที่สูบบุหรี่ อัตราการเสียชีวิตของผู้ชายอยู่ที่ 22 เท่าของผู้ไม่สูบบุหรี่และเพศหญิง แนะนำว่าควรเลิกบุหรี่ให้เร็วที่สุดและตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ
เลขาธิการสมาคมมะเร็งปอดไต้หวันและหัวหน้าแพทย์แผนกเนื้องอกปอดและการส่องกล้องยังกล่าวอีกว่ามะเร็งปอดมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่า จะพบให้ผู้มีอายุน้อยลงกว่าผู้ป่วยเดิม 10 ปีที่ผ่านมา อายุเฉลี่ยของการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดอายุประมาณ 60-70 ปี แต่ปัจจุบันอายุลดลงเหลือ 50 – 60 ปี
พร้อมทั้งมีการตรวจพบในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 50 ปีอีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดไม่ได้มีเพียงการสูบบุหรี่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการได้รับควันบุหรี่มือสอง ควันไฟ มลพิษทางอากาศในร่มและกลางแจ้ง สารเคมีหรือรังสี และสารที่มีกลิ่นหอมบ่อยครั้ง นอกจากนี้ พันธุกรรม ประวัติครอบครัว รวมถึงโรคปอดเรื้อรัง วัณโรค และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งยังต้องเฝ้าระวังเสมอ
ขอบคุณที่มาจาก Ettoday