วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 จากกรณี อ.เอก ฝ่ามือพลังจิต หมอที่ทำการรักษาชาวบ้านด้วยการตบ การเหยียบ โดยก่อนหน้านี้ มีหญิงรายหนึ่ง อายุ 68 ปี มาทำการรักษาด้วยอาการตาฟาง หลังจาก อ.เอก รักษาด้วยพลังจิตด้วยการตบ ทำให้สายตาดีขึ้นอยู่ประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นตาบอดสนิท จากกรณีเคสที่กล่าวไปข้างต้น ล่าสุด อาจารย์เอก ออกมากล่าวว่า ตนเองจะทำการรักษาเคสนี้ให้หาย หากไม่หายตนยินดีจะเลิกทำการรักษาแบบทุกวันนี้ ทั้งนี้ อาจารย์เอก เปิดเผยว่า การรักษาของตนเป็นการรักษาโรคกระดูกทับเส้นประสาทแนวใหม่ การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาโรคเหล่านี้ พร้อมท้ากระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้มารักษา พร้อมขอร้องอย่าเอากฎหมายมาปิดกั้นการรักษาของตน
ล่าสุด นพ.ชลน่าน ได้มีการออกมาให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นดังกล่าวว่า การดูแลรักษาที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายและบทบัญญัติ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับอันตรายต่อชีวิตของคน ดังนั้น ก็ต้องไปดูว่าสิ่งที่ อาจารย์เอก เขาทำนั้น มีกฎหมายอะไรมารองรับหรือไม่ มีการประกอบวิชาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งจริงๆแล้วเขามีสิทธิในการรักษา แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักการนี้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
- อ.เอก ฝ่ามือพลังจิต ตบหาย – ถีบหาย คนแห่รักษากว่า 2 พันคน
- ลูกค้าผวา เกิดเหตุระทึกที่ เซ็นทรัลลาดพร้าว สุดท้ายห้างบอกแค่ซ้อม
- เฉลยแล้ว หินศักดิ์สิทธิ์หายาก หรือ ข้าวตอกพระร่วง คือสิ่งนี้
ส่วนเรื่องที่ อาจารย์เอก อ้าวว่ามีการนำกฎหมายมาปิดกั้น เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิผู้ป่วยที่จะมีทางเลือกในการรักษา ส่วนตัวมองว่าไม่ได้ เพราะสิทธิต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครอง การจะมาอ้างสิทธิโดยไม่ยึดตามข้อกฎหมายไม่ได้ เพราะบ้านเมืองมีกฎหมาย คนที่ไม่ยอมรับในกฎหมายก็อยู่ในบ้านเมืองไม่ได้ พร้อมฝากไปถึงอาจารย์เอกว่า “ไม่ต้องท้า ถ้าทำผิดกฎหมาย ผมส่งคนไปจับอยู่แล้ว อย่าท้า ถ้าทำผิดกฎหมาย ผมมีหน้าที่ควบคุมดูแล ไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการดูแลสุขภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
ทั้งนี้ ในเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า ฝ่ามือพลังจิต อาจารย์เอก ได้มีการระบุรายละเอียดในการักษาว่า ตนเองเคยไปพิสูจน์เรื่องพลังจิตที่มีมาแล้วในรายการดังอย่าง รายการโหนกระแส และ รายการแฉ ซึ่งการรักษาเป็น ศาสตร์พลังจิตบำบัด สามารถรักษาได้หลายอาการ อาทิเช่น อาการปวด กระดูกทับเส้น ไมเกรน รวมไปถึง ตาบอด และ ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น อย่างไรก็ตามใน กรณีนี้เป็นเรื่องความเชื่อส่วนบุคคล และต้องใช้วิจารณญาณในการเชื่อและการรักษาด้วย