จีนค้านไต้หวัน ซื้อขีปนาวุธฮาพูนจากสหรัฐฯ-ต่อต้านเรือรบข้ามช่องแคบ

Home » จีนค้านไต้หวัน ซื้อขีปนาวุธฮาพูนจากสหรัฐฯ-ต่อต้านเรือรบข้ามช่องแคบ


จีนค้านไต้หวัน ซื้อขีปนาวุธฮาพูนจากสหรัฐฯ-ต่อต้านเรือรบข้ามช่องแคบ

จีนค้านไต้หวัน ซื้อขีปนาวุธฮาพูนจากสหรัฐฯ-ต่อต้านเรือรบข้ามช่องแคบ

จีนค้านไต้หวัน – วันที่ 18 เม.ย. รอยเตอร์รายงานว่า ทางการจีนแสดงความไม่เห็นด้วยกรณีทางการไต้หวันเดินหน้าจัดซื้อขีปนาวุธต่อต้านเรือรบ รุ่น ฮาร์พูน จากทางการสหรัฐอเมริกา หลังไต้หวันเผชิญกับภัยคุกคามจากกองทัพจีนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

ท่าทีของกระทรวงการต่างประเทศจีนเกิดขึ้นหลังกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน เปิดเผยสัญญาซื้อขายขีปนาวุธต่อต้านเรือรุ่นดังกล่าวจำนวน 400 ลูก มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท เมื่อ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าผู้ซื้อเป็นหน่วยงานจากสถานที่ใด

เพนตากอนปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นอื่นใดต่อสัญญาซื้อขายข้างต้น เพียงระบุว่า ทางการสหรัฐฯอาศัยอำนาจตามความร่วมมือสนับสนุนที่จำเป็นให้ไต้หวันเพื่อให้สามารถรักษาแสนยานุภาพการป้องกันตัวเองไว้ได้ มีกำหนดส่งมอบเสร็จสิ้นภายในเดือนมี.ค. 2572

แผนการซื้อขีปนาวุธฮาร์พูนของทางการไต้หวันนั้นได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี 2563 เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกองทัพให้มีความทันสมัย ขณะที่นายซุน หลี่เฟิง โฆษกกระทรวงกลาโหมไต้หวัน กล่าวแสดงความมั่นใจว่าการส่งมอบอาวุธจะเป็นไปตามกรอบเวลาที่ตกลงกันไว้

รายละเอียดสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัทโบอิ้ง ดีเฟนซ์ สเปซ แอนด์ ซีเคียวริตี ผู้พัฒนาอาวุธ และกองบัญชาการระบบกองทัพเรือว่าด้วยแสนยานุภาพทางอากาศ ในฐานะผู้จัดซื้อแทนทางการไต้หวัน

เผยให้เห็นว่าเป็นครั้งแรกที่ไต้หวันจะได้รับระบบแบบใหม่เป็นรถยิงเคลื่อนที่ โดยก่อนหน้านี้สภานักธุรกิจไต้หวัน-สหรัฐฯ เป็นผู้จัดซื้อขีปนาวุธฮาร์พูนแบบปล่อยจากเรือ

จีนค้านไต้หวัน

ขีปนาวุธฮาร์พูนแบบปล่อยจากชายฝั่งสูเรือเป้าหมาย (เพนตากอน)

ทั้งนี้ ขีปนาวุธฮาร์พูนเป็นจรวดทำลายเรือที่ใช้ระบบนำวิถีด้วยเรดาร์และเคลื่อนที่แบบขีปนาวุธร่อน หรือจรวดครูซ เลียบผิวน้ำเพื่อหลบหลีกระบบตรวจจับและต่อต้านของข้าศึก

ติดตั้งหัวรบระเบิดทำลายล้างหนักสูงสุด 221 กิโลกรัม พิสัยการยิง 139 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 0.71 มัก (ประมาณ 864 กม.ต่อชม.)

ขีปนาวุธฮาร์พูนแบ่งออกได้เป็น 3 รุ่น ได้แก่ AGM-84 (ปล่อยจากอากาศสู่พื้น) RGM-84 (ปล่อยจากเรือรบหรือชายฝั่งสู่เป้าหมาย) และ UGM-84 (ปล่อยจากเรือดำน้ำ)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ